สั่งปิดลีนุกซ์เมื่อไฟดับด้วย APC UPS

ช่วงฝนตก ฟ้าร้อง อุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ ก็คืออุปกรณ์สำรองไฟ หรือ UPS เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไฟตก ไฟกระชาก หรือไฟดับ

แต่ถ้าไฟดับเป็นระยะเกินกว่าแบตเตอรีของ UPS จะจ่ายไฟที่สำรองไว้ได้ ก็จะทำให้เครื่องเซิรฟ์เวอร์ดับไปอยู่ดี ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลในเครื่องเสียหายได้

เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่อง แนะนำให้ลงทุนซื้อ UPS ที่สามารถสั่งปิด (shutdown) เครื่อง เมื่อเกิดเหตุไฟดับได้

ถ้าแบบที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ก็ให้เลือก UPS ที่มีพอร์ต USB ต่อสายเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และถ้าต้องการให้สั่งปิด (shutdown) ลีนุกซ์ได้ ก็ต้องเลือกรุ่นที่มีโปรแกรมหรือไดร์เวอร์รองรับบนลีนุกซ์

ในที่นี้จะใช้ APC UPS ที่มีสาย USB ต่อเข้ากับเครื่องที่รันลีนุกซ์ CentOS 6 แล้วติดตั้งโปรแกรม apcupsd เพื่อคอนฟิกสั่งปิดเครื่องเมื่อไฟดับแล้วเหลือแบตเตอรีถึงค่าที่กำหนดได้

หมายเหตุ ผู้เขียนไม่มีความเกี่ยวข้องหรือต้องการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของบริษัท APC UPS แต่อย่างใด

Continue reading “สั่งปิดลีนุกซ์เมื่อไฟดับด้วย APC UPS”

ติดตั้ง Windows แบบไดร์เวอร์ครบถ้วน บนเครื่อง HP ProLiant Gen8 ด้วย Intelligent Provisioning

เคยมีปัญหาติดตั้ง Windows Server บนเครื่องมียี่ห้อไหมครับ ติดตั้ง OS เสร็จ แล้วต้องตามหาดาวน์โหลดไฟล์ไดร์เวอร์เพื่อให้ Windows เห็นอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น Network Card, RAID Controller, Video Display, Audio และอื่นๆ

ติดตั้ง Windows Server ใช้เวลาไม่นาน ไม่น่าเกิน 30 นาที แต่การหาไดร์เวอร์อาจต้องใช้เวลาทั้งวัน ตั้งแต่หาดูว่าเครื่องเราเสียบการ์ดอะไรบ้าง เป็นอุปกรณ์ชนิดไหน รุ่นไหน แล้วต้องดาวน์โหลดไดร์เวอร์ให้ตรงรุ่นนั้นมา

หลังจากที่พยายามติดตั้งไดร์เวอร์เครื่อง HP ProLiant Gen8 อยู่นาน ก็ได้เจอวิธีที่ง่ายมากโดยใช้ Intelligent Provisioning

Continue reading “ติดตั้ง Windows แบบไดร์เวอร์ครบถ้วน บนเครื่อง HP ProLiant Gen8 ด้วย Intelligent Provisioning”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image

ในตอนนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้ Clonezilla live บู๊ตเพื่อสร้างไฟล์ image ของเครื่องต้นแบบที่ติดตั้ง Windows 7

แล้วเก็บไฟล์ image ที่ได้ไว้บน Samba File Server เพื่อสามารถใช้ restore ได้บนหลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน

ตัวอย่างหน้าจอเครื่อง Windows 7 ที่จะใช้เป็นต้นแบบ มีสองไดร์ฟคือ C และ D

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image”

คำสั่งเปิด ปิดไฟ LED ของ Thinkpad

ถือว่าสนุกๆ ครับ บทความนี้จะแสดงการใช้คำสั่งเปิด/ปิด ไฟ LED ที่มีอยู่บนเครื่อง notebook รุ่น Thinkpad

ลองเล่นกันดูครับ บางคนอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการแจ้งเตือนต่างๆ เข่นมีอีเมล์ใหม่เข้ามาได้

Continue reading “คำสั่งเปิด ปิดไฟ LED ของ Thinkpad”

ทดสอบ Linux Mint 13 บน Lenovo Thinkpad X230

วันนี้ได้ notebook มาใหม่ ยี่ห้อ Lenovo รุ่น Thinkpad X230 โดยไม่มี Windows ติดตั้งมาด้วย เลยลองนำมาทดสอบติดตั้งลีนุกซ์ดู โดยใช้ Linux Mint 13 ผลการใช้ทดสอบเป็นที่น่าประทับใจ เลยนำมาแสดงสิ่งที่ได้ พร้อมใช้งาน หลังการติดตั้งเลย เผื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ

