เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์

เนื่องจาก root สามารถทำได้ทุกอย่างบนลีนุกซ์ ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม แก้ไขคอนฟิก หรือกระทั่งสั่งปิดเครื่อง (shutdown)

คำแนะนำอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้ลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นหัดใช้งาน หรือใช้งานมานานแล้ว คือล็อกอินเป็นผู้ใช้ธรรมดาที่ไม่ใช่ root ให้เป็นนิสัย เพราะผู้ใช้งานธรรมดา ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว เช่นดูคอนฟิกของเครื่อง แก้ไขไฟล์เท่าที่มีสิทธิ์ และหากทำอะไรผิดพลาดไป ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะกระทบในระดับหนึ่ง เท่าที่ผู้ใช้คนนั้นจะทำได้ ไม่กระทบทั้งเครื่อง

จนกว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรบางอย่างกับลีนุกซ์ที่จำเป็นต้องทำด้วย root ค่อยใช้คำสั่ง su เปลี่ยนผู้ใช้ root (หรือใช้ sudo) และเมื่อหลังจากแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ก็เปลี่ยนกลับมาเป็น user ธรรมดาอีกครั้ง

ในบทนี้จะอธิบายคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งาน โดยต้องใช้ root เป็นคนรันคำสั่ง

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์”

รันโปรเซสเป็น user อื่น

เป็นวิธีง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้ root สามารถรันโปรเซสหรือโปรแกรมบน Linux/UNIX ภายใต้สิทธิหรือ permission ผู้ใช้ user อื่นบนเครื่องเดียวกัน

Continue reading “รันโปรเซสเป็น user อื่น”

คำสั่ง net เพิ่ม,ลบ user บน Windows XP

อาจเนื่องมาจากคุ้นเคยกับการใช้คำสั่ง command line บนลีนุกซ์ หรือ UNIX เพื่อแก้ไขคอนฟิกต่างๆ ของเครื่องเป็นเวลานาน เมื่อต้องมาทำบน Windows เช่นครั้งนี้ได้รับมอบหมายงานให้เพิ่ม local user จำนวนมากบนเครื่อง Windows XP หลายๆ เครื่อง แต่ห้ามคอนฟิกเป็น domain controller จึงหาวิธีการทำโดยใช้การรันคำสั่ง command line บน Windows

จากการค้นหาบน google มีอยู่หลากหลายวิธีที่จะเพิ่ม local user ได้ ทั้งการเขียนโปรแกรม สร้าง WSH (Windows Script Host) หรือล่าสุดที่ทาง Microsoft นำเสนอทางเลือกใหม่คือ Windows PowerShell

แต่ดูแล้วค่อนข้างจะยุ่งยาก บางอย่างเช่น Windows PowerShell ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมใหม่ ซึ่งทางลูกค้าไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น

สุดท้ายมาลงเอยโดยใช้คำสั่ง net ซึ่งมีติดตั้งมาอยู่แล้วกับ Windows XP ทางผู้เขียนเพิ่งทราบเหมือนกันว่า สามารถใช้คำสั่งนี้ เพิ่มลบ user ได้ รวมทั้งสามารถคอนฟิกอื่นๆ ได้อีกด้วย

Continue reading “คำสั่ง net เพิ่ม,ลบ user บน Windows XP”