คอนฟิก CoovaChilli ทำหน้าที่เป็น WiFi Captive Portal เบื้องต้น

หลังจากที่ได้ คอนไพล์ซอร์ซโค้ดและติดตั้ง CoovaChilli บน Ubuntu 18.04 ตอนนี้เรามาลองคอนฟิก CoovaChilli ให้ทำหน้าที่เป็น Captive Portal เบื้องต้นกัน เพื่อให้ผู้ใช้งาน WiFi ล็อกอินก่อนใช้อินเทอร์เน็ตได้

Continue reading “คอนฟิก CoovaChilli ทำหน้าที่เป็น WiFi Captive Portal เบื้องต้น”

คอนไพล์ซอร์ซโค้ดและติดตั้ง CoovaChilli บน Ubuntu 18.04

CoovaChilli เป็นโปรแกรมบริหารจัดการ ควบคุมการเข้าใช้งานระบบเครือข่าย เช่นสามารถกำหนดให้ผู้ใช้งาน WiFi ต้องล็อกอินก่อนจะใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ หรือที่เรียกว่า Captive Portal

เรามาดูวิธีการดาวน์โหลด คอมไพล์ซอร์ซโค้ด CoovaChilli แล้วสร้างเป็นไฟล์ .deb เพื่อติดตั้ง บน Ubuntu 18.04 กัน

ในที่นี้จะทดลองติดตั้งบน Ubuntu 18.04 ที่เพิ่งลงเสร็จใหม่ๆ

Continue reading “คอนไพล์ซอร์ซโค้ดและติดตั้ง CoovaChilli บน Ubuntu 18.04”

คอนฟิก Samba 4 ให้ทำ Roaming User Profiles ใน Active Directory Domain Controller

หลังจาก ตั้ง Active Directory Domain Controller ด้วย Samba 4 บน Ubuntu 16.04 เรียบร้อยแล้ว อีกหนึ่งคุณสมบัติที่นิยมใช้กันภายในบริษัทคือ การเซ็ต Roaming User Profiles เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถล็อกอินจากเครื่อง Windows ไหนก็ได้ ที่เป็นสมาชิก AD Domain เดียวกัน แล้วจะได้หน้าจอ Desktop เหมือนกัน

หลักการทำงานคร่าวๆ คือ เมื่อผู้ใช้ที่มีการคอนฟิก Roaming User Profiles ไว้ ล็อกอิน หรือ Log on เข้าเครื่อง Windows ที่อยู่ใน AD Domain จะมีการดาวน์โหลด profiles ต่างๆ ของผู้ใช้ เช่นภาพ Desktop Background ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่อยู่บน Desktop มาจากแชร์โฟลเดอร์บนเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกตั้งค่าไว้

และหลังจากที่ผู้ใช้งานเสร็จเรียบร้อย ทำการ Log off ออกจาก Windows ค่า profiles หรือไฟล์โฟลเดอร์ที่ถูกแก้ไข จะถูกอัพโหลดกลับเข้าไปแชร์โฟลเดอร์ที่เดิมที่ตั้งค่าไว้ด้วย

ลองมาดูวิธีการคอนฟิก Samba 4 ให้สามารถทำ Roaming User Profiles ได้

Continue reading “คอนฟิก Samba 4 ให้ทำ Roaming User Profiles ใน Active Directory Domain Controller”

ตั้ง Active Directory Domain Controller ด้วย Samba 4 บน Ubuntu 16.04

นอกจากจะคอนฟิกแชร์ไฟล์ให้เครื่องอื่นที่รัน Windows สามารถเข้ามา Map Drive เพื่อเก็บไฟล์ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์ได้แล้ว

Samba 4 ยังสามารถคอนฟิกให้เป็น Active Directory Domain Controller เพื่อควบคุมสิทธิ์ เช่นเก็บ Username, Password สำหรับการล็อกอินก่อนใช้งานเครื่อง Windows ที่เป็นสมาชิก (member) ของ Domain ได้

ลองมาดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิกกัน

เนื่องจากปัญหาเรื่องแพ็คเกจใน Yum repo ของทั้ง CentOS 6 และ CentOS 7 ซึ่งยังไม่มีแพ็คเกจ rpm อย่างเป็นทางการ ในการคอนฟิกเป็น Domain Controller ในที่นี้จะขอเปลี่ยนมาใช้ Ubuntu 16.04

Continue reading “ตั้ง Active Directory Domain Controller ด้วย Samba 4 บน Ubuntu 16.04”

Laravel 5.2 – Authentication เปลี่ยนให้ใช้ฟิลด์ username แทนที่ email

ขั้นตอนการเปลี่ยนให้ Laravel Authentication ตอนล็อกอิน (login) ให้ใช้ฟิลด์ชื่อ username แทนที่จะใช้ email

Continue reading “Laravel 5.2 – Authentication เปลี่ยนให้ใช้ฟิลด์ username แทนที่ email”

ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ด้วย Samba บน CentOS 7

Samba เป็นโปรแกรมหรือเซอร์วิสยอดนิยมอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาติดตั้งบนลีนุกซ์ และคอนฟิกทำเป็นเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ (File Sharing Server) ให้กับเครื่องอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows, MAC OS X

ลองมาดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิก Samba บน CentOS 7 เบื้องต้นกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานจากเครื่องอื่น สามารถเรียกใช้ไฟล์ที่อยู่ใน home ของแต่ละคนบนเซิร์ฟเวอร์ได้

ในที่นี้จะแสดงวิธีการติดตั้ง คอนฟิกและแก้ไขปัญหาไปทีละขั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจกระบวนการ เผื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ด้วย Samba บน CentOS 7”

CentOS 7 รันคำสั่ง root ด้วย sudo

แทนที่ต้องล็อกอินด้วย root หรือใช้คำสั่ง su – root  แล้วต้องระบุรหัสผ่านของ root เพื่อที่แก้ไขไฟล์หรือรันคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์ root ในการดำเนินการ

แนะนำให้ใช้ sudo ในการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานบางคน ให้มีสิทธิ์เทียบเท่า root ดำเนินการแทนได้ โดยไม่จำเป็นต้องระบุรหัสผ่านของ root แต่อย่างใด

Continue reading “CentOS 7 รันคำสั่ง root ด้วย sudo”

คอนฟิก Apache HTTP Authentication ให้ใส่ Username, Password ก่อนเข้าเว็บ

หากต้องการปกป้องเว็บไซต์ ให้เข้าได้เฉพาะคนที่มีสิทธิ์เท่านั้น  คือต้องใส่ Username, Password ให้ถูกต้องก่อน ถึงจะเข้าหน้าเว็บไซต์ได้

วิธีหนึ่งที่คอนฟิกง่ายที่สุดคือ ใช้ HTTP Authentication ซึ่งเป็นคุณสมบัติของตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง เช่น Apache  เพียงแค่แก้ไขคอนฟิกของเว็บเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ลองมาดูวิธีคอนฟิกทำ HTTP Basic Authentication ซึ่งเป็นการทำ HTTP Authentication แบบง่ายสุดของ Apache ที่ติดตั้งบน CentOS 6 กัน

Continue reading “คอนฟิก Apache HTTP Authentication ให้ใส่ Username, Password ก่อนเข้าเว็บ”

ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 2 แก้โดยใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง

หลังจากที่ได้นำเสนอวิธีแก้ไขตามบทความ ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode ไปแล้วนั้น

ถ้ามีการใส่คอนฟิก password ใน GRUB แล้วเราเองก็ไม่ทราบหรือลืม password นี้ไปด้วย ต้องใช้อีกวิธีในการแก้ไข คือใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง

Continue reading “ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 2 แก้โดยใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง”

ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode

จะเนื่องด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ หากลืมรหัสผ่านของ root หรือ root password บนลีนุกซ์ คุณก็ไม่สามารถแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรได้เลยในระดับแอดมิน (root) ของเครื่อง ยกเว้นจะมีการใช้ sudo เพื่อเพิ่มสิทธิผู้ใช้ธรรมดา ให้เทียบเท่า root ได้

โดนถามอยู่เรื่อยๆ ว่าต้องทำอย่างไร จึงเลยขอโอกาสนำมาอธิบายวิธีการแก้ไขกัน โดยใช้วิธีการที่ผู้เขียนคิดว่าถูกต้อง เหมาะสม ผู้ที่ดูแลเครื่องจริงๆ เท่านั้นน่าจะเป็นผู้ทำได้

ในที่นี้ทดสอบกับ CentOS 6 ซึ่งสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ได้กับ CentOS 5 หรือ Fedora เวอร์ชั่นต่างๆ ได้ ส่วนลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นอื่นๆ วิธีการอาจแตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่หลักการน่าจะใกล้เคียงกัน

Continue reading “ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode”