สร้างบู๊ตดิสก์ USB เพื่อติดตั้งลีนุกซ์ ด้วยคำสั่งบน Mac OS X

นับวันไดร์ฟซีดีหรือดีวีดีที่ติดมากับเครื่องจะหายากขึ้น โดยเฉพาะโน้ตบุ๊คที่มีขนาดเล็ก ที่ผู้ผลิตจะตัดออกไปเพื่อประหยัดพื้นที่ เพื่อให้ตัวเครื่องขนาดบางลง ทำให้หากเราต้องการสร้างแผ่นติดตั้งระบบปฎิบัติการเช่นลีนุกซ์จากไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา ก็ต้องไปหาซื้อตัวไดร์ฟดีวีดี external มาต่อเพิ่มเติม

เพื่อเป็นการทดแทน ปัจจุบันเครื่องรุ่นใหม่หลายรุ่นหลายยี่ห้อ ตั้งแต่โน้ตบุ๊ก เครื่อง PC จนถึงระดับเซิร์ฟเวอร์ จะรองรับการบู๊ตด้วยดิสก์ USB เพื่อใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการแทน

ในที่นี้ลองมาดูการใช้คำสั่งบนเครื่อง Mac OS X เพื่อสร้างดิสก์ USB เพื่อบู๊ตติดตั้ง CentOS 7 จากไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา

Continue reading “สร้างบู๊ตดิสก์ USB เพื่อติดตั้งลีนุกซ์ ด้วยคำสั่งบน Mac OS X”

แก้ไขปัญหา RAID บนลีนุกซ์ใช้งานไม่ได้ ขึ้น inactive

เพิ่งจะแก้ไขปัญหา inactive RAID (mdadm) บนลีนุกซ์เสร็จสิ้น ข้อมูลที่อยู่ใน RAID กลับมาใช้งานได้อีก เลยขอแชร์เล่าประสบการณ์กัน

Continue reading “แก้ไขปัญหา RAID บนลีนุกซ์ใช้งานไม่ได้ ขึ้น inactive”

อ่านเขียนดิสก์ NTFS บนลีนุกซ์

ลีนุกซ์รองรับ filesystem ของฮาร์ดดิสก์ได้หลายรูปแบบ ทำให้เราสามารถใช้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์บนดิสก์ที่มาจาก OS อื่นๆ ได้

ลักษณะการใช้ที่เจอบ่อยคือลงลีนุกซ์บนเครื่องเดียวกับ Windows แล้วอยากให้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์ลงบนดิสก์หรือพาร์ทิชั่นที่เป็น Windows

หรืออีกแบบคือนำฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Disk ที่ format มาเป็น NTFS มาต่อเครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์

ในบทความนี้ขอแนะนำวิธีการติดตั้ง ntfs-3g บน CentOS 6 เพื่อใช้ mount ดิสก์ที่เป็น NTFS บนลีนุกซ์  ให้สามารถอ่าน เขียนไฟล์ได้

Continue reading “อ่านเขียนดิสก์ NTFS บนลีนุกซ์”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image

หลังจากที่สร้าง image ด้วย Clonezilla เรียบร้อยแล้ว ตอนที่ 3 นี้จะทดลอง restore ไฟล์ image ที่สร้างได้ลงบนเครื่องอื่นๆ

คำเตือน การ restore ไฟล์ image จะเป็นการลบแล้วเขียนข้อมูลลงบนดิสก์ของเครื่อง ทำให้ไฟล์ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เสียหายได้

ในที่นี้จะเป็นการ restore ไฟล์ image จาก Samba Server ที่ใช้เก็บไฟล์ตอนทำ image

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image

ในตอนนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้ Clonezilla live บู๊ตเพื่อสร้างไฟล์ image ของเครื่องต้นแบบที่ติดตั้ง Windows 7

แล้วเก็บไฟล์ image ที่ได้ไว้บน Samba File Server เพื่อสามารถใช้ restore ได้บนหลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน

ตัวอย่างหน้าจอเครื่อง Windows 7 ที่จะใช้เป็นต้นแบบ มีสองไดร์ฟคือ C และ D

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 1 แนะนำโปรแกรม

งานอย่างหนึ่งของผู้ดูแลระบบ ในการดูแลเครื่องไม่ว่าจะเพิ่งซื้อเครื่องใหม่เข้ามาในองค์กร หรือเมื่อใช้งานเครื่องไปนานๆ แล้วพบปัญหาผู้ใช้งานบ่นว่าช้า หรือมีโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ออกมา คือการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS) ใหม่

