โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 1 แนะนำโปรแกรม

งานอย่างหนึ่งของผู้ดูแลระบบ ในการดูแลเครื่องไม่ว่าจะเพิ่งซื้อเครื่องใหม่เข้ามาในองค์กร หรือเมื่อใช้งานเครื่องไปนานๆ แล้วพบปัญหาผู้ใช้งานบ่นว่าช้า หรือมีโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่ออกมา คือการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (OS) ใหม่

หากมีแค่ไม่กี่เครื่อง ผู้ดูแลระบบก็สามารถติดตั้งทีละเครื่อง ค่อยๆ จัดการไปได้ไม่ลำบากนัก แต่ถ้ามีเครื่องเป็นจำนวนหลักสิบหลักร้อย การที่จะทำทีละเครื่องคงเป็นงานที่ไม่สนุกนัก ใช้เวลานานมาก เพราะไม่ใช่แค่ลง OS เท่านั้น ยังต้องปรับปรุง update patch ติดตั้งโปรแกรมต่างๆ เพิ่มเติมอีก

สมมติว่าเครื่องทั้งหมดเป็นเครื่องยี่ห้อ รุ่นเดียวกัน เสียบการ์ด hardware ต่างๆ ในเครื่องเหมือนกัน ขนาดฮาร์ดดิสก์เท่ากัน วิธีการหนึ่งที่ช่วยให้งานง่ายขึ้นคือลง OS และโปรแกรมต่างๆ ให้เสร็จบนเครื่องเดียวก่อน แล้วสร้างเป็น images ไว้ แล้วค่อยเอา images ที่ได้ไป restore หรือโคลนลงบนเครื่องอื่นๆ โปรแกรมประเภทนี้มีหลากหลายโปแกรมทั้งแบบ ฟรีแวร์และจ่ายเงินซื้อ เทคนิค ข้อจำกัดของแต่ละโปรแกรมก็แตกต่างกันไป

ในที่นี้จะขอแนะนำ Clonezilla สำหรับโคลนนิ่งดิสก์ ซึ่งสามารถนำไปโคลนนิ่งเครื่องได้ทั้ง Windows, Linux หลักการทำงานจะเหมือนกับโปรแกรมโคลนนิ่งทั่วไป คือสร้าง images จากเครื่องต้นแบบที่ลงสร็จเรียบร้อยแล้ว แล้วนำ images ที่ได้ ไป restore หรือโคลนลงบนเครื่องอื่นๆ

Continue reading “โคลนนิ่ง Linux, Windows ด้วย Clonezilla – ตอนที่ 1 แนะนำโปรแกรม”

คอนฟิก PPTP Server บนลีนุกซ์ รองรับ iPhone, Android

เพื่อให้สามารถใช้งานเซิร์ฟเวอร์ในบริษัทจากที่ไหนก็ได้ ผ่านทางมือถือไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iPhone แทนที่จะเปิดพอร์ตแล้วให้เครื่อง client เชื่อมต่อโดยตรงจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งค่อนข้างอันตรายต่อความปลอดภัยของระบบ

วิธีการหนึ่งที่ทำได้คือใช้การเชื่อมต่อ VPN แบบ PPTP ซึ่งติดตั้งมาอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น iPhone, Android หรือแม้กระทั่ง Windows เวอร์ชั่นต่างๆ เชื่อมต่อเข้า PPTP Server จะทำให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เพราะจะมีการตรวจสอบ user, password ก่อนที่จะเชื่อมต่อได้

ในที่นี้จะแนะนำวิธีการติดตั้งและคอนฟิก PPTP Server บนลีนุกซ์ โดยทดสอบบน CentOS 6

Continue reading “คอนฟิก PPTP Server บนลีนุกซ์ รองรับ iPhone, Android”

ดูข้อมูล BIOS ด้วยคำสั่ง dmidecode บนลีนุกซ์

จากที่เคยเขียนเรื่อง คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

วันนี้ขอเพิ่มเติมการใช้คำสั่ง dmidecode เพื่อดูข้อมูล BIOS บนลีนุกซ์  โดยไม่จำเป็นต้องรีบู๊ตเครื่องแล้วกดปุ่มเพื่อเข้าเมนู BIOS

ซึ่งถึงแม้จะดูค่อนข้างยาก แต่ข้อมูลที่แสดงจากคำสั่งนี้จะค่อนข้างละเอียด มีทั้งข้อมูล BIOS, CPU, Memory, PCI Slot ทั้งชื่อรุ่น เวอร์ชั่นที่ติดตั้งอยู่

Continue reading “ดูข้อมูล BIOS ด้วยคำสั่ง dmidecode บนลีนุกซ์”

ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5

หลังจากสับสนเกี่ยวกับชื่อ Storage Manager ของ IBM ที่มีอยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ ในที่สุดก็ค้นพบโปรแกรม Storage Manager ที่ต้องการ เพื่อใช้สำหรับจัดการฮาร์ดดิสก์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดแบ่ง Logical Drive, Disk Array, RAID, Zone ที่ติดตั้งใน SAN ของ IBM รุ่น DS4000 ครอบคลุม DS4200, DS4700, DS4800

