หัดใช้ vi แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์

หากคุณต้องการหัดใช้ลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้ดูแลระบบ (System Administrator) โปรแกรมหนึ่งที่ต้องฝึกใช้ให้เป็นคือ vi เพื่อใช้แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์ หรือ UNIX

ถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรมอื่นเช่น nano ที่เป็นโปรแกรม editor ใช้แก้ไขไฟล์ได้เหมือนกัน และมักจะติดตั้งมาด้วย แต่ในบางเครื่องโดยเฉพาะ UNIX ประเภทอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมนี้มา จะมีเฉพาะ vi เท่านั้น

ดังนั้น จะขอแนะนำวิธีการใช้ vi อย่างง่ายๆ ใช้คำสั่งพื้นฐานเพื่อแก้ไข และบันทึกไฟล์บนลีนุกซ์

Continue reading “หัดใช้ vi แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์”

ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp

ในหลายๆ ครั้ง เรามีไฟล์อยู่บน Windows ต้องการถ่ายโอนไปยังลีนุกซ์ หรือในทำนองกลับกัน ต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากลีนุกซ์กลับมาไว้บน Windows

บทนี้จะแนะนำการใช้โปรแกรม pscp รันบน Windows เพื่อใช้ถ่ายโอนไฟล์ (transfer) กับเครื่องที่รันลีนุกซ์ ผ่านทาง Secure Shell ได้

Continue reading “ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp”

ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2

หลังจาก ติดตั้ง CentOS 6.2 : เลือกชุดซอฟต์แวร์ที่จะลง แล้ว หากต้องการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถทำได้ดังนี้

Continue reading “ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2”

การเรียกดูไฟล์ในแผ่นซีดีรอมหรือดีวีดีบนลีนุกซ์

บนลีนุกซ์เมื่อใส่แผ่นซีดีรอมหรือดีวีดีเข้าไปในไดร์ฟแล้ว หากต้องการเรียกดูไฟล์ในแผ่นต้องทำการ mount ตัวไดร์ฟ (/dev) กับไดเร็คทอรีหรือพาธ (path) บนลีนุกซ์ แล้วถึงจะดูไฟล์ภายใต้พาธนี้ได้

หมายเหตุ หากติดตั้งชุดโปรแกรม Desktop Environment เช่น GNOME ด้วย อาจมีโปรแกรมช่วย mount ตัวไดร์ฟโดยอัตโนมัติ (automount) คือเมื่อใส่แผ่นเราก็สามารถเรียกดูไฟล์ในแผ่นได้เลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่ง mount

Continue reading “การเรียกดูไฟล์ในแผ่นซีดีรอมหรือดีวีดีบนลีนุกซ์”

ทดสอบติดตั้ง CentOS 6.0

หลังจาก ทดสอบ Red Hat Enterprise Linux 6.0  บทความนี้ขอนำมาเปรียบเทียบกับการติดตั้ง CentOS 6.0 โดยใช้แผ่นดีวีดี เผื่อหวังว่าผู้สนใจได้ข้อมูลในเบื้องต้น ประกอบการตัดสินใจในการใช้งาน

Continue reading “ทดสอบติดตั้ง CentOS 6.0”

ว่าด้วยเรื่องเวลา atime, mtime, ctime ของไฟล์บน Unix

เวลาของไฟล์บน Unix มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้ ไม่ว่าจะใช้ดูเพื่อหาว่า ไฟล์นี้ถูกเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไร เก่าไป หรือใหม่กว่าอย่างไร

อีกประการ ยังถูกใช้โดยโปรแกรม Backup เพื่อเลือกไฟล์สำหรับการทำ Backup แบบ Incremental คือ เลือกเฉพาะไฟล์ที่เพิ่มขึ้นใหม่ หรือไฟล์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงเท่านั้น

เวลาของไฟล์บน Unix มีอยู่ 3 ค่า คือ atime, ctime, mtime ในที่นี้จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของค่าเวลาต่างๆ ดังนี้

Continue reading “ว่าด้วยเรื่องเวลา atime, mtime, ctime ของไฟล์บน Unix”

