โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image

หลังจากที่สร้าง image ด้วย Clonezilla เรียบร้อยแล้ว ตอนที่ 3 นี้จะทดลอง restore ไฟล์ image ที่สร้างได้ลงบนเครื่องอื่นๆ

คำเตือน การ restore ไฟล์ image จะเป็นการลบแล้วเขียนข้อมูลลงบนดิสก์ของเครื่อง ทำให้ไฟล์ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เสียหายได้

ในที่นี้จะเป็นการ restore ไฟล์ image จาก Samba Server ที่ใช้เก็บไฟล์ตอนทำ image

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image

ในตอนนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้ Clonezilla live บู๊ตเพื่อสร้างไฟล์ image ของเครื่องต้นแบบที่ติดตั้ง Windows 7

แล้วเก็บไฟล์ image ที่ได้ไว้บน Samba File Server เพื่อสามารถใช้ restore ได้บนหลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน

ตัวอย่างหน้าจอเครื่อง Windows 7 ที่จะใช้เป็นต้นแบบ มีสองไดร์ฟคือ C และ D

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 1 แนะนำโปรแกรม

งานอย่างหนึ่งของผู้ดูแลระบบ ในการดูแลเครื่องไม่ว่าจะเพิ่งซื้อเครื่องใหม่เข้ามาในองค์กร หรือเมื่อใช้งานเครื่องไปนานๆ แล้วพบปัญหาผู้ใช้งานบ่นว่าช้า หรือมีโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ออกมา คือการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS) ใหม่

หากมีแค่ไม่กี่เครื่อง ผู้ดูแลระบบก็สามารถติดตั้งทีละเครื่อง ค่อยๆ จัดการไปได้ไม่ลำบากนัก แต่ถ้ามีเครื่องเป็นจำนวนหลักสิบหลักร้อย การที่จะทำทีละเครื่องคงเป็นงานที่ไม่สนุกนัก ใช้เวลานานมาก เพราะไม่ใช่แค่ลง OS เท่านั้น ยังต้องปรับปรุง update patch ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เพิ่มเติมอีก

สมมติว่าเครื่องทั้งหมดเป็นเครื่องยี่ห้อ รุ่นเดียวกัน เสียบการ์ด hardware ต่างๆ ในเครื่องเหมือนกัน ขนาดฮาร์ดดิสก์เท่ากัน วิธีการหนึ่งที่ช่วยให้งานง่ายขึ้นคือลง OS และโปรแกรมต่างๆ ให้เสร็จบนเครื่องเดียวก่อน แล้วสร้างเป็น images ไว้ แล้วค่อยเอา images ที่ได้ไป restore หรือโคลนลงบนเครื่องอื่นๆ โปรแกรมประเภทนี้มีหลากหลายโปแกรมทั้งแบบ ฟรีแวร์และจ่ายเงินซื้อ เทคนิค ข้อจำกัดของแต่ละโปรแกรมก็แตกต่างกันไป

ในที่นี้จะขอแนะนำ Clonezilla สำหรับโคลนนิ่งดิสก์ ซึ่งสามารถนำไปโคลนนิ่งเครื่องได้ทั้ง Windows, Linux หลักการทำงานจะเหมือนกับโปรแกรมโคลนนิ่งทั่วไป คือสร้าง images จากเครื่องต้นแบบที่ลงสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วนำ images ที่ได้ ไป restore หรือโคลนลงบนเครื่องอื่นๆ

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 1 แนะนำโปรแกรม”

ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5

หลังจากสับสนเกี่ยวกับชื่อ Storage Manager ของ IBM ที่มีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ ในที่สุดก็ค้นพบโปรแกรม Storage Manager ที่ต้องการ เพื่อใช้สำหรับจัดการฮาร์ดดิสก์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดแบ่ง Logical Drive, Disk Array, RAID, Zone ที่ติดตั้งใน SAN ของ IBM รุ่น DS4000 ครอบคลุม DS4200, DS4700, DS4800

คำเตือน ศึกษาทำความเข้าใจด้วยการอ่านคู่มือการใช้โปรแกรม หลักการคอนฟิกดิสก์ใน SAN ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม Storage Manager เพราะโปรแกรมนี้สามารถเปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลคอนฟิกดิสก์ได้ทั้งหมด ยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกู้คืนข้อมูลกลับมาหากคอนฟิกผิดพลาดไปและไม่มีการสำรองข้อมูลไว้

Continue reading “ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5”

คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

หลังการติดตั้งลีนุกซ์เสร็จทุกครั้่ง ก่อนจะคอนฟิกแล้วนำไปใช้งาน แนะนำให้ใช้คำสั่งลีนุกซ์ ดูฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเราลงถูกต้อง ครบถ้วนไหม

ในที่นี้จะแนะนำคำสั่งเพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์หลัก 3 ส่วนคือ CPU, Memory และ Disk

Continue reading “คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง”

ติดตั้ง CentOS 6.2 : แบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์

คำเตือน การเริ่มต้นหัดใช้ลีนุกซ์ แนะนำให้ติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์เปล่าๆ เลย คือไม่มีพาร์ทิชั่นที่มีข้อมูลอื่นๆ อยู่  เพราะถ้าหากเราเลือกเมนูการติดตั้งไม่ถูกต้อง จะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เดิม ถูกลบทิ้งไปได้

เลือกประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่จะติดตั้ง  โดยทั่วไปแล้วเลือก “Basic Storage Devices”  ยกเว้นเครื่องของคุณจะใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ต่อแบบ Fiber, SAN ไปยังดิสก์ภายนอก

Continue reading “ติดตั้ง CentOS 6.2 : แบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์”

เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10

คุณสมบัติใหม่อย่างหนึ่งของ Fedora 10 ที่เพิ่มจากเวอร์ชั่นก่อน คือการสนับสนุน filesystem เพิ่มเติม ประกอบด้วย ext4 และ xfs

หลังจากที่ได้ทดลองติดตั้ง Fedora 10 เลยเกิดความลังเลว่าจะเปลี่ยน filesystem เป็นแบบใหม่หรือไม่ เลยลองรันคำสั่งง่ายๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการสร้าง การลบไฟล์ เป็นต้น

Continue reading “เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10”

ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server

บทความนี้ไม่มีไรมาก แค่ทดลองสร้างดิสก์ใน VMware Server ด้วยขนาดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับขนาดฮาร์ดดิสก์จริงๆ (physical disk) ที่มีขายทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบค่าต่างๆ เช่น จำนวน cylinder, block, หรือ disk size ที่ใช้ได้จริงหลังการสร้าง filesystem แบบ ext3 บนลินุกซ์

Continue reading “ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server”