คอนฟิกดีฟอลต์ editor บน Ubuntu 18.04

การคอนฟิกลีนุกซ์โดยใช้บางคำสั่งเช่น crontab, visudo จะมีการเรียก editor ขึ้นมาเพื่อแก้ไขไฟล์คอนฟิก ซึ่งขึ้นอยู่กับเวอร์ชันลีนุกซ์ที่ใช้ว่าจะตั้ง editor ตัวไหนเป็นดีฟอลต์ เช่น Ubuntu 18.04 จะตั้ง nano เป็นดีฟอลต์

มาดูกันว่าถ้าเราต้องการเปลี่ยนดีฟอลต์ editor ให้เป็นตัวอื่น เช่น vim จะสามารถเปลี่ยนได้อย่างไร

Continue reading “คอนฟิกดีฟอลต์ editor บน Ubuntu 18.04”

ติดตั้งและทดลองใช้ Docker บน CentOS 7

ถือว่ามาแรงมากในรอบปีที่ผ่านมา สำหรับ docker ที่ช่วยบริหารจัดการซอฟต์แวร์เพื่อให้รันบนลีนุกซ์ที่แตกต่างกันได้

โดยจะมีการรวบรวมซอฟต์แวร์ ขั้นตอนการติดตั้ง libraries การคอนฟิก และอื่นๆ ที่จำเป็น รวมเป็น image เพื่อให้สามารถนำไปรันภายใต้ container ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของ kernel ในลีนุกซ์ ได้อย่างไม่มีปัญหา

ในที่นี้ขอแสดงการติดตั้งและทดลองใช้ docker เบื้องต้น โดยจะทดลองบน CentOS 7

Continue reading “ติดตั้งและทดลองใช้ Docker บน CentOS 7”

เปลี่ยนสีการแสดงชื่อไดเรกทอรี จากคำสั่ง ls

โดยส่วนใหญ่การแสดงผลด้วยการแยกสีสันต่างๆ จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งสีที่แสดง ก็ดูยากเหลือเกิน

ตัวอย่างที่ผู้เขียนเห็นบ่อยมากที่สุดคือ สีของผลลัพธ์ที่แสดงจากคำสั่ง ls สีที่มองยากที่สุด แถมเป็นสีที่เห็นบ่อยด้วย ก็คือสีน้ำเงิน ซึ่งแสดงว่าชื่อไฟล์นั้นเป็นชนิดไดเรกทอรี

ลองมาดูวิธีการแก้ไขเปลี่ยนสีให้ดูง่ายขึ้นกันครับ

Continue reading “เปลี่ยนสีการแสดงชื่อไดเรกทอรี จากคำสั่ง ls”

Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed

คำสั่ง sed (Stream EDitor) เป็นอีกคำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์ที่ใช้กันบ่อย เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเท็กซ์จากต้นทาง (input) ให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ (output)

นอกจากลีนุกซ์แล้ว บนยูนิกซ์ (Unix) เกือบทุกตระกูลรวมทั้ง Mac OS จะมีคำสั่ง sed ติดตั้งมาให้โดยดีฟอลต์ จะแตกต่างกันตรงเวอร์ชันที่ติดตั้ง ของลีนุกซ์จะใช้เป็น GNU sed ซึ่งจะมีออปชันให้ใช้มากหน่อย แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแค่การใช้ sed แบบพื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับ sed ทุกเวอร์ชัน

Continue reading “Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed”

ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp

ในหลายๆ ครั้ง เรามีไฟล์อยู่บน Windows ต้องการถ่ายโอนไปยังลีนุกซ์ หรือในทำนองกลับกัน ต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากลีนุกซ์กลับมาไว้บน Windows

บทนี้จะแนะนำการใช้โปรแกรม pscp รันบน Windows เพื่อใช้ถ่ายโอนไฟล์ (transfer) กับเครื่องที่รันลีนุกซ์ ผ่านทาง Secure Shell ได้

Continue reading “ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp”

เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์

เนื่องจาก root สามารถทำได้ทุกอย่างบนลีนุกซ์ ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม แก้ไขคอนฟิก หรือกระทั่งสั่งปิดเครื่อง (shutdown)

คำแนะนำอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้ลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นหัดใช้งาน หรือใช้งานมานานแล้ว คือล็อกอินเป็นผู้ใช้ธรรมดาที่ไม่ใช่ root ให้เป็นนิสัย เพราะผู้ใช้งานธรรมดา ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว เช่นดูคอนฟิกของเครื่อง แก้ไขไฟล์เท่าที่มีสิทธิ์ และหากทำอะไรผิดพลาดไป ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะกระทบในระดับหนึ่ง เท่าที่ผู้ใช้คนนั้นจะทำได้ ไม่กระทบทั้งเครื่อง

จนกว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรบางอย่างกับลีนุกซ์ที่จำเป็นต้องทำด้วย root ค่อยใช้คำสั่ง su เปลี่ยนผู้ใช้ root (หรือใช้ sudo) และเมื่อหลังจากแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ก็เปลี่ยนกลับมาเป็น user ธรรมดาอีกครั้ง

ในบทนี้จะอธิบายคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งาน โดยต้องใช้ root เป็นคนรันคำสั่ง

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์”

แก้ไขคอนฟิก firewall ด้วย system-config-firewall

จากบทความ แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables ผู้ที่จะแก้ไขคอนฟิกแบบนี้ได้ ต้องมีความรู้ทางด้านเน็ตเวิร์ก มีความเข้าใจเรื่อง firewall รวมทั้งต้องทราบว่าเซอร์วิสที่รันใช้พอร์ตอะไร

ซึ่งอาจทำให้เกิดความยากสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะไม่รู้ว่าจะเพิ่ม หรือลบ rule อย่างไร ใส่ออปชั่นอะไรบ้าง

สำหรับผู้เริ่มต้นหัดใช้ แนะนำให้ใช้โปรแกรม system-config-firewall เพื่อช่วยแก้ไข rule ของ firewall บนลีนุกซ์

Continue reading “แก้ไขคอนฟิก firewall ด้วย system-config-firewall”

แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables

บนลีนุกซ์มีคุณสมบัติ firewall ติดตั้งมาให้สามารถเลือกอนุญาต หรือปฏิเสธการ รับ/ส่ง packet เข้า/ออกเครื่องได้

จุดมุ่งหมายหลักๆ ของ firewall ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์

หลายคนมักจะปิดคุณสมบัตินี้ไป ด้วยเหตุผลบอกว่ายากต่อการทำความเข้าใจ และแก้ไข

ในบทความนี้จะอธิบายการใช้คำสั่ง iptables เพื่อแสดงสถานะ firewall ที่เปิดใช้งาน การเพิ่ม rule เพื่ออนุญาตการเชื่อมต่อ การลบ rule ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ลองทำตามดู ในหลายเซอร์วิส เพียงแค่แก้ไข rule นิดเดียวเท่านั้น ก็จะใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องปิดคุณสมบัติ firewall แต่อย่างได้

Continue reading “แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables”

การเปิดเซอร์วิสตอนบู๊ตเครื่องของ CentOS 6

หลังจากที่ติดตั้งโปรแกรม คอนฟิกค่าต่างๆ แล้วทดสอบการเปิด ปิดเซอร์วิสด้วยคำสั่ง service ได้ผลตามที่ต้องการแล้ว

หากต้องการให้เมื่อบู๊ตเครื่องทุกครั้ง ให้เปิด (start) เซอร์วิสนี้ขึ้นมาด้วย หรือทุกครั้งที่เรียกคำสั่งปิดเครื่อง (shutdown) ให้ปิด (stop) เซอร์วิสนี้ก่อน

Continue reading “การเปิดเซอร์วิสตอนบู๊ตเครื่องของ CentOS 6”