สร้าง Storage Server ง่ายๆ ด้วย FreeNAS

เดี๋ยวนี้เดินตามร้านคอมพิวเตอร์เริ่มมีอุปกรณ์ประเภท NAS (Network Attached Storage Server) ขายเป็น box สำเร็จรูป เพื่อผู้ใช้นำไปสำรองข้อมูล แชร์ไฟล์ได้หลายเครื่อง แถมบางยี่ห้อสามารถรันโปรแกรม BitTorrent เพื่อโหลดไฟล์ได้

แทนที่จะซื้อ box ใหม่ ลองหาเครื่องเก่าๆ ที่ยังพอใช้งานได้อยู่ หากขนาดพื้นที่ดิสก์เก่าไม่พอ ก็ซื้อเฉพาะฮาร์ดดิสก์เท่านั้น แล้วติดตั้งโปรแกรม FreeNAS ภายในไม่ถึง10 นาที  (ไม่รวมเวลาดาวน์โหลดไฟล์ iso ขนาด 130 กว่า MB นะ) คุณก็จะได้ Storage Server ไว้ใช้ อย่างง่ายดาย คุณสมบัติ (features) เพียบ…

คำเตือน

  • FreeNAS จะล้าง (Format) ข้อมูลทั้งหมดในดิสก์ของเครื่อง
  • การทดลองรันแบบ LiveCD ค่าคอนฟิกที่สร้างทั้งหมดจะหายไป เมื่อมีการรีบู๊ตหรือปิดเครื่อง

Continue reading “สร้าง Storage Server ง่ายๆ ด้วย FreeNAS”

ทดสอบ Red Hat Enterprise Linux 6.0

เมื่อไม่นานมานี้ทาง RedHat ได้ออก RedHat Enterprise Linux เวอร์ชั่น 6.0 ซึ่งได้พัฒนาไปจากเวอร์ชั่น 5 ค่อนข้างมาก ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.redhat.com/rhel/server/details/

บทความนี้แสดงให้เห็นการติดตั้ง Red Hat 6.0 โดยใช้แผ่นดีวีดี เผื่อหวังว่าผู้สนใจได้ข้อมูลในเบื้องต้น ประกอบการตัดสินใจในการ upgrade ต่อไป

Continue reading “ทดสอบ Red Hat Enterprise Linux 6.0”

เพิ่มดิสก์ใหม่บน Solaris 10

เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ OS อื่นๆ เมื่อมีการเพิ่มดิสก์ก้อนใหม่เข้าไปในเครื่องที่ติดตั้ง Solaris 10 ต้องมีกระบวนการ หรือต้องรันคำสั่งก่อนที่จะเริ่มใช้ดิสก์ก้อนใหม่ได้

Continue reading “เพิ่มดิสก์ใหม่บน Solaris 10”

การใช้งาน DRBD เบื้องต้น

จากบทความ ติดตั้งและคอนฟิก DRBD  เราได้คอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้

ดังนั้นขณะที่เครื่องที่ 1 (centos54-a) ทำหน้าที่เป็น primary ของดิสก์ drbd0 อยู่  เครื่องที่ 2 (centos54-b) จะไม่สามารถ mount ดิสก์ drbd0 นี้ขึ้นมาใช้งานได้

ในบทความนี้จะแสดงการทดสอบใช้คำสั่งเพื่อเปลี่ยนโหมด Primary, Secondary ระหว่างเครื่องทั้งสอง

ตรวจสอบสถานะบนเครื่อง centos54-a

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Primary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C  /export  ext3
[root@centos54-a ~]# df -h /export
Filesystem            Size  Used Avail Use% Mounted on
/dev/drbd0            950M   18M  885M   2% /export

ทดสอบ mount ดิสก์บนเครื่อง centos54-b

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Primary  UpToDate/UpToDate  C
[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export
mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only
mount: Wrong medium type

ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนให้เครื่องที่ 2 (centos54-b) ทำหน้าที่เป็น primary  เช่นในกรณีที่ต้องการซ่อมบำรุงเครื่องที่ 1 สามารถทำได้ดังนี้