หมายเหตุ ผู้เขียนไม่มีจุดประสงค์ในการโฆษณาแต่อย่างใด และไม่ได้รับการสนับสนุนใดๆ ทั้งสิ้น จากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายของ Lenovo

Continue reading “ทดสอบ Linux Mint 13 บน Lenovo Thinkpad X230”

ดูข้อมูล BIOS ด้วยคำสั่ง dmidecode บนลีนุกซ์

จากที่เคยเขียนเรื่อง คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

วันนี้ขอเพิ่มเติมการใช้คำสั่ง dmidecode เพื่อดูข้อมูล BIOS บนลีนุกซ์  โดยไม่จำเป็นต้องรีบู๊ตเครื่องแล้วกดปุ่มเพื่อเข้าเมนู BIOS

ซึ่งถึงแม้จะดูค่อนข้างยาก แต่ข้อมูลที่แสดงจากคำสั่งนี้จะค่อนข้างละเอียด มีทั้งข้อมูล BIOS, CPU, Memory, PCI Slot ทั้งชื่อรุ่น เวอร์ชั่นที่ติดตั้งอยู่

Continue reading “ดูข้อมูล BIOS ด้วยคำสั่ง dmidecode บนลีนุกซ์”

ยกเลิกการดับหน้าจอคอนโซลของลีนุกซ์

โดยดีฟอลต์ของลีนุกซ์ หน้าจอคอนโซลที่ต่อกับเครื่องลีนุกซ์จะถูกดับหน้าจอโดยอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานภายในเวลา 10 นาที

ต้องกดคีย์บอร์ดเพื่อให้หน้าจอกลับมาติดใช้งานได้อีกครั้ง

จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ หากต้องการยกเลิกการดับหน้าจอ ให้หน้าจอเปิดตลอดเวลา สามารถทำได้ดังนี้

Continue reading “ยกเลิกการดับหน้าจอคอนโซลของลีนุกซ์”

ทดสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย ab (ApacheBench)

ดีฟอลต์คอนฟิกที่ได้จากการติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ rpm หรือ วิธีอื่นๆ นั้น สามารถนำมาใช้งานและทำงานได้ในระดับหนึ่ง

แต่ถ้าโปรแกรมเช่นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ถ้าต้องให้บริการต่อผู้ใช้จำนวนมากขึ้น จำเป็นต้องปรับแต่งคอนฟิกเพิ่มเติม เพื่อให้ใช้ฮาร์ดแวร์ของเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพ

ab เป็นโปรแกรมทดสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่างง่ายๆ โปรแกรมหนึ่งที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Apache Web Server ถ้าเป็นไฟล์ rpm ก็อยู่ใน httpd-tools

เราสามารถนำ ab มาใช้ทดสอบเพื่อวัดผลได้ว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่กำลังแก้ไขคอนฟิกอยู่นั้น สามารถรองรับการใช้งานได้เท่าไร (requests per second) หากเราเปลี่ยนคอนฟิกไป ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร

Continue reading “ทดสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย ab (ApacheBench)”

คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

หลังการติดตั้งลีนุกซ์เสร็จทุกครั้่ง ก่อนจะคอนฟิกแล้วนำไปใช้งาน แนะนำให้ใช้คำสั่งลีนุกซ์ ดูฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเราลงถูกต้อง ครบถ้วนไหม

ในที่นี้จะแนะนำคำสั่งเพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์หลัก 3 ส่วนคือ CPU, Memory และ Disk

Continue reading “คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง”

System clock uses UTC กับเวลาของเครื่องลีนุกซ์

ตอนติดตั้ง CentOS 6 จะมีหน้าจอให้  เลือก time zone เพื่อเลือกโซนเวลาที่เครื่องลีนุกซ์ตั้งอยู่ ในประเทศไทย ก็เลือกเป็น Asia/Bangkok

ในหน้าจอเดียวกันนี้ ด้านล่างซ้ายจะมีให้ออปชั่น “System clock uses UTC” ให้เลือก โดยดีฟอลต์จะคลิ้กเลือกไว้

หลายท่านรวมทั้งผู้เขียนเอง ก็ยังสับสนว่าจะเลือกหรือไม่เลือกออปชั่นนี้ดี

เลยทดสอบการติดตั้งสองครั้ง โดยครั้งแรกจะคลิ้กเลือก และครั้งที่สองจะไม่เลือก เพื่อดูผลกระทบกับเวลาของเครื่องเมื่อบู๊ตเครื่องหลังจากติดตั้งเสร็จ

Continue reading “System clock uses UTC กับเวลาของเครื่องลีนุกซ์”