เลือก Root File System ให้เป็นแบบ xfs ตอนติดตั้ง Ubuntu 18.04

จาก รีวิวการติดตั้ง​ Ubuntu Server 18.04 LTS เราเลือกแบบดีฟอลต์ในทุกขั้นตอน ซึ่งก็สามารถติดตั้งใช้งาน Ubuntu 18.04 ได้ แต่ในบางครั้งมีความจำเป็นต้องแก้ไขค่าคอนฟิกตอนติดตั้ง ก็สามารถเลือกคอนฟิกได้เหมือนกัน

ในที่นี้ลองมาเปลี่ยน File system ของ / ให้เป็น xfs

Continue reading “เลือก Root File System ให้เป็นแบบ xfs ตอนติดตั้ง Ubuntu 18.04”

แก้ปัญหา SELinux Context ผิด ด้วย restorecon

แม้ SELinux ช่วยให้ลีนุกซ์มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็สร้างความปวดหัวให้กับผู้ดูแลระบบพอสมควรในการแก้ไขปัญหา  ทำให้หลายคนปิดคุณสมบัตินี้ไป

ปัญหาหนึ่งที่จะพบบ่อยคือ Security Context หรือ Label ของไฟล์ผิดไป ทำให้บางโปรเซสอ่านไฟล์ไม่ได้ เพราะว่า SELinux จะมีการกำหนด (policy) ว่าแต่ละโปรเซสจะสามารถอ่านไฟล์อะไรได้บ้าง
Continue reading “แก้ปัญหา SELinux Context ผิด ด้วย restorecon”

วิธีการใช้ tape backup บนลีนุกซ์

การอ่านหรือเขียนข้อมูลของเทป (tape) จะแตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ (hard disk) คือ เทปต้องอ่านหรือเขียนแบบต่อเนื่อง (sequential access) ไม่สามารถอ่านได้แบบระบุตำแหน่ง (random access) เหมือนฮาร์ดดิสก์ได้ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ต้องการจะทำได้ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ แม้จะมีโปรแกรมช่วยให้ระบุตำแหน่งข้อมูลบนเทปได้บ้าง แต่กว่าจะอ่านข้อมูลได้ ก็ต้องรอม้วนเทปหมุนไป ณ ตำแหน่งนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฮาร์ดดิส ที่มีหัวอ่านและจานเก็บข้อมูล ที่ชี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เลย

คำสั่งที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนก็แตกต่างกัน เช่นต้องการ copy ไฟล์ลงบนฮาร์ดดิสก์ เราใช้คำสั่ง cp  แต่ถ้าต้องการอ่านหรือเขียนข้อมูลจากเทปเราต้องใช้คำสั่งที่อ่านแบบต่อเนื่องเช่นคำสั่ง tar หรือ  cpio บนลีนุกซ์หรือยูนิกซ์

เราลองมาดูขั้นตอนการใช้เทปบนลีนุกซ์กัน โดยจะใช้คำสั่ง tar เพื่อเขียนและอ่านข้อมูลในเทป ทดสอบบน CentOS 6

Continue reading “วิธีการใช้ tape backup บนลีนุกซ์”

อ่านเขียนดิสก์ NTFS บนลีนุกซ์

ลีนุกซ์รองรับ filesystem ของฮาร์ดดิสก์ได้หลายรูปแบบ ทำให้เราสามารถใช้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์บนดิสก์ที่มาจาก OS อื่นๆ ได้

ลักษณะการใช้ที่เจอบ่อยคือลงลีนุกซ์บนเครื่องเดียวกับ Windows แล้วอยากให้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์ลงบนดิสก์หรือพาร์ทิชั่นที่เป็น Windows

หรืออีกแบบคือนำฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Disk ที่ format มาเป็น NTFS มาต่อเครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์

ในบทความนี้ขอแนะนำวิธีการติดตั้ง ntfs-3g บน CentOS 6 เพื่อใช้ mount ดิสก์ที่เป็น NTFS บนลีนุกซ์  ให้สามารถอ่าน เขียนไฟล์ได้

Continue reading “อ่านเขียนดิสก์ NTFS บนลีนุกซ์”

copy ไฟล์ระหว่างเครื่องด้วย rsync

เคยไหมต้อง copy ไฟล์ จำนวนมาก จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง เช่นต้องการย้ายข้อมูลไปอีกเซิร์ฟเวอร์นึง หรือต้องการสำรองข้อมูลไปไว้อีกเครื่อง

