ทดสอบเว็บไซต์ของคุณด้วย IE ตั้งแต่ IE6 บน WinXP ถึง IE11 บน Win8.1 โดยใช้ Modern.IE

แทนที่ต้องไปหาเครื่อง หาแผ่นซีดีเพื่อลง Windows แล้วต้องหาวิธีติดตั้ง IE เวอรชันต่างๆ สำหรับทดสอบหน้าเว็บไซต์ของเรา ว่าแสดงผลตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ ขอแนะนำให้ลองใช้ Modern.IE ซึ่งทางไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมา ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดาวน์โหลดไฟล์ในรูปแบบ Virtual Machine เพื่อนำไปเปิดในโปรแกรมเช่น VirtualBox, VMware, Parallels, HyperV สร้างเครื่องจำลองในการทดสอบได้ โดยมีตั้งแต่ IE6 บน Windows XP จนถึง IE11 บน Windows 8.1

Continue reading “ทดสอบเว็บไซต์ของคุณด้วย IE ตั้งแต่ IE6 บน WinXP ถึง IE11 บน Win8.1 โดยใช้ Modern.IE”

ใช้ snmp ดึงค่า IP SLA (RTR) จาก Cisco

นอกจากจะใช้คำสั่ง show บนตัวอุปกรณ์ Cisco เองแล้ว เราสามารถเขียนโปรแกรมโดยดึงค่าผลลัพธ์เหล่านี้ผ่านทาง SNMP เพื่อนำทำรายงาน เก็บประวัติ หรือทำเป็นกราฟได้

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการใช้ snmpwalk ดึงค่า rtr จากที่ได้ คอนฟิก IP SLA (RTR) บน Cisco เบื้องต้น โดยจะแสดงวิธีการเฉพาะบางค่าเท่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเบื้องต้น จะได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
Continue reading “ใช้ snmp ดึงค่า IP SLA (RTR) จาก Cisco”

คอนฟิก IP SLA (RTR) บน Cisco เบื้องต้น

วันนี้ขออนุญาตข้ามฟากไปทดสอบคอนฟิก IP SLA (ชื่อเดิม RTR) บนอุปกรณ์ Cisco ซึ่งเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ทำให้ Cisco ทดสอบประสิทธิภาพเครือข่ายด้วยตัวอุปกรณ์เองได้ เช่นให้ทดสอบ ping ทดสอบการเชื่อมต่อด้วยโปรโตคอล เช่น HTTP, DNS, FTP, TCP, UDP ไปยังปลายทางที่ต้องการได้

เมื่อทดสอบเสร็จ ก็จะเก็บผลลัพธ์ในตัวอุปกรณ์เอง เราสามารถใช้คำสั่ง show บนตัวอุปกรณ์ เพื่อดูผลลัพธ์ เช่น ping หรือเชื่อมต่อไปยังปลายทางได้หรือไม่ พร้อมบอกตัวเลขสถิติ เช่น response time

Continue reading “คอนฟิก IP SLA (RTR) บน Cisco เบื้องต้น”

ทดสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย ab (ApacheBench)

ดีฟอลต์คอนฟิกที่ได้จากการติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ rpm หรือ วิธีอื่นๆ นั้น สามารถนำมาใช้งานและทำงานได้ในระดับหนึ่ง

แต่ถ้าโปรแกรมเช่นเว็บเซิร์ฟเวอร์ ถ้าต้องให้บริการต่อผู้ใช้จำนวนมากขึ้น จำเป็นต้องปรับแต่งคอนฟิกเพิ่มเติม เพื่อให้ใช้ฮาร์ดแวร์ของเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพ

ab เป็นโปรแกรมทดสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์อย่างง่ายๆ โปรแกรมหนึ่งที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Apache Web Server ถ้าเป็นไฟล์ rpm ก็อยู่ใน httpd-tools

เราสามารถนำ ab มาใช้ทดสอบเพื่อวัดผลได้ว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่กำลังแก้ไขคอนฟิกอยู่นั้น สามารถรองรับการใช้งานได้เท่าไร (requests per second) หากเราเปลี่ยนคอนฟิกไป ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร

Continue reading “ทดสอบเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย ab (ApacheBench)”

เลือกออปชัน grep ให้เหมาะ ลดเวลาค้นหาได้มาก

ช่วงนี้รับงาน เพื่อเขียนโปรแกรมดึงข้อมูลจาก text file ทำเป็นรายงานสรุป โดยข้อมูลที่ได้มา มีจำนวนบรรทัดมากมายมหาศาล รวมๆ แล้วเป็น หมื่นล้านบรรทัด

ต้องหากระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเขียนโปรแกรม และเมื่อได้วิธีการที่ผู้เขียนคิดว่าดีที่สุดแล้ว เลยนำมาเปรียบเทียบแชร์เล่าสู่กันฟัง

ข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ แยกเป็นบรรทัด เหมือนกับ CSV ไฟล์ งานแรกที่ต้องทำคือ เขียนโปรแกรมเพื่อดึงข้อมูลเฉพาะบรรทัดที่มีคำที่ต้องการเท่านั้น

Continue reading “เลือกออปชัน grep ให้เหมาะ ลดเวลาค้นหาได้มาก”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3

ในตอนสุรปนี้ จะเพิ่มผลลัพธ์จากการรันคำสั่ง sysbench เพื่อทดสอบ fileio ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์แบบ sequential, random

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2

ในตอนแรก เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1 เราได้ทดลองใช้คำสั่ง mdadm เพื่อคอนฟิกดิสก์เป็นแบบ linear และ stripe ซึ่งให้ผลลัพธ์ความเร็วในการเขียนข้อมูลแตกต่างกัน ในตอนนี้จะลองใช้คำสั่ง LVM บ้าง เพื่อสร้างคอนฟิกแบบ linear และ stripe เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1

เกิดความสงสัยขึ้นมา ขณะคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่มีดิสก์หลายๆ ก้อน เพื่อทำหน้าที่เป็น file server ว่า ระหว่างการใช้ mdadm และ lvm เพื่อรวมดิสก์แต่ละก้อนเข้าด้วยกันทำเป็น RAID-0 อย่างไหนจะเร็วกว่ากัน เลยทดสอบและนำผลลัพธ์แต่ละคอนฟิกมาเปรียบเทียบกัน

และเพื่อความครบถ้วนของการเปรียบเทียบ เลยทดสอบคอนฟิกทั้งเป็นแบบ linear และ stripe (RAID-0) จากการใช้คำสั่งทั้งสองด้วย โดยแยกเป็นสองบทความ ในตอนแรกจะใช้คำสั่ง mdadm ก่อน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1”

คอมไพล์ sysbench บน Solaris 10 (x86)

บทความนี้ขอแสดงวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench บน Solaris 10 (x86) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับ Fedora 10

ในที่นี้ขอใช้แค่เวอร์ชั่น 0.4.10 และเลือกไม่คอมไพล์รวม mysql เพื่อความง่ายในการคอมไพล์และทดสอบ เพราะการที่จะคอมไพล์ sysbench เวอร์ชั่นใหม่กว่านี้ จะติดปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นดาวน์โหลดโปรแกรม library มาติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหา libtool ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตามเรายังสามารถนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบแบบคร่าวๆ เพราะวิธีการ benchmark ยังคงเป็นรูปแบบเดียวกัน

ดาวน์โหลดไฟล์

Continue reading “คอมไพล์ sysbench บน Solaris 10 (x86)”

sysbench วัดความแรงของ CPU

หลังจากที่คอมไพล์และติดตั้งโปรแกรม sysbench (คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10) แล้ว ตอนนี้เราจะลองใช้ sysbench เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความเร็วของ CPU (CPU Benchmark)

วิธีการใช้คำสั่ง sysbench ต้องระบุออปชั่น test ว่าเราจะทดสอบอะไร อาจระบุออปชั่นต่างๆ เพิ่มเติม เป็นค่าตัวแปรผันแปรที่ใช้ในการทดสอบ ค่าเหล่านี้จะมีค่าดีฟอลต์อยู่แล้ว ดูได้จากการรันคำสั่ง sysbench แบบไม่มีออปชั่น หรือดูจากผลลัพธ์ในการัน

การทดสอบในบทความนี้ เป็นการทดสอบ (test) CPU ให้คำนวณหาค่าจำนวนเฉพาะ (prime number)  ตั้งแต่ 1 ไปจนถึงตัวเลขมากสุดเท่ากับค่าตัวแปร cpu-max-prime ในที่นี้จะระบุ 20000 แล้วตามด้วยออปชั่น run เพื่อสั่งเริ่มการคำนวณ

โดยในแต่การทดสอบจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวน CPU และจำนวน Threads ที่ใช้ (num-threads) ในการคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้วย

Continue reading “sysbench วัดความแรงของ CPU”