วิธีการใช้ tape backup บนลีนุกซ์

การอ่านหรือเขียนข้อมูลของเทป (tape) จะแตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ (hard disk) คือ เทปต้องอ่านหรือเขียนแบบต่อเนื่อง (sequential access) ไม่สามารถอ่านได้แบบระบุตำแหน่ง (random access) เหมือนฮาร์ดดิสก์ได้ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ต้องการจะทำได้ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ แม้จะมีโปรแกรมช่วยให้ระบุตำแหน่งข้อมูลบนเทปได้บ้าง แต่กว่าจะอ่านข้อมูลได้ ก็ต้องรอม้วนเทปหมุนไป ณ ตำแหน่งนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฮาร์ดดิส ที่มีหัวอ่านและจานเก็บข้อมูล ที่ชี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เลย

คำสั่งที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนก็แตกต่างกัน เช่นต้องการ copy ไฟล์ลงบนฮาร์ดดิสก์ เราใช้คำสั่ง cp  แต่ถ้าต้องการอ่านหรือเขียนข้อมูลจากเทปเราต้องใช้คำสั่งที่อ่านแบบต่อเนื่องเช่นคำสั่ง tar หรือ  cpio บนลีนุกซ์หรือยูนิกซ์

เราลองมาดูขั้นตอนการใช้เทปบนลีนุกซ์กัน โดยจะใช้คำสั่ง tar เพื่อเขียนและอ่านข้อมูลในเทป ทดสอบบน CentOS 6

Continue reading “วิธีการใช้ tape backup บนลีนุกซ์”

เก็บสำรองคอนฟิกของลีนุกซ์

เพื่อป้องกันกรณีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเกิดจากเหตุอะไร แนะนำให้เก็บสำรองคอนฟิกไว้

ไฟล์คอนฟิกของลีนุกซ์เกือบทั้งหมด จะอยู่ในไดเร็คทอรี /etc ส่วนใหญ่จะเป็น text file มีขนาดเล็กๆ ดังนั้นแนะนำให้เก็บทุกไฟล์ที่อยู่ในนี้

วิธีการเก็บสำรองไฟล์แบบง่ายที่สุดน่าจะเป็นการใช้คำสั่ง tar

ตัวอย่างการเก็บไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน /etc

[root@server ~]# cd /
[root@server /]# tar zcvpf server-backup-etc-20111031.tar.gz etc/
etc/
etc/sysctl.conf
etc/inittab
etc/idmapd.conf
etc/pki/
etc/pki/nssdb/
...

คำแนะนำ

  •  tar บนลีนุกซ์ สามารถระบุออปชั่น z เพื่อบีบขนาดของไฟล์ได้เลย
  • การระบุไดเร็คทอรีเวลาใช้คำสั่ง tar ให้เอาเครื่องหมาย / ที่อยู่หน้าไดเร็คทอรีออก มิฉะนั้นเวลาไปแตกไฟล์ (untar) ออก อาจพลาดไปเขียนไฟล์ทับ /etc ของเครื่องปลายทางได้

ตัวอย่างไฟล์ tar ที่ได้

[root@server /]# ls -l server-backup-etc-20111031.tar.gz
-rw-r--r-- 1 root root 5332341 Oct 31 20:52 server-backup-etc-20111031.tar.gz

ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเก็บไฟล์ tar นี้ไว้ที่ไหน เช่นเก็บใส่ USB Drive หรือ ส่งไฟล์ (transfer file) ไปเครื่องที่อยู่ที่อื่น

ส่วนไฟล์คอนฟิกอื่นๆ ต้องขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ติดตั้ง บางโปรแกรมอาจติดตั้งอยู่ใน /opt หรือ /usr/local ต้องลองหาดู

อีกอย่างที่ควรระวัง คือเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือทดลองรันโปรแกรมแล้วใช้งานเลย โดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขไฟล์คอนฟิก ที่อยู่ใน /etc ให้เรียบร้อย ทำให้เวลามีการ reboot เครื่องใหม่ เซอร์วิสบางอย่างอาจไม่ได้รันขึ้นมาเหมือนเดิม

โดยส่วนตัวแล้ว นอกจากเก็บไฟล์ที่อยู่ใน /etc แล้ว จะรันคำสั่งดังต่อไปนี้เพื่อเก็บสถานะของเครื่อง ณ ขนะนั้นจริงๆ ว่ารันอะไรอยู่บ้าง เพื่อจะได้ใช้เปรียบเทียบหลังจากที่ reboot เครื่องใหม่

  • uname -a
  • hostname
  • ps -ef
  • free
  • netstat -an
  • netstat -rn
  • ifconfig -a
  • mii-tool
  • iptables -L -v -n
  • sestatus
  • lsmod
  • dmesg
  • mount
  • df -k
  • pvdisplay
  • vgdisplay
  • lvdisplay
  • cat /proc/mdstat

ลองนำไปใช้กันดูครับ หวังว่าเซิร์ฟเวอร์ของทุกท่านจะปลอดภัย

ติดตั้ง Tivoli Storage Manager V6.2 Server บน CentOS 5.6 (x86_64)

บทความนี้ แสดงตัวอย่างการติดตั้ง Tivoli Storage Manager V6.2 Server บน CentOS 5.6 (x86_64) แบบ command line

เพื่อความสะดวก ขอเขียนย่อ Tivoli Storage Manager เป็น TSM

Continue reading “ติดตั้ง Tivoli Storage Manager V6.2 Server บน CentOS 5.6 (x86_64)”