yum แพ็คเกจบน CentOS 6 ได้มากขึ้นด้วย EPEL

หากเทียบจำนวนชุดโปรแกรม (packages) ที่จัดทำเป็นไฟล์ rpm พร้อมให้ติดตั้งด้วย rpm หรือ yum แล้ว จำนวนไฟล์หรือ packages ของ Fedora จะมีมากกว่า CentOS มาก ยิ่งเวอร์ชั่นใหม่ๆ  ของ Fedora ไม่ว่าเราอยากจะติดตั้งอะไร yum install แทบจะได้หมด โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง repo เพิ่มเลย

ส่วนผู้ใช้ CentOS หรือ RedHat Enterprise ต้องใช้ความพยายามมากกว่า ในการติดตั้งบางโปรแกรมที่ไม่มีอยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง อาจต้องไปดาวน์โหลดไฟล์ rpm จากเว็บไซต์หลายๆ แห่ง

เพื่อช่วยให้งานง่ายขึ้น ทีมงานที่พัฒนา Fedora จึงได้จัดทำ repo ขึ้นมาชื่อว่า EPEL (ย่อมาจาก Extra Packages for Enterprise Linux) สำหรับผู้ใช้ RedHat Enterprise, CentOS  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ติดตั้งชุดโปรแกรม หรือ packages ได้มากขึ้น โดยอิงกับชุดโปรแกรมที่มีอยู่ใน Fedora

Continue reading “yum แพ็คเกจบน CentOS 6 ได้มากขึ้นด้วย EPEL”

yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6

จากที่ได้ ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2 ด้วยคำสั่ง rpm แล้ว จะเห็นถึงความยุ่งยากในการติดตั้ง บางโปรแกรมกว่าจะติดตั้งได้ ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ ก่อนอีกมากมาย

เพื่อความสะดวกและง่าย เราสามารถใช้คำสั่ง yum ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ประเภท rpm

ง่ายที่สุด เครื่องลีนุกซ์ที่จะรันคำสั่ง yum นั้น ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการติดตั้งโปรแกรมจาก repos ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้

แต่บางครั้ง เครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์นั้น ไม่สามารถต่อออกอินเตอร์เน็ตได้

ในตอนนี้จะแนะนำการใช้คำสั่ง yum เพื่อติดตั้งไฟล์ rpm โดยใช้ repos ที่อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6.2

Continue reading “yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6”

ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2

หลังจาก ติดตั้ง CentOS 6.2 : เลือกชุดซอฟต์แวร์ที่จะลง แล้ว หากต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถทำได้ดังนี้

Continue reading “ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2”

upgrade kernel บน CentOS 5.6

ด้วยเหตุผลทางด้านประสิทธิภาพ ต้องการลงโปรแกรม library หรือ driver ของอุปกรณ์บางตัว ที่ต้องใช้ kernel เวอร์ชั่นใหม่

ในบทความนี้ ขอแนะนำวิธีการ upgrade kernel บน CentOS 5.6  โดยการดาวน์โหลดไฟล์ rpm แล้วนำมาติดตั้งเองด้วยคำสั่ง rpm

Continue reading “upgrade kernel บน CentOS 5.6”

รูปแบบการแสดงผลของ RPM query

ข้อดีอย่างหนึ่งของลีนุกซ์คือสามารถรันได้บนหลากหลายระบบ (Platform)  แต่ก็อาจทำให้ผู้ดูแลระบบปวดหัวได้ ในการจัดการโปรแกรมที่ติดตั้งได้

ปัญหาหนึ่งที่ผู้เขียนพบคือการใช้ rpm เพื่อจัดการโปรแกรมที่ติดตั้งบน RedHat, CentOS แบบ 64 bit คือมีทั้งโปรแกรม 32-bit และ 64-bit ถูกติดตั้งมารวมกัน

[root@server ~]# cat /etc/redhat-release
Red Hat Enterprise Linux Server release 5.5 (Tikanga)
 Continue reading "รูปแบบการแสดงผลของ RPM query"

การใช้ GPG Public Key ตรวจสอบไฟล์ rpm

ก่อนที่จะติดตั้งไฟล์ rpm ที่ได้มา ไม่ว่าจากแผ่นดีวีดีติดตั้งของ distribution ต่างๆ หรือดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต แนะนำให้อิมพอร์ต Public Key ของไฟล์ rpm ลงในเครื่องที่จะติดตั้งก่อน เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ rpm ว่าไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้งเป็นไฟล์ที่มาจากผู้พัฒนาหรือสร้างไฟล์ rpm จริงๆ ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงใดๆ

Continue reading “การใช้ GPG Public Key ตรวจสอบไฟล์ rpm”