คอนฟิกลีนุกซ์ Disk Quota ตอนที่ 1

แม้ว่าทุกวันนี้ขนาดของดิสก์จะมีขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ และมีราคาที่ถูกลง แต่ปริมาณความต้องการของผู้ใช้งานกลับเพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไม่ว่าจะเพิ่มดิสก์เท่าไร ก็ไม่เพียงพอ

โดยดีฟลอต์เซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์ที่ติดตั้ง จะไม่มีการจำกัดพื้นที่ดิสก์ของผู้ใช้งาน แต่ละคนสามารถใช้ได้จนกระทั่งขนาดของดิสก์ไม่เพียงพอ

บทความนี้ขอนำเสนอวิธีการคอนฟิก Disk Quota เพื่อจำกัดปริมาณการใช้งานดิสก์ โดยสามารถทำได้เป็นระดับรายผู้ใช้งาน (user quota) หรือจะแบ่งเป็นกลุ่ม (group quota) ได้

Continue reading “คอนฟิกลีนุกซ์ Disk Quota ตอนที่ 1”

เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10

คุณสมบัติใหม่อย่างหนึ่งของ Fedora 10 ที่เพิ่มจากเวอร์ชั่นก่อน คือการสนับสนุน filesystem เพิ่มเติม ประกอบด้วย ext4 และ xfs

หลังจากที่ได้ทดลองติดตั้ง Fedora 10 เลยเกิดความลังเลว่าจะเปลี่ยน filesystem เป็นแบบใหม่หรือไม่ เลยลองรันคำสั่งง่ายๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการสร้าง การลบไฟล์ เป็นต้น

Continue reading “เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10”

ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server

บทความนี้ไม่มีไรมาก แค่ทดลองสร้างดิสก์ใน VMware Server ด้วยขนาดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับขนาดฮาร์ดดิสก์จริงๆ (physical disk) ที่มีขายทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบค่าต่างๆ เช่น จำนวน cylinder, block, หรือ disk size ที่ใช้ได้จริงหลังการสร้าง filesystem แบบ ext3 บนลินุกซ์

Continue reading “ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server”

การใช้งาน POSIX ACL บทลินุกซ์ ตอนที่ 1

โดยดั้งเดิมการกำหนดสิทธิในการอ่านหรือแก้ไขไฟล์หรือไดเร็คทอรี บน Linux/UNIX นั้น จะถูกกำหนดในรูปแบบของ permission โดยจะแบ่งเป็น สามส่วนใหญ่ๆ คือ user, group และ others แต่การใช้งานโดยทั่วไปแล้ว เช่นผ่าน File Server ถ้าเปรียบเทียบกับการกำหนดสิทธิบน Windows แล้ว บางครั้งเราอาจต้องการกำหนดรายละเอียดย่อยมากกว่านั้น เช่น ให้มากกว่า 1 user หรือ มากกว่า 1 group เข้ามีสิทธิเกี่ยวกับไฟล์เช่น คนนี้อ่านได้อย่างเดียว กลุ่มนี้อ่านได้ แล้วเขียนได้ด้วย ซึ่งรูปแบบ permission จะไม่สามารถทำได้

ถ้าต้องการกำหนดสิทธิโดยละเอียดมากขึ้น บน Linux จะมีคุณสมบัติ POSIX ACL หรือ Extended ACL ให้สามารถเรียกใช้งานได้ โดยคุณสมบัตินี้ติดตั้งมากับ Linux นานพอสมควร  โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเติม

Continue reading “การใช้งาน POSIX ACL บทลินุกซ์ ตอนที่ 1”

ทดสอบแก้ไขดิสก์ที่มีปัญหาใน Software-RAID บนลินุกซ์

หลังจากที่เราคอนฟิก Software RAID จากบทความที่ผ่านมาแล้ว ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการทดสอบในกรณีที่ดิสก์มีปัญหา วิธีการแก้ไข การป้องกันโดยเพิ่มดิสก์เพื่อทำหน้าที่เป็น spare

Continue reading “ทดสอบแก้ไขดิสก์ที่มีปัญหาใน Software-RAID บนลินุกซ์”

การสร้าง Software RAID บนลินุกซ์

ในบทความนี้จะอธิบายการสร้างคอนฟิก Software RAID บนลินุกซ์ เพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลเสียหายอันเนื่องมาจากดิสก์ที่ใช้เก็บ (Physical Disk) มีปัญหา

การสร้าง disk partition สำหรับทำ Software RAID
การทำ Software RAID บนลินุกซ์นั้น จะทำบน disk Parition ดังนั้นเราต้องแบ่ง parition ของดิสก์ให้เรียบร้อยก่อน โดยขนาดของแต่ละ partition ที่จะนำมารวมกันนั้น ควรจะมีขนาดเท่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วควรจะเป็นดิสก์ยี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกันด้วย เพื่อประสิทธิภาพดีที่สุด

Continue reading “การสร้าง Software RAID บนลินุกซ์”

ดูรายละเอียดไฟล์ iso บนลินุกซ์

ในบางครั้งเมื่อเรามีไฟล์อยู่ในรูปแบบ iso ซึ่งเป็นได้มาจากการทำ image ของ CD หรือ DVD ก็ตาม ก่อนที่จะนำมาใช้งานเพื่อ write ใส่แผ่น ถ้าเราต้องการตรวจสอบดูว่าในไฟล์ iso นั้น มีไฟล์อะไรอยู่บ้าง ตามที่เราต้องการหรือไม่

วิธีการดูรายละเอียดไฟล์ที่อยู่ใน iso สามารถทำได้โดยง่าย บนลินุกซ์ดังนี้

ตรวจสอบข้อมูลของไฟล์ในเบื้องต้น
บนลินุกซ์จะมีคำสั่ง file เพื่อใช้ตรวจสอบว่าไฟล์เป็นไฟล์ในรูปแบบไหน

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง file ตรวจสอบไฟล์ iso สำหรับติดตั้ง Fedora 9

[root@images iso]# file Fedora-9-x86_64-DVD.iso
Fedora-9-x86_64-DVD.iso: ISO 9660 CD-ROM filesystem data 'Fedora 9 x86_64 DVD            ' (bootable)

ตรวจสอบรายละเอียดภายในไฟล์ iso
หลังจากดูข้อมูลในเบื้องต้นแล้ว ว่าเป็นไฟล์ในรูปแบบ iso เราสามารถใช้คำสั่ง mount เพื่อดูไฟล์ที่อยู่ใน iso ไฟล์นี้ได้ ดังนี้

[root@images iso]# mount -o loop Fedora-9-x86_64-DVD.iso /media/
[root@images iso]# ls /media/
GPL       media.repo                     repodata          RPM-GPG-KEY-fedora          RPM-GPG-KEY-rawhide
images    Packages                       RPM-GPG-KEY       RPM-GPG-KEY-fedora-rawhide  TRANS.TBL
isolinux  README-BURNING-ISOS-en_US.txt  RPM-GPG-KEY-beta  RPM-GPG-KEY-fedora-test

ในตัวอย่างนี้หลังจากการ mount เข้ากับ /media/ แล้ว เราสามารถดูไฟล์ต่างๆ ได้ ซึ่งจริงๆ ก็สามารถใช้งานไฟล์เหล่านี้ได้โดยตรงเลย แต่เป็นแบบอ่านไฟล์ได้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งก็เหมือนกับเราเรียกใช้งานจากแผ่น CD หรือ DVD นั่นเอง เพียงแต่ไม่จำเป็นต้องนำไปเขียนใส่แผ่น CD หรือ DVD อีกต่อไป

ยกเลิกการ mount
หลังจากใช้งานเรียบร้อย ถ้าเราต้องการยกเลิกการ mount ก็สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง umount

[root@images iso]# umount /media/

สร้าง Linux Partition ที่มีขนาดมากกว่า 2TB

คำเตือน: โปรดระมัดระวังเวลาจัดการเกี่ยวกับ Partition เพราะถ้าอ้างอิงชื่อผิด เช่น จาก /dev/sdb พิมพ์เป็น /dev/sda จะทำให้ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์นั้นเสียหายไปได้

บทความนี้ขอกล่าวถึงการใช้คำสั่ง parted สร้าง Linux Partition ที่มีขนาดมากกว่า 2TB ซึ่งจะไม่สามารถสร้างได้โดยใช้คำสั่ง fdisk เพราะว่าการใช้คำสั่ง fdisk ในการสร้าง partition นั้นจะสามารถสร้างขนาดได้มากสุดได้แค่ 2TB เท่านั้น ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

Continue reading “สร้าง Linux Partition ที่มีขนาดมากกว่า 2TB”

การใช้งาน LVM เพื่อจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 2

หลังจากที่กล่าวถึงเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ LVM ในบทความที่แล้ว คราวนี้เราจะลองคอนฟิกกันดู

Continue reading “การใช้งาน LVM เพื่อจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 2”

การใช้งาน LVM เพื่อจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 1

บทความนี้ขอแนะนำ LVM (Logical Volume Management) มาใช้ในการแก้ปัญหาเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลไม่เพียงพอ ซึ่งลินุกซ์ส่วนใหญ่ตอนนี้จะมี LVM มาให้ด้วยอยู่แล้ว และถ้าตอนติดตั้ง OS เลือกแบบ Create default layout นั้น โปรแกรมติดตั้งก็จะเลือกใช้ LVM บน disk partition แต่ละอันที่แบ่งให้เลย ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน แล้วเราก็สามารถมาปรับ ลด แก้ไข ขนาดในการเก็บข้อมูลของแต่ละส่วนได้

Continue reading “การใช้งาน LVM เพื่อจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ตอนที่ 1”