หากมีแค่ไม่กี่เครื่อง ผู้ดูแลระบบก็สามารถติดตั้งทีละเครื่อง ค่อยๆ จัดการไปได้ไม่ลำบากนัก แต่ถ้ามีเครื่องเป็นจำนวนหลักสิบหลักร้อย การที่จะทำทีละเครื่องคงเป็นงานที่ไม่สนุกนัก ใช้เวลานานมาก เพราะไม่ใช่แค่ลง OS เท่านั้น ยังต้องปรับปรุง update patch ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เพิ่มเติมอีก

สมมติว่าเครื่องทั้งหมดเป็นเครื่องยี่ห้อ รุ่นเดียวกัน เสียบการ์ด hardware ต่างๆ ในเครื่องเหมือนกัน ขนาดฮาร์ดดิสก์เท่ากัน วิธีการหนึ่งที่ช่วยให้งานง่ายขึ้นคือลง OS และโปรแกรมต่างๆ ให้เสร็จบนเครื่องเดียวก่อน แล้วสร้างเป็น images ไว้ แล้วค่อยเอา images ที่ได้ไป restore หรือโคลนลงบนเครื่องอื่นๆ โปรแกรมประเภทนี้มีหลากหลายโปแกรมทั้งแบบ ฟรีแวร์และจ่ายเงินซื้อ เทคนิค ข้อจำกัดของแต่ละโปรแกรมก็แตกต่างกันไป

ในที่นี้จะขอแนะนำ Clonezilla สำหรับโคลนนิ่งดิสก์ ซึ่งสามารถนำไปโคลนนิ่งเครื่องได้ทั้ง Windows, Linux หลักการทำงานจะเหมือนกับโปรแกรมโคลนนิ่งทั่วไป คือสร้าง images จากเครื่องต้นแบบที่ลงสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วนำ images ที่ได้ ไป restore หรือโคลนลงบนเครื่องอื่นๆ

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 1 แนะนำโปรแกรม”

ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5

หลังจากสับสนเกี่ยวกับชื่อ Storage Manager ของ IBM ที่มีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ ในที่สุดก็ค้นพบโปรแกรม Storage Manager ที่ต้องการ เพื่อใช้สำหรับจัดการฮาร์ดดิสก์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดแบ่ง Logical Drive, Disk Array, RAID, Zone ที่ติดตั้งใน SAN ของ IBM รุ่น DS4000 ครอบคลุม DS4200, DS4700, DS4800

คำเตือน ศึกษาทำความเข้าใจด้วยการอ่านคู่มือการใช้โปรแกรม หลักการคอนฟิกดิสก์ใน SAN ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม Storage Manager เพราะโปรแกรมนี้สามารถเปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลคอนฟิกดิสก์ได้ทั้งหมด ยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกู้คืนข้อมูลกลับมาหากคอนฟิกผิดพลาดไปและไม่มีการสำรองข้อมูลไว้

Continue reading “ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5”

คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

หลังการติดตั้งลีนุกซ์เสร็จทุกครั้่ง ก่อนจะคอนฟิกแล้วนำไปใช้งาน แนะนำให้ใช้คำสั่งลีนุกซ์ ดูฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเราลงถูกต้อง ครบถ้วนไหม

ในที่นี้จะแนะนำคำสั่งเพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์หลัก 3 ส่วนคือ CPU, Memory และ Disk

Continue reading “คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง”

ติดตั้ง CentOS 6.2 : แบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์

คำเตือน การเริ่มต้นหัดใช้ลีนุกซ์ แนะนำให้ติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์เปล่าๆ เลย คือไม่มีพาร์ทิชั่นที่มีข้อมูลอื่นๆ อยู่  เพราะถ้าหากเราเลือกเมนูการติดตั้งไม่ถูกต้อง จะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เดิม ถูกลบทิ้งไปได้

เลือกประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่จะติดตั้ง  โดยทั่วไปแล้วเลือก “Basic Storage Devices”  ยกเว้นเครื่องของคุณจะใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ต่อแบบ Fiber, SAN ไปยังดิสก์ภายนอก

Continue reading “ติดตั้ง CentOS 6.2 : แบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์”

ว่าด้วยเรื่องเวลา atime, mtime, ctime ของไฟล์บน Unix

เวลาของไฟล์บน Unix มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้ ไม่ว่าจะใช้ดูเพื่อหาว่า ไฟล์นี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไร เก่าไป หรือใหม่กว่าอย่างไร

อีกประการ ยังถูกใช้โดยโปรแกรม Backup เพื่อเลือกไฟล์สำหรับการทำ Backup แบบ Incremental คือ เลือกเฉพาะไฟล์ที่เพิ่มขึ้นใหม่ หรือไฟล์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

เวลาของไฟล์บน Unix มีอยู่ 3 ค่า คือ atime, ctime, mtime ในที่นี้จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของค่าเวลาต่างๆ ดังนี้

Continue reading “ว่าด้วยเรื่องเวลา atime, mtime, ctime ของไฟล์บน Unix”