แต่ก่อนถือเป็นงานยากของผู้ดูแลระบบที่จะย้ายไฟล์ได้ ยิ่งถ้ามีหลายไดเร็คทอรีย่อย มีหลายไฟล์ หรือต้องการเก็บค่า permission หรือ owner, group ของไฟล์ไว้ด้วย อาจต้องใช้คำสั่ง tar ก่อน แล้วค่อย copy ไฟล์ไป

ปัญหาก็คือหากระหว่างนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไฟล์ เพิ่ม ลบ แก้ไข บนเครื่องต้นทาง อาจจะต้อง copy ไฟล์ใหม่ทั้งหมด หรือใช้คำสั่ง find เพื่อตรวจสอบ เนื่องจากไม่รู้ว่าไฟล์อะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

บทความนี้ขอแนะนำวิธีง่ายๆ คือใช้คำสั่ง rsync เพื่อใช้ copy ไฟล์ระหว่างเครื่อง

Continue reading “copy ไฟล์ระหว่างเครื่องด้วย rsync”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image

หลังจากที่สร้าง image ด้วย Clonezilla เรียบร้อยแล้ว ตอนที่ 3 นี้จะทดลอง restore ไฟล์ image ที่สร้างได้ลงบนเครื่องอื่นๆ

คำเตือน การ restore ไฟล์ image จะเป็นการลบแล้วเขียนข้อมูลลงบนดิสก์ของเครื่อง ทำให้ไฟล์ข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เสียหายได้

ในที่นี้จะเป็นการ restore ไฟล์ image จาก Samba Server ที่ใช้เก็บไฟล์ตอนทำ image

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 3 restore ไฟล์ image”

โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image

ในตอนนี้จะแสดงตัวอย่างการใช้ Clonezilla live บู๊ตเพื่อสร้างไฟล์ image ของเครื่องต้นแบบที่ติดตั้ง Windows 7

แล้วเก็บไฟล์ image ที่ได้ไว้บน Samba File Server เพื่อสามารถใช้ restore ได้บนหลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน

ตัวอย่างหน้าจอเครื่อง Windows 7 ที่จะใช้เป็นต้นแบบ มีสองไดร์ฟคือ C และ D

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 2 สร้างไฟล์ image”

ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5

หลังจากสับสนเกี่ยวกับชื่อ Storage Manager ของ IBM ที่มีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ ในที่สุดก็ค้นพบโปรแกรม Storage Manager ที่ต้องการ เพื่อใช้สำหรับจัดการฮาร์ดดิสก์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดแบ่ง Logical Drive, Disk Array, RAID, Zone ที่ติดตั้งใน SAN ของ IBM รุ่น DS4000 ครอบคลุม DS4200, DS4700, DS4800

คำเตือน ศึกษาทำความเข้าใจด้วยการอ่านคู่มือการใช้โปรแกรม หลักการคอนฟิกดิสก์ใน SAN ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม Storage Manager เพราะโปรแกรมนี้สามารถเปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลคอนฟิกดิสก์ได้ทั้งหมด ยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกู้คืนข้อมูลกลับมาหากคอนฟิกผิดพลาดไปและไม่มีการสำรองข้อมูลไว้

Continue reading “ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5”

แก้ปัญหา WordPress อัพโหลดไฟล์ไม่ได้

หลังจาก ติดตั้ง WordPress บน CentOS 6 เรียบร้อยแล้ว หากเจอปัญหาสามารถโพสต์ข้อความได้ แต่ไม่สามารถอัพโหลด (upload) ไฟล์ เช่นรูป ได้

ตัวอย่างข้อความ error เมื่อ upload file

“Picture-01.jpg” has failed to upload due to an error
Unable to create directory /var/www/html/wordpress/wp-content/uploads/2012/05. Is its parent directory writable by the server?

ในที่นี้จะแสดงวิธีการแก้ไขปัญหา

Continue reading “แก้ปัญหา WordPress อัพโหลดไฟล์ไม่ได้”

yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6

จากที่ได้ ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2 ด้วยคำสั่ง rpm แล้ว จะเห็นถึงความยุ่งยากในการติดตั้ง บางโปรแกรมกว่าจะติดตั้งได้ ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ ก่อนอีกมากมาย

เพื่อความสะดวกและง่าย เราสามารถใช้คำสั่ง yum ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ประเภท rpm

ง่ายที่สุด เครื่องลีนุกซ์ที่จะรันคำสั่ง yum นั้น ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการติดตั้งโปรแกรมจาก repos ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้

แต่บางครั้ง เครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์นั้น ไม่สามารถต่อออกอินเตอร์เน็ตได้

ในตอนนี้จะแนะนำการใช้คำสั่ง yum เพื่อติดตั้งไฟล์ rpm โดยใช้ repos ที่อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6.2

Continue reading “yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6”