คำเตือน ศึกษาทำความเข้าใจด้วยการอ่านคู่มือการใช้โปรแกรม หลักการคอนฟิกดิสก์ใน SAN ก่อนที่จะใช้งานโปรแกรม Storage Manager เพราะโปรแกรมนี้สามารถเปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลคอนฟิกดิสก์ได้ทั้งหมด ยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกู้คืนข้อมูลกลับมาหากคอนฟิกผิดพลาดไปและไม่มีการสำรองข้อมูลไว้

Continue reading “ติดตั้ง IBM DS4000 Storage Manager บน CentOS 5”

ยกเลิกการดับหน้าจอคอนโซลของลีนุกซ์

โดยดีฟอลต์ของลีนุกซ์ หน้าจอคอนโซลที่ต่อกับเครื่องลีนุกซ์จะถูกดับหน้าจอโดยอัตโนมัติ หากไม่มีการใช้งานภายในเวลา 10 นาที

ต้องกดคีย์บอร์ดเพื่อให้หน้าจอกลับมาติดใช้งานได้อีกครั้ง

จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ หากต้องการยกเลิกการดับหน้าจอ ให้หน้าจอเปิดตลอดเวลา สามารถทำได้ดังนี้

Continue reading “ยกเลิกการดับหน้าจอคอนโซลของลีนุกซ์”

แก้ไข SELinux บน vsftpd FTP Server ให้ user สามารถ FTP เข้าได้

ช่วงหลัง หันมาศึกษาและใช้ SELinux อย่างจริงจัง พยายามจะไม่ปิดการใช้ SELinux แต่จะแก้ไขคอนฟิก อนุญาตเป็นรายโปรแกรมไป

บทความนี้ขอแปะวิธีแก้ไข SELinux บนเครื่องที่รัน vsftpd FTP Server เพื่อให้ผู้ใช้สามารถล็อกอิน ftp เข้ามา home ของผู้ใช้เองได้

Continue reading “แก้ไข SELinux บน vsftpd FTP Server ให้ user สามารถ FTP เข้าได้”

ตั้งเวลาเครื่องให้ตรงมาตรฐานด้วย NTP

จากบทความ เปลี่ยนวันเวลาบนลีนุกซ์ด้วยคำสั่ง date นั้น เวลาที่ตั้งอาจคลาดเคลื่อนกับเวลามาตรฐานไปพอสมควร อาจผิดเป็นหน่วยนาที หรือวินาที ซึ่งบางระบบอาจไม่สามารถยอมรับความคลาดเคลื่อนขนาดนี้ได้

วิธีที่ดีที่สุดที่จะตั้งเวลาให้ตรงกับมาตรฐานจริงๆ คือต้องใช้ NTP
Continue reading “ตั้งเวลาเครื่องให้ตรงมาตรฐานด้วย NTP”

รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – ทดลองใช้

หลังจากติดตั้งตามบทความ  รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง เรียบร้อยแล้ว

ในบทนี้จะทดลองบู๊ตเครื่องหลังการติดตั้ง ทดสอบการล็อกอิน ดูข้อมูลเบื้องต้น เช่น kernel ข้อมูลโปรแกรมที่ดิดตั้ง ความแตกต่างคอนฟิกจากลีนุกซ์ตระกูล RedHat, CentOS

Continue reading “รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – ทดลองใช้”

รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง

ทุกๆ สองปี หรือปี คศ. ที่เป็นเลขคู่ ในเดือนเมษายน Ubuntu จะออกเวอร์ชั่นใหม่ ที่เป็น Long-Term Support หรือ LTS ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ Canonical จะสนับสนุน (support) เรื่องการปรับปรุงโปรแกรมเช่น security fixes, critical bugs, minor update เป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ คือ 3 ปี สำหรับเวอร์ชั่น desktop และ 5 ปี สำหรับเวอร์ชั่น server ในขณะที่เวอร์ชันอื่นจะ support แค่ 18 เดือนเท่านั้น

ล่าสุดปีนี้ ที่เพิ่งออกมาวันที่ 26 เมษายน เวอร์ชั่น 12.04 LTS (Precise Pangolin) ได้ออกมาให้ดาวน์โหลดใช้กันแล้ว พิเศษจะขยายเวลา support ในเวอร์ชั่น desktop ให้เป็น 5 ปี เท่ากับเวอร์ชั่น server

ขอนำเวอร์ชั่นที่เป็น server มารีวิวเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการ upgrade จาก Ubuntu เวอร์ชั่นเก่า หรือถ้าใช้ลีนุกซ์อื่นอยู่ เผื่อเปลี่ยนใจหันมาลองใช้บ้าง

ในตอนแรกจะเป็นการติดตั้ง

Continue reading “รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง”

คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

หลังการติดตั้งลีนุกซ์เสร็จทุกครั้่ง ก่อนจะคอนฟิกแล้วนำไปใช้งาน แนะนำให้ใช้คำสั่งลีนุกซ์ ดูฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเราลงถูกต้อง ครบถ้วนไหม

ในที่นี้จะแนะนำคำสั่งเพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์หลัก 3 ส่วนคือ CPU, Memory และ Disk

Continue reading “คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง”