สร้าง Storage Server ง่ายๆ ด้วย FreeNAS

เดี๋ยวนี้เดินตามร้านคอมพิวเตอร์เริ่มมีอุปกรณ์ประเภท NAS (Network Attached Storage Server) ขายเป็น box สำเร็จรูป เพื่อผู้ใช้นำไปสำรองข้อมูล แชร์ไฟล์ได้หลายเครื่อง แถมบางยี่ห้อสามารถรันโปรแกรม BitTorrent เพื่อโหลดไฟล์ได้

แทนที่จะซื้อ box ใหม่ ลองหาเครื่องเก่าๆ ที่ยังพอใช้งานได้อยู่ หากขนาดพื้นที่ดิสก์เก่าไม่พอ ก็ซื้อเฉพาะฮาร์ดดิสก์เท่านั้น แล้วติดตั้งโปรแกรม FreeNAS ภายในไม่ถึง10 นาที  (ไม่รวมเวลาดาวน์โหลดไฟล์ iso ขนาด 130 กว่า MB นะ) คุณก็จะได้ Storage Server ไว้ใช้ อย่างง่ายดาย คุณสมบัติ (features) เพียบ…

คำเตือน

  • FreeNAS จะล้าง (Format) ข้อมูลทั้งหมดในดิสก์ของเครื่อง
  • การทดลองรันแบบ LiveCD ค่าคอนฟิกที่สร้างทั้งหมดจะหายไป เมื่อมีการรีบู๊ตหรือปิดเครื่อง

Continue reading “สร้าง Storage Server ง่ายๆ ด้วย FreeNAS”

เพิ่มดิสก์ใหม่บน Solaris 10

เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ OS อื่นๆ เมื่อมีการเพิ่มดิสก์ก้อนใหม่เข้าไปในเครื่องที่ติดตั้ง Solaris 10 ต้องมีกระบวนการ หรือต้องรันคำสั่งก่อนที่จะเริ่มใช้ดิสก์ก้อนใหม่ได้

Continue reading “เพิ่มดิสก์ใหม่บน Solaris 10”

การใช้งาน DRBD เบื้องต้น

จากบทความ ติดตั้งและคอนฟิก DRBD  เราได้คอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้

ดังนั้นขณะที่เครื่องที่ 1 (centos54-a) ทำหน้าที่เป็น primary ของดิสก์ drbd0 อยู่  เครื่องที่ 2 (centos54-b) จะไม่สามารถ mount ดิสก์ drbd0 นี้ขึ้นมาใช้งานได้

ในบทความนี้จะแสดงการทดสอบใช้คำสั่งเพื่อเปลี่ยนโหมด Primary, Secondary ระหว่างเครื่องทั้งสอง

ตรวจสอบสถานะบนเครื่อง centos54-a

[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Primary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C  /export  ext3
[root@centos54-a ~]# df -h /export
Filesystem            Size  Used Avail Use% Mounted on
/dev/drbd0            950M   18M  885M   2% /export

ทดสอบ mount ดิสก์บนเครื่อง centos54-b

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Primary  UpToDate/UpToDate  C
[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export
mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only
mount: Wrong medium type

ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนให้เครื่องที่ 2 (centos54-b) ทำหน้าที่เป็น primary  เช่นในกรณีที่ต้องการซ่อมบำรุงเครื่องที่ 1 สามารถทำได้ดังนี้

บนเครื่องที่ 1 ปิดเซอร์วิส DRBD

[root@centos54-a ~]# service drbd stop
Stopping all DRBD resources:
.
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd not loaded

ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2 หลังจากปิดเซอร์วิสบนเครื่องที่ 1

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Secondary/Unknown  UpToDate/DUnknown  C

แม้เครื่อง Primary ปิดไปแล้ว บนเครื่องที่ 2 ที่ยังอยู่ในโหมด Secondary ก็ยัง mount ดิสก์ ไม่ได้

[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export
mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only
mount: Wrong medium type

ต้องเปลี่ยนสถานะบนเครื่องที่ 2 ให้เป็น primary ด้วยคำสั่ง drbdadm primary

[root@centos54-b ~]# drbdadm primary all

ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs            ro               ds                 p  mounted  fstype
0:r0   WFConnection  Primary/Unknown  UpToDate/DUnknown  C

เมื่ออยู่ในโหมด primary แล้ว ก็สามารถ mount ดิสก์ขึ้นมาใช้งานได้

[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export
[root@centos54-b ~]# df -h /export
Filesystem            Size  Used Avail Use% Mounted on
/dev/drbd0            950M   18M  885M   2% /export

ทดลองสร้างไฟล์ในดิสก์ drbd0

[root@centos54-b ~]# cd /export/
[root@centos54-b export]# ls
lost+found
[root@centos54-b export]# echo "hello world from node 2" > test-file-on-node-2.txt
[root@centos54-b export]# ls -l
total 20
drwx------ 2 root root 16384 Feb  6 15:46 lost+found
-rw-r--r-- 1 root root    24 Feb  6 17:17 test-file-on-node-2.txt

รันเซอร์วิส DRBD บนเครื่องที่ 1 ขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้เครื่องที่ 1 จะทำหน้าที่เป็น Secondary และจะทำการ replicate ข้อมูลมาจากเครื่องที่ 2 (Primary) โดยอัตโนมัติ

[root@centos54-a ~]# service drbd start
Starting DRBD resources: [ d(r0) s(r0) n(r0) ].
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Primary  UpToDate/UpToDate  C

บนเครื่องที่ 2 เปลี่ยนให้เป็นโหมด Secondary

[root@centos54-b ~]# drbdadm secondary all
0: State change failed: (-12) Device is held open by someone
Command 'drbdsetup 0 secondary' terminated with exit code 11

หากมีการเรียกใช้ดิสก์ drbd อยู่ จะไม่สามารถเปลี่ยนโหมดจาก Primary ไปเป็น Secondary ได้ ต้อง umount ดิสก์ออกไปก่อนถึงจะเปลี่ยนโหมดได้

[root@centos54-b ~]# umount /export
[root@centos54-b ~]# drbdadm secondary all

ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2

[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                   ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Secondary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C

เปลี่ยนโหมดบนเครื่องที่ 1 ให้เป็น Primary เพื่อเรียกใช้ดิสก์ได้

[root@centos54-a ~]# drbdadm primary all
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res  cs         ro                 ds                 p  mounted  fstype
0:r0   Connected  Primary/Secondary  UpToDate/UpToDate  C

mount ดิสก์ และตรวจสอบไฟล์ที่อยู่ใน drbd0 จะเห็นไฟล์ที่สร้างจากเครื่องที่ 2

[root@centos54-a ~]# mount /dev/drbd0 /export
[root@centos54-a ~]# cd /export/
[root@centos54-a export]# ls -l
total 20
drwx------ 2 root root 16384 Feb  6 15:46 lost+found
-rw-r--r-- 1 root root    24 Feb  6 17:17 test-file-on-node-2.txt
[root@centos54-a export]# cat test-file-on-node-2.txt
hello world from node 2

ตรวจสอบไฟล์ /var/log/messages

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ DBRD นอกจากการใช้คำสั่ง service เพื่อตรวจสอบสถานะแล้ว ไฟล์ /var/log/messages จะแสดงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของ DRBD ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ช่วยในการแก้ปัญหาได้

ตัวอย่างข้อความในไฟล์ /var/log/messages ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนโหมด

[root@centos54-a ~]# tail /var/log/messages
...
Feb  6 17:19:38 centos54-a kernel: block drbd0: peer( Primary -> Secondary )
Feb  6 17:21:04 centos54-a kernel: block drbd0: role( Secondary -> Primary )
...

ข้อมูลอ้างอิง

ติดตั้งและคอนฟิก DRBD

DRBD (Distributed Replicated Block Device) เป็นโปรแกรมเพื่อใช้ในการ replicate ข้อมูลดิสก์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ผ่านทางเน็ตเวิร์ก โดยจะทำในระดับ block ของดิสก์

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยูในดิสก์เครื่องหนึ่ง (primary) การเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูก replicate ไปยังอีกเครื่อง (secondary) โดยอัตโนมัติ

DRBD ประกอบด้วยสองส่วนคือ

1. Kernel module – DRBD ทำหน้าที่ใน kernel โดยจะสร้าง virtual block device คั่นกลางระหว่าง physical disk กับ filesystem ที่สร้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ext3, ext4, xfs
2. User space administration tools – เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการ DRBD ได้ง่ายขึ้น หลักๆ จะเป็น drbdadm

ในบทความนี้จะแสดงการติดตั้งโปรแกรม DRBD และคอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้

คำเตือน ติดตั้งและคอนฟิก DRBD บนเครื่องทดสอบให้เข้าใจก่อน เพราะบางคำสั่งอาจกระทบข้อมูลดิสก์หรือ partition ที่มีอยู่ในเครื่องได้ ทำให้ข้อมูลเสียหายได้

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก DRBD”

คอนฟิก iSCSI target บน Linux

บทความนี้กล่าวถึงการติดตั้งโปรแกรม iSCSI target และการคอนฟิกเพื่อให้เครืองอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ initiator สามารถมาเรียกใช้ storage ได้

Continue reading “คอนฟิก iSCSI target บน Linux”

คอนฟิก iSCSI initiator บน Linux

iSCSI (Internet Small Computer System Interface) เป็นวิธีการเชื่อมต่อ storage โดยผ่าน Internet Protocol (IP) ทำให้สามารถเชื่อมต่อ เครื่องกับ storage ผ่านทาง network ต่างๆ ระยะทางไกลได้ (เป็นข้อดีที่เหนือกว่าการใช้ Fiber Channel ที่ถูกจำกัดระยะทางด้วยสาย Fiber)

iSCSI ทำงานในรูปแบบ Server-Client โดย ฝั่ง Client หรือเรียกว่า Initiator ทำหน้าที่ส่ง SCSI command ไปยัง storage ของ Server ปลายทาง ที่เรียกว่า Target

บทความนี้กล่าวถึงวิธีการติดตั้งโปรแกรมและคอนฟิก iSCSI ฝั่ง Client เพื่อให้สามารถเรียกใช้ดิสก์ (target) จาก server ได้ โดยฝั่ง server อาจเป็น Storage Array หรือ Server ที่ถูกคอนฟิกเพื่อทำหน้าที่เป็น target ได้

Continue reading “คอนฟิก iSCSI initiator บน Linux”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3

ในตอนสุรปนี้ จะเพิ่มผลลัพธ์จากการรันคำสั่ง sysbench เพื่อทดสอบ fileio ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์แบบ sequential, random

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2

ในตอนแรก เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1 เราได้ทดลองใช้คำสั่ง mdadm เพื่อคอนฟิกดิสก์เป็นแบบ linear และ stripe ซึ่งให้ผลลัพธ์ความเร็วในการเขียนข้อมูลแตกต่างกัน ในตอนนี้จะลองใช้คำสั่ง LVM บ้าง เพื่อสร้างคอนฟิกแบบ linear และ stripe เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1

เกิดความสงสัยขึ้นมา ขณะคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่มีดิสก์หลายๆ ก้อน เพื่อทำหน้าที่เป็น file server ว่า ระหว่างการใช้ mdadm และ lvm เพื่อรวมดิสก์แต่ละก้อนเข้าด้วยกันทำเป็น RAID-0 อย่างไหนจะเร็วกว่ากัน เลยทดสอบและนำผลลัพธ์แต่ละคอนฟิกมาเปรียบเทียบกัน

และเพื่อความครบถ้วนของการเปรียบเทียบ เลยทดสอบคอนฟิกทั้งเป็นแบบ linear และ stripe (RAID-0) จากการใช้คำสั่งทั้งสองด้วย โดยแยกเป็นสองบทความ ในตอนแรกจะใช้คำสั่ง mdadm ก่อน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1”

เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10

คุณสมบัติใหม่อย่างหนึ่งของ Fedora 10 ที่เพิ่มจากเวอร์ชั่นก่อน คือการสนับสนุน filesystem เพิ่มเติม ประกอบด้วย ext4 และ xfs

หลังจากที่ได้ทดลองติดตั้ง Fedora 10 เลยเกิดความลังเลว่าจะเปลี่ยน filesystem เป็นแบบใหม่หรือไม่ เลยลองรันคำสั่งง่ายๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการสร้าง การลบไฟล์ เป็นต้น

Continue reading “เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10”