ติดตั้งและคอนฟิก DRBD

DRBD (Distributed Replicated Block Device) เป็นโปรแกรมเพื่อใช้ในการ replicate ข้อมูลดิสก์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ผ่านทางเน็ตเวิร์ก โดยจะทำในระดับ block ของดิสก์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยูในดิสก์เครื่องหนึ่ง (primary) การเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูก replicate ไปยังอีกเครื่อง (secondary) โดยอัตโนมัติ

DRBD ประกอบด้วยสองส่วนคือ

1. Kernel module – DRBD ทำหน้าที่ใน kernel โดยจะสร้าง virtual block device คั่นกลางระหว่าง physical disk กับ filesystem ที่สร้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ext3, ext4, xfs
2. User space administration tools – เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการ DRBD ได้ง่ายขึ้น หลักๆ จะเป็น drbdadm

ในบทความนี้จะแสดงการติดตั้งโปรแกรม DRBD และคอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้

คำเตือน ติดตั้งและคอนฟิก DRBD บนเครื่องทดสอบให้เข้าใจก่อน เพราะบางคำสั่งอาจกระทบข้อมูลดิสก์หรือ partition ที่มีอยู่ในเครื่องได้ ทำให้ข้อมูลเสียหายได้

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก DRBD”

คอนฟิก iSCSI target บน Linux

บทความนี้กล่าวถึงการติดตั้งโปรแกรม iSCSI target และการคอนฟิกเพื่อให้เครืองอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ initiator สามารถมาเรียกใช้ storage ได้

Continue reading “คอนฟิก iSCSI target บน Linux”

copy ไฟล์ให้เหมือนเดิม

ในบทความนี้ขอแสดงตัวอย่างและเปรียบเทียบผลลัพธ์การใช้คำสั่ง cp ด้วยออปชั่นต่างๆ ว่าข้อมูลของไฟล์ (file perrmission, owner, group, timestamps, attributes) ว่าแตกต่างกันอย่างไร

Continue reading “copy ไฟล์ให้เหมือนเดิม”

คอนฟิก XFS Filesystem

โดยดีฟอลต์การติดตั้ง Fedora ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นเก่าหรือใหม่ Filesystem ที่ถูกเลือกเป็นดีฟอลต์จะเป็นแบบ ext ตั้งแต่ ext2, ext3 และล่าสุดเป็น ext4

ที่จริงตอนติดตั้ง มีให้เลือก Filesystem แบบอื่นอยู่ด้วยเช่น xfs แต่ถ้าตอนติดตั้งไม่ได้เลือก แล้วเราติดตั้ง ลงโปรแกรมต่างๆ คอนฟิก และระบบใช้งานไปแล้ว ไม่อยากเสียเวลาติดตั้งใหม่ทั้งหมด วันหนึ่งมี disk ก้อนใหม่เพิ่มขึ้นมา แล้วอยากจะใช้ Filesystem แบบ xfs บ้าง

บทความนี้จะอธิบายการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม เพื่อให้เครื่องเราสามารถเรียกใช้ Filesystem แบบ xfs ได้

Continue reading “คอนฟิก XFS Filesystem”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3

ในตอนสุรปนี้ จะเพิ่มผลลัพธ์จากการรันคำสั่ง sysbench เพื่อทดสอบ fileio ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์แบบ sequential, random

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2

ในตอนแรก เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1 เราได้ทดลองใช้คำสั่ง mdadm เพื่อคอนฟิกดิสก์เป็นแบบ linear และ stripe ซึ่งให้ผลลัพธ์ความเร็วในการเขียนข้อมูลแตกต่างกัน ในตอนนี้จะลองใช้คำสั่ง LVM บ้าง เพื่อสร้างคอนฟิกแบบ linear และ stripe เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1

เกิดความสงสัยขึ้นมา ขณะคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่มีดิสก์หลายๆ ก้อน เพื่อทำหน้าที่เป็น file server ว่า ระหว่างการใช้ mdadm และ lvm เพื่อรวมดิสก์แต่ละก้อนเข้าด้วยกันทำเป็น RAID-0 อย่างไหนจะเร็วกว่ากัน เลยทดสอบและนำผลลัพธ์แต่ละคอนฟิกมาเปรียบเทียบกัน

และเพื่อความครบถ้วนของการเปรียบเทียบ เลยทดสอบคอนฟิกทั้งเป็นแบบ linear และ stripe (RAID-0) จากการใช้คำสั่งทั้งสองด้วย โดยแยกเป็นสองบทความ ในตอนแรกจะใช้คำสั่ง mdadm ก่อน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1”

คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10

SysBench เป็นโปรแกรมที่ใช้วัดประสิทธิภาพ (benchmark) ของเครื่องได้หลายอย่าง ทั้ง CPU, Memory, Disk และ Database ทั้งนี้ยังสามารถระบุออปชั่นสำหรับการทดสอบได้เช่น จำนวน thread ที่รัน ขนาดที่จะทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ในการรัน

เราสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ปรับแต่งเครื่อง หรือแก้ไขคอนฟิกให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น

เนื่องจากในแผ่นติดั้ง หรือ จาก Fedora 10 Everything ไม่มีโปรแกรม sysbench ในรูปแบบ rpm ทำให้การที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้ ในบทความนี้ขอนำเสนอขั้นตอนและวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench และติดตั้งเอง

Continue reading “คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10”

การซ่อนและการป้องกันการแชร์ไฟล์บน Samba

บทความนี้จะอธิบายการคอนฟิก Samba เพื่อซ่อนไฟล์ (hide) เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานมองเห็นได้โดยดีฟอลต์ และการคอนฟิกเพื่อป้องกัน (veto) ไม่ให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ไฟล์ที่มีชื่อที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายกรณี เช่น ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เก็บไฟล์ที่ไม่ใช่ไฟล์งานเช่น “.mp3” ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ผ่านการแชร์ไฟล์ได้

ตัวอย่างในบทความนี้ทดสอบบน Fedora 10 และติดตั้ง Samba เวอร์ชั่น 3.2.4

Continue reading “การซ่อนและการป้องกันการแชร์ไฟล์บน Samba”

คอนฟิกลีนุกซ์ Disk Quota ตอนที่ 2

หลังจากที่เปิดการใช้งาน disk quota กับ /home แล้ว ในตอนที่ 2 นี้จะอธิบายการกำหนดปริมาณการใช้งานดิสก์ของผู้ใช้งานแต่ละคน (user quota)

Continue reading “คอนฟิกลีนุกซ์ Disk Quota ตอนที่ 2”