คอนฟิก IP SLA (RTR) บน Cisco เบื้องต้น

วันนี้ขออนุญาตข้ามฟากไปทดสอบคอนฟิก IP SLA (ชื่อเดิม RTR) บนอุปกรณ์ Cisco ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้ Cisco ทดสอบประสิทธิภาพเครือข่ายด้วยตัวอุปกรณ์เองได้ เช่นให้ทดสอบ ping ทดสอบการเชื่อมต่อด้วยโปรโตคอล เช่น HTTP, DNS, FTP, TCP, UDP ไปยังปลายทางที่ต้องการได้

เมื่อทดสอบเสร็จ ก็จะเก็บผลลัพธ์ในตัวอุปกรณ์เอง เราสามารถใช้คำสั่ง show บนตัวอุปกรณ์ เพื่อดูผลลัพธ์ เช่น ping หรือเชื่อมต่อไปยังปลายทางได้หรือไม่ พร้อมบอกตัวเลขสถิติ เช่น response time

Continue reading “คอนฟิก IP SLA (RTR) บน Cisco เบื้องต้น”

ทดสอบล็อกอิน pop3 เข้า dovecot บน Fedora 17

หลังจากที่ได้ ติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้น dovecot บน Fedora 17 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราจะมาคอนฟิกเพิ่มเติมเพื่อให้เครื่องอื่นๆ สามารถที่จะ login ผ่านทาง pop3 เพื่อเข้ามาอ่านเมล์จาก dovecot ได้

Continue reading “ทดสอบล็อกอิน pop3 เข้า dovecot บน Fedora 17”

ติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้น dovecot บน Fedora 17

โปรแกรมที่นิยมใช้ติดตั้งและคอนฟิกคู่กับ postfix คือ dovecot เพื่อทำเป็นเมล์เซิร์ฟเวอร์

ลองมาดูการติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้นของ dovecot บน Fedora 17 กัน เช่นเดียวกันเนื้อหาตัดมาจาก ติดตั้งและคอนฟิก dovecot ที่ทดสอบบน Fedora 14 หากต้องการดูรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนตามไปดูที่ลิ้งค์กันได้

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้น dovecot บน Fedora 17”

ติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้น postfix บน Fedora 17

หลังจากใช้เวอร์ชั่นเก่ามานาน ก็ได้เวลาปรับปรุงเมล์เซิร์ฟเวอร์ให้ลูกค้าซะที ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน และสามารถต่อสู้กับ spam ที่นับวันจะมีเทคนิคซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ

เริ่มจากการติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้น postfix บน Fedora 17  มาจากเนื้อหาที่เคยเขียนไว้สำหรับติดตั้งบน Fedora 14 แต่ขอปรับเนื้อหาให้กระขับมากขึ้น โดยรวมทั้งสองตอนเข้าด้วยกัน หากต้องการดูรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังแก้ไขค่าคอนฟิกแต่ละค่า สามารถตามไปดูได้ตามลิ้งค์ในส่วนข้อมูลอ้างอิงด้านล่าง

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิกเบื้องต้น postfix บน Fedora 17”

เก็บสำรองคอนฟิกของลีนุกซ์

เพื่อป้องกันกรณีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเกิดจากเหตุอะไร แนะนำให้เก็บสำรองคอนฟิกไว้

ไฟล์คอนฟิกของลีนุกซ์เกือบทั้งหมด จะอยู่ในไดเร็คทอรี /etc ส่วนใหญ่จะเป็น text file มีขนาดเล็กๆ ดังนั้นแนะนำให้เก็บทุกไฟล์ที่อยู่ในนี้

วิธีการเก็บสำรองไฟล์แบบง่ายที่สุดน่าจะเป็นการใช้คำสั่ง tar

ตัวอย่างการเก็บไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน /etc

[root@server ~]# cd /
[root@server /]# tar zcvpf server-backup-etc-20111031.tar.gz etc/
etc/
etc/sysctl.conf
etc/inittab
etc/idmapd.conf
etc/pki/
etc/pki/nssdb/
...

คำแนะนำ

  •  tar บนลีนุกซ์ สามารถระบุออปชั่น z เพื่อบีบขนาดของไฟล์ได้เลย
  • การระบุไดเร็คทอรีเวลาใช้คำสั่ง tar ให้เอาเครื่องหมาย / ที่อยู่หน้าไดเร็คทอรีออก มิฉะนั้นเวลาไปแตกไฟล์ (untar) ออก อาจพลาดไปเขียนไฟล์ทับ /etc ของเครื่องปลายทางได้

ตัวอย่างไฟล์ tar ที่ได้

[root@server /]# ls -l server-backup-etc-20111031.tar.gz
-rw-r--r-- 1 root root 5332341 Oct 31 20:52 server-backup-etc-20111031.tar.gz

ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเก็บไฟล์ tar นี้ไว้ที่ไหน เช่นเก็บใส่ USB Drive หรือ ส่งไฟล์ (transfer file) ไปเครื่องที่อยู่ที่อื่น

ส่วนไฟล์คอนฟิกอื่นๆ ต้องขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ติดตั้ง บางโปรแกรมอาจติดตั้งอยู่ใน /opt หรือ /usr/local ต้องลองหาดู

อีกอย่างที่ควรระวัง คือเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือทดลองรันโปรแกรมแล้วใช้งานเลย โดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขไฟล์คอนฟิก ที่อยู่ใน /etc ให้เรียบร้อย ทำให้เวลามีการ reboot เครื่องใหม่ เซอร์วิสบางอย่างอาจไม่ได้รันขึ้นมาเหมือนเดิม

โดยส่วนตัวแล้ว นอกจากเก็บไฟล์ที่อยู่ใน /etc แล้ว จะรันคำสั่งดังต่อไปนี้เพื่อเก็บสถานะของเครื่อง ณ ขนะนั้นจริงๆ ว่ารันอะไรอยู่บ้าง เพื่อจะได้ใช้เปรียบเทียบหลังจากที่ reboot เครื่องใหม่

  • uname -a
  • hostname
  • ps -ef
  • free
  • netstat -an
  • netstat -rn
  • ifconfig -a
  • mii-tool
  • iptables -L -v -n
  • sestatus
  • lsmod
  • dmesg
  • mount
  • df -k
  • pvdisplay
  • vgdisplay
  • lvdisplay
  • cat /proc/mdstat

ลองนำไปใช้กันดูครับ หวังว่าเซิร์ฟเวอร์ของทุกท่านจะปลอดภัย