ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มาดูวิธีที่ System Administrator ดูค่าสภาพอากาศกัน ด้วยการใช้คำสั่งผ่านหน้าจอ Terminal
Category: Terminal
ติดตั้งแพ็กเกจบน Mac OS X ได้มากขึ้นด้วย Homebrew
OS X ก็จัดว่าเป็นยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง ทำให้โปรแกรมที่รันบนลีนุกซ์ได้ ก็น่าจะนำมารันบนเครื่อง Mac ได้ เพียงแต่ความยุ่งยาก ก็คือต้องดาวน์โหลดแพ็กเกจที่มีคนสร้างไว้สำหรับรันบน Mac ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ .pkg
เพื่อความง่ายต่อการจัดการโปรแกรมหรือแพ็กเกจเพิ่มเติมบน Mac แนะนำให้ลองใช้ Homebrew หรือ brew เพื่อใช้ในการจัดการแพ็กเกจ (Package Manager) ซึ่ง brew สามารถค้นหา (search) ติดตั้งโปรแกรมที่ต้องการ (install) ติดตั้งโปรแกรมที่ต้องจำเป็นใช้ (dependencies) ปรับปรุงเวอร์ชัน (upgrade) ถอนการติดตั้ง (uninstall) ได้
ลองมาดูวิธีการติดตั้งและใช้งาน homebrew หรือ brew บน OS X กัน
ถ้าเปรียบเทียบ brew บน Mac ก็ทำหน้าที่คล้ายกับ yum บน CentOS/RedHat หรือ apt-get บน Ubuntu
Continue reading “ติดตั้งแพ็กเกจบน Mac OS