บนเครื่องที่ 1 ปิดเซอร์วิส DRBD

[root@centos54-a ~]# service drbd stop
Stopping all DRBD resources:
.
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd not loaded

ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2 หลังจากปิดเซอร์วิสบนเครื่องที่ 1

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Secondary/Unknown  UpToDate/DUnknown  C

แม้เครื่อง Primary ปิดไปแล้ว บนเครื่องที่ 2 ที่ยังอยู่ในโหมด Secondary ก็ยัง mount ดิสก์ ไม่ได้

[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export
mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only
mount: Wrong medium type

ต้องเปลี่ยนสถานะบนเครื่องที่ 2 ให้เป็น primary ด้วยคำสั่ง drbdadm primary

[root@centos54-b ~]# drbdadm primary all

ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro               ds                 p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Primary/Unknown  UpToDate/DUnknown  C

เมื่ออยู่ในโหมด primary แล้ว ก็สามารถ mount ดิสก์ขึ้นมาใช้งานได้

[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export
[root@centos54-b ~]# df -h /export
Filesystem            Size  Used Avail Use% Mounted on
/dev/drbd0            950M   18M  885M   2% /export

ทดลองสร้างไฟล์ในดิสก์ drbd0

[root@centos54-b ~]# cd /export/
[root@centos54-b export]# ls
lost+found
[root@centos54-b export]# echo "hello world from node 2" > test-file-on-node-2.txt
[root@centos54-b export]# ls -l
total 20
drwx------ 2 root root 16384 Feb  6 15:46 lost+found
-rw-r--r-- 1 root root    24 Feb  6 17:17 test-file-on-node-2.txt

รันเซอร์วิส DRBD บนเครื่องที่ 1 ขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้เครื่องที่ 1 จะทำหน้าที่เป็น Secondary และจะทำการ replicate ข้อมูลมาจากเครื่องที่ 2 (Primary) โดยอัตโนมัติ

[root@centos54-a ~]# service drbd start
Starting DRBD resources: [ d(r0) s(r0) n(r0) ].
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Primary  UpToDate/UpToDate  C

บนเครื่องที่ 2 เปลี่ยนให้เป็นโหมด Secondary

[root@centos54-b ~]# drbdadm secondary all
0: State change failed: (-12) Device is held open by someone
Command 'drbdsetup 0 secondary' terminated with exit code 11

หากมีการเรียกใช้ดิสก์ drbd อยู่ จะไม่สามารถเปลี่ยนโหมดจาก Primary ไปเป็น Secondary ได้ ต้อง umount ดิสก์ออกไปก่อนถึงจะเปลี่ยนโหมดได้

[root@centos54-b ~]# umount /export
[root@centos54-b ~]# drbdadm secondary all

ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                   ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C

เปลี่ยนโหมดบนเครื่องที่ 1 ให้เป็น Primary เพื่อเรียกใช้ดิสก์ได้

[root@centos54-a ~]# drbdadm primary all
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Primary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C

mount ดิสก์ และตรวจสอบไฟล์ที่อยู่ใน drbd0 จะเห็นไฟล์ที่สร้างจากเครื่องที่ 2

[root@centos54-a ~]# mount /dev/drbd0 /export
[root@centos54-a ~]# cd /export/
[root@centos54-a export]# ls -l
total 20
drwx------ 2 root root 16384 Feb  6 15:46 lost+found
-rw-r--r-- 1 root root    24 Feb  6 17:17 test-file-on-node-2.txt
[root@centos54-a export]# cat test-file-on-node-2.txt
hello world from node 2

ตรวจสอบไฟล์ /var/log/messages

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ DBRD นอกจากการใช้คำสั่ง service เพื่อตรวจสอบสถานะแล้ว ไฟล์ /var/log/messages จะแสดงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของ DRBD ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ช่วยในการแก้ปัญหาได้

ตัวอย่างข้อความในไฟล์ /var/log/messages ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนโหมด

[root@centos54-a ~]# tail /var/log/messages
...
Feb  6 17:19:38 centos54-a kernel: block drbd0: peer( Primary -> Secondary )
Feb  6 17:21:04 centos54-a kernel: block drbd0: role( Secondary -> Primary )
...

ข้อมูลอ้างอิง