หลังจาก คอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ DHCPv6 บนลีนุกซ์ ที่แจกจ่ายข้อมูล IPv6 Address ไปยังเครื่องไคเอนต์แล้ว เราจำเป็นต้องติดตั้งและคอนฟิก radvd เพิ่มเติม เพื่อแจกข้อมูลเกี่ยวกับ IPv6 Router
Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก radvd เพื่อแจกข้อมูล IPv6 Router”
เพื่อชีวิตที่ผ่อนคลายของคนใช้ลีนุกซ์
หลังจาก คอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ DHCPv6 บนลีนุกซ์ ที่แจกจ่ายข้อมูล IPv6 Address ไปยังเครื่องไคเอนต์แล้ว เราจำเป็นต้องติดตั้งและคอนฟิก radvd เพิ่มเติม เพื่อแจกข้อมูลเกี่ยวกับ IPv6 Router
Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก radvd เพื่อแจกข้อมูล IPv6 Router”
หลังจากที่ คอนฟิก IPv6 บน CentOS 6 แล้ว ลองมาดูวิธีคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ DHCPv6 Server เพื่อแจก IPv6 Address ให้กับเครื่องไคลเอนต์อื่นๆ เช่น Windows สามารถรับ IPv6 Address ได้โดยอัตโนมัติ
โดยจะทดสอบติดตั้งและคอนฟิกบน CentOS 6
การอ่านหรือเขียนข้อมูลของเทป (tape) จะแตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ (hard disk) คือ เทปต้องอ่านหรือเขียนแบบต่อเนื่อง (sequential access) ไม่สามารถอ่านได้แบบระบุตำแหน่ง (random access) เหมือนฮาร์ดดิสก์ได้ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ต้องการจะทำได้ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ แม้จะมีโปรแกรมช่วยให้ระบุตำแหน่งข้อมูลบนเทปได้บ้าง แต่กว่าจะอ่านข้อมูลได้ ก็ต้องรอม้วนเทปหมุนไป ณ ตำแหน่งนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฮาร์ดดิส ที่มีหัวอ่านและจานเก็บข้อมูล ที่ชี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เลย
คำสั่งที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนก็แตกต่างกัน เช่นต้องการ copy ไฟล์ลงบนฮาร์ดดิสก์ เราใช้คำสั่ง cp แต่ถ้าต้องการอ่านหรือเขียนข้อมูลจากเทปเราต้องใช้คำสั่งที่อ่านแบบต่อเนื่องเช่นคำสั่ง tar หรือ cpio บนลีนุกซ์หรือยูนิกซ์
เราลองมาดูขั้นตอนการใช้เทปบนลีนุกซ์กัน โดยจะใช้คำสั่ง tar เพื่อเขียนและอ่านข้อมูลในเทป ทดสอบบน CentOS 6
บางครั้งเราต้องคอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตแลนเดียวกัน (หรือเรียกว่าสร้าง Virtual IP เพิ่มเติม หรือคอนฟิก Secondary IP ในอุปกรณ์ Cisco)
ใบบทความนี้ จะอธิบายวิธีคอนฟิกทั้งการเพิ่ม และลบ IP บนลีนุกซ์
Continue reading “คอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตเดียวกันบนลีนุกซ์”
ลองมาดูวิธีการติดตั้ง Autodesk Network License บนลีนุกซ์กัน เพื่อทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ license ของเครื่องที่จะรันโปรแกรมของ Autodesk เช่น Maya
Continue reading “ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ Autodesk Network License บนลีนุกซ์”
ลีนุกซ์รองรับ filesystem ของฮาร์ดดิสก์ได้หลายรูปแบบ ทำให้เราสามารถใช้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์บนดิสก์ที่มาจาก OS อื่นๆ ได้
ลักษณะการใช้ที่เจอบ่อยคือลงลีนุกซ์บนเครื่องเดียวกับ Windows แล้วอยากให้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์ลงบนดิสก์หรือพาร์ทิชั่นที่เป็น Windows
หรืออีกแบบคือนำฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Disk ที่ format มาเป็น NTFS มาต่อเครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์
ในบทความนี้ขอแนะนำวิธีการติดตั้ง ntfs-3g บน CentOS 6 เพื่อใช้ mount ดิสก์ที่เป็น NTFS บนลีนุกซ์ ให้สามารถอ่าน เขียนไฟล์ได้
ความเห็นส่วนตัว DNS Server จัดว่าเป็นโปรแกรมหรือเซอร์วิสที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอินเตอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือแทนที่ผู้ใช้จะต้องจำและระบุ IP Address ในการเรียกใช้บริการเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นๆ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ชื่อแทนได้ เช่นแค่ระบุชื่อ www.google.com ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ของ google ได้ แทนที่ต้องระบุ IP Address เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของ google ซึ่งมีอยู่มากมาย และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
เรามาลองดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิก DNS กัน ผู้เขียนขอเลือกใช้ BIND ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรม DNS Server ที่มีการใช้งานกันมากที่สุดบนโลกอินเตอร์เน็ตนี้ และรองรับคุณสมบัติมาตรฐานของ DNS Server โดยจะทดสอบการติดตั้งบน CentOS 6
ตอนแรกเราจะเริ่มติดตั้ง BIND และคอนฟิกเป็น caching only ความหมายคือ คอนฟิกให้ทำหน้าที่เป็น DNS เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเครื่องไคลเอ้นต์ในการถามชื่อแล้วตอบเป็น IP Address ให้ โดยเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ caching only นี้ จะทำหน้าที่ไปค้นหาข้อมูล (recursion) โดยการถาม DNS เซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต จนกว่าจะได้คำตอบว่า ชื่อที่ไคลเอ้นต์ถามมา มี IP Address เป็นอะไร
Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 1 caching only”
หลังจากที่ได้นำเสนอวิธีแก้ไขตามบทความ ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode ไปแล้วนั้น
ถ้ามีการใส่คอนฟิก password ใน GRUB แล้วเราเองก็ไม่ทราบหรือลืม password นี้ไปด้วย ต้องใช้อีกวิธีในการแก้ไข คือใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง
หลังจากที่สร้าง image ด้วย Clonezilla เรียบร้อยแล้ว ตอนที่ 3 นี้จะทดลอง restore ไฟล์ image ที่สร้างได้ลงบนเครื่องอื่นๆ
คำเตือน การ restore ไฟล์ image จะเป็นการลบแล้วเขียนข้อมูลลงบนดิสก์ของเครื่อง ทำให้ไฟล์ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เสียหายได้
ในที่นี้จะเป็นการ restore ไฟล์ image จาก Samba Server ที่ใช้เก็บไฟล์ตอนทำ image
Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image”
ในตอนนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้ Clonezilla live บู๊ตเพื่อสร้างไฟล์ image ของเครื่องต้นแบบที่ติดตั้ง Windows 7
แล้วเก็บไฟล์ image ที่ได้ไว้บน Samba File Server เพื่อสามารถใช้ restore ได้บนหลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน
ตัวอย่างหน้าจอเครื่อง Windows 7 ที่จะใช้เป็นต้นแบบ มีสองไดร์ฟคือ C และ D
Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image”