การติดตั้ง​ Red Hat Enterprise Linux 8

Red Hat Enterprise Linux เป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชันแบบหนึ่ง ที่นิยมใช้ในองค์กรมาก เหตุเพราะสามารถซื้อการสนับสนุน (support) จากทาง Red Hat ได้ เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไป การติดตั้งโปรแกรม การอัพเดทโปรแกรม หรืออื่นๆ

ล่าสุดทาง Red Hat ได้ออกเวอร์ชันใหม่เป็น Red Hat Enterprise Linux 8 ซึ่งอนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ ในรูปแบบ developer subscription ซึ่งเราสามารถสมัครได้ทางเว็บไซต์ของ Red Hat

ลองมาดูตัวอย่างการติดตั้ง Red Hat Enterprise Linux 8 กัน

ขั้นแรกดาวน์โหลดไฟล์ iso เพื่อใช้ในการติดตั้ง

เข้าเว็บไซต์ https://developers.redhat.com/products/rhel/download/

คลิกลิงก์ DVD ISO (7 GB) ในบรรทัด RHEL x86_64 เพื่อใช้ในการติดตั้งเครื่อง PC หรือ Server ทั่วไป

ไฟล์ที่ดาวน์โหลดได้จะอยู่ในรูปแบบ iso ซึ่งสามารถนำไปเขียนลงแผ่นดีวีดี หรือใช้บู๊ตในโปรแกรม VirtualBox หรือ VMware ได้

บู๊ตแผ่นดีวีดีที่ได้จากการเขียนไฟล์ iso

หน้าจอบู๊ตเริ่มต้น แสดงเมนูให้เลือก สำหรับการติดตั้งครั้งแรก แนะนำให้เลือก Test this media & install Red Hat Enterprise Linux 8.0.0 เพื่อให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา

หน้าจอแสดงการตรวจสอบ Checking 

ถ้าตรวจสอบแล้วถูกต้อง จะเข้าสู่หน้าจอติดตั้งโดยอัตโนมัติ

หน้าจอ WELCOME TO RED HAT ENTERPRISE LINUX 8.0.0 จะเป็นการเลือกภาษาที่ใช้ในการติดตั้ง ในที่นี้ขอเลือกเป็น English

กดปุ่ม Continue เพื่อไปหน้าต่อไป

หน้าจอถัดไปจะเป็นหน้าจอสรุปการติดตั้ง (INSTALLATION SUMMARY) โดยสามารถคลิกเข้าไปส่วนต่างๆ เพื่อเลือกแก้ไขค่าในการติดตั้ง หลังจากแก้ไขแต่ละส่วนเสร็จ จะมีปุ่ม Done อยู่ด้านบน ให้กดแล้วจะกลับมาหน้าจอสรุปนี้อีกครั้ง

เราจะลองคลิกไปแต่ละส่วน

ส่วน KEYBOARD LAYOUT หากคุณมีคีย์บอร์ดแบบอื่น สามารถเพิ่มได้ 

ส่วน LANGUAGE SUPPORT จะสามารถเพิ่มภาษาเข้าไปในระบบได้ มีภาษาไทยด้วยนะ

ส่วน TIME & DATE จะเป็นการคอนฟิก timezone ของเครื่อง ซึ่งสามารถเลือกเมนู Region/City ด้านบน หรือคลิกตรงแผนที่ประเทศ เพื่อกำหนดค่าคอนฟิกได้เลย สำหรับประเทศไทยจะเป็น Asia/Bangkok

ส่วน INSTALLATION SOURCE เป็นการกำหนดว่าจะติดตั้ง Red Hat จากไหน และจะเป็นการกำหนด Repositories เพื่อใช้ในการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมด้วยคำสั่ง yum

โดยดีฟอลต์ไม่ต้องแก้ไขอะไร

ส่วน SOFTWARE SELECTION จะเป็นการเลือกชุดโปรแกรมที่จะติดตั้ง ดีฟอลต์จะเลือกเป็นแบบ Server with GUI 

ในที่นี้ขอเลือกเป็น Minimal Install ซึ่งเป็นการติดตั้งเฉพาะโปรแกรมพื้นฐานเท่านั้น

ส่วน INSTALLATION DESTINATION จะเป็นการเลือกดิสก์ที่ใช้ในการติดตั้ง Linux

คำเตือน แนะนำให้ติดตั้งบนดิสก์ที่ไม่มีข้อมูล เพราะการติดตั้งจะเป็นการลบข้อมูลที่มีอยู่ในดิสก์

ส่วน KDUMP จะเป็นการเลือกว่าจะเก็บข้อมูลเวลา kernel มีปัญหาหรือไม่ (crash) แนะนำให้ Enable ไว้

ส่วน NETWORK & HOST NAME จะเป็นการคอนฟิกเน็ตเวิร์ค 

ส่วน SECURITY POLICY จะเป็นการเลือกว่าจะกำหนดค่าความปลอดภัยให้เป็นตามมารตฐาน เช่น PCI-DSS หรือไม่ แนะนำให้ ON

ส่วน SYSTEM PURPOSE น่าจะเป็นแบบสอบถามเพื่อการเก็บข้อมูลของทาง Red Hat  ว่าเราจะใช้เครื่องนี้ทำอะไร เลือกที่จะไม่ตอบได้ Not Specified

หลังจากคอนฟิกแต่ละส่วนเรียบร้อย จะสามารถกดปุ่ม Begin Installation ได้

หน้าจอแสดงว่ากำลังติดตั้งแพ็คเกจโปรแกรม

ระหว่างนี้เราสามารถกดปุ่ม เพื่อกำหนดค่ารหัสผ่านของ Root และสร้างผู้ใช้งาน User ได้ 

หน้าจอ ROOT PASSWORD เพื่อกำหนดรหัสผ่านของ root ใส่รหัสผ่านเหมือนกันสองครั้ง แล้วกดปุ่ม Done

หน้าจอ CREATE USER เพื่อสร้างผู้ใช้งานในระบบ

หากต้องการให้ผู้ใช้คนนี้สามารถ sudo เป็น root ได้ ให้คลิกเลือก Make this user administrator

หลังจากตั้งรหัสผ่าน root และสร้าง user เรียบร้อยแล้ว

หลังจากติดตั้งแพ็คเกจเสร็จเรียบร้อย จะปุ่ม Reboot เพื่อรีบู๊ตเครื่อง

หมายเหตุ อย่าลืมเอาแผ่นซีดี หรือดีวีดี ออกจากเครื่องก่อน เพื่อให้บู๊ตจากดิสก์ที่เพิ่งติดตั้ง Red Hat ไป

หน้าจอบู๊ตหลังจากติดตั้งเสร็จเรียบร้อย

หลังจากบู๊ตเครื่องเสร็จเรียบร้อยจะขึ้น login prompt

ล็อกอินด้วย user ที่สร้างไว้

ในที่นี้เราเลือกติดตั้งแบบ Minimal Install จะใช้พื้นที่ดิสก์ / ประมาณ 1.3 GB

ข้อมูลอ้างอิง

Leave a Reply

Your email address will not be published.