อยากมี Cloud ไว้เก็บไฟล์ส่วนตัว หรือไว้ใช้ภายในองค์กรไหม
ขอแนะนำ ownCloud โปรแกรม (Open Source) ที่เราสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเองได้ฟรี ด้วยคุณสมบัติเหมือนกับการบริการรับฝากไฟล์ทั่วไป
ลองมาดูตัวอย่างการติดตั้งกัน
เพื่อชีวิตที่ผ่อนคลายของคนใช้ลีนุกซ์
อยากมี Cloud ไว้เก็บไฟล์ส่วนตัว หรือไว้ใช้ภายในองค์กรไหม
ขอแนะนำ ownCloud โปรแกรม (Open Source) ที่เราสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเองได้ฟรี ด้วยคุณสมบัติเหมือนกับการบริการรับฝากไฟล์ทั่วไป
ลองมาดูตัวอย่างการติดตั้งกัน
2 ปีมีหน Ubuntu ได้ออกเวอร์ชันล่าสุด 16.04 ซึ่งเป็นเวอร์ชัน LTS (Long-term support) ที่ทาง Ubuntu จะสนับสนุนการอัพเดตปรับปรุงซอฟต์แวร์เป็นระยะเวลานานกว่าเวอร์ชันปกติ (5 ปี) ทำให้เหมาะสมกับการนำไปติดตั้งใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ในการทำงานจริง (Production)
ลองมาดูรีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 เวอร์ชัน Server กัน โดยจะติดตั้ง LAMP server
มาทดลองติดตั้ง PrestaShop อีกสักโปรแกรม ที่มีขั้นตอนการติดตั้งมากกว่าติดตั้ง WordPress อยู่หน่อย แต่ก็ไม่น่ายากเกินไปสำหรับเราแล้ว :)
PrestaShop เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี มีคุณสมบัติการใช้งานทั้งระบบการสร้างร้านค้า การซื้อขาย ระบบการจ่ายเงิน ธีมหน้าการออกแบบเว็บให้สามารถเลือกใช้ และอื่นๆ อีกมากมาย
PrestaShop ถูกพัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูลหลักในการเก็บข้อมูล ดังนั้นเราจะลองติดตั้งบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวกันกับที่เราเพิ่งลองติดตั้ง WordPress ไป
Continue reading “สร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ด้วย PrestaShop บน CentOS 7”
หลังจากที่เราติดตั้งลีนุกซ์ CentOS 7 ลงเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ที่มีโมดูล PHP แล้วก็ติดตั้งคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล MariaDB เสร็จเรียบร้อยแล้ว
ลองมาทดสอบการใช้งานกัน ด้วยการลง WordPress โปรแกรม CMS ยอดนิยม
เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้จาก ติดตั้งและคอนฟิกเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache บน CentOS 7 เบื้องต้น จะรองรับไฟล์เว็บ .html ธรรมดาเท่านั้น ไม่สามารถเขียนเว็บโปรแกรมเพื่อประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ก่อนแสดงผลได้ (Server-side scripting)
หากต้องการเขียนโปรแกรมเช่น php ต้องติดตั้งโมดูล (Apache Module) เพื่อโหลดในเว็บเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติม
หลังจากที่ติดตั้งลีนุกซ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากจะเริ่มต้นหัดใช้งาน ผมขอแนะนำให้เริ่มจากลองติดตั้งและคอนฟิกเว็บเซิร์ฟเวอร์ดู ซึ่งติดตั้งง่ายมาก และคอนฟิกดีฟอลต์ที่ให้มาก็แทบจะใช้งานได้เลย แถมยังทดสอบง่าย เห็นผลลัพธ์ชัดเจนที่สุด เพียงแค่ใช้ browser
ในที่นี้ลองมาดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิก Apache HTTP Server ซึ่งเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ดีฟอลต์ของ CentOS หรือลีนุกซ์ตระกูล RedHat
Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิกเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache บน CentOS 7 เบื้องต้น”
สำหรับผู้ใช้ Mac ที่เป็นเว็บโปรแกรมเมอร์ สามารถใช้เครื่อง Mac ของคุณ รันเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาและทดสอบเว็บโปรแกรมเช่น php ได้เลย
Mac OS X ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.0 เป็นต้นมา จะมี Apache Web Server ติดตั้งมาด้วย เพียงแต่อาจไม่ได้รันหรือเปิดการใช้งานไว้
ลองมาดูการเปิดใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาบนเครื่อง Mac รวมทั้งคอนฟิกให้สามารถเขียนโปรแกรมภาษา php ได้ด้วย
หมายเหตุ ในที่นี้ทดสอบบน MacBook Pro ที่ติดตั้ง OS X Yosemite (Version 10.10.1)
Continue reading “เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X”
แม้ SELinux ช่วยให้ลีนุกซ์มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็สร้างความปวดหัวให้กับผู้ดูแลระบบพอสมควรในการแก้ไขปัญหา ทำให้หลายคนปิดคุณสมบัตินี้ไป
ปัญหาหนึ่งที่จะพบบ่อยคือ Security Context หรือ Label ของไฟล์ผิดไป ทำให้บางโปรเซสอ่านไฟล์ไม่ได้ เพราะว่า SELinux จะมีการกำหนด (policy) ว่าแต่ละโปรเซสจะสามารถอ่านไฟล์อะไรได้บ้าง
Continue reading “แก้ปัญหา SELinux Context ผิด ด้วย restorecon”
หากต้องการปกป้องเว็บไซต์ ให้เข้าได้เฉพาะคนที่มีสิทธิ์เท่านั้น คือต้องใส่ Username, Password ให้ถูกต้องก่อน ถึงจะเข้าหน้าเว็บไซต์ได้
วิธีหนึ่งที่คอนฟิกง่ายที่สุดคือ ใช้ HTTP Authentication ซึ่งเป็นคุณสมบัติของตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง เช่น Apache เพียงแค่แก้ไขคอนฟิกของเว็บเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ลองมาดูวิธีคอนฟิกทำ HTTP Basic Authentication ซึ่งเป็นการทำ HTTP Authentication แบบง่ายสุดของ Apache ที่ติดตั้งบน CentOS 6 กัน
Continue reading “คอนฟิก Apache HTTP Authentication ให้ใส่ Username, Password ก่อนเข้าเว็บ”
หากคุณเคยใช้ TinyURL ที่ย่อ url ยาวๆ ให้สั้นลง แล้วอยากทำใช้เองบ้าง บทความนี้จะแนะนำวิธีติดตั้งง่ายๆ ด้วย yourls
YOURLS หรือ Your Own URL Shortener เป็นโปรแกรมพัฒนาด้วย PHP โดยใช้ฐานข้อมูล MySQL ในการเก็บข้อมูลการเชื่อมโยง (map) ระหว่าง url แบบสั้นๆ กับ url ที่ดั้งเดิม แล้วยังเก็บข้อมูลการเรียกใช้ url แบบย่อ สามารถนำไปทำเป็นสถิติ แสดงผลเป็นกราฟได้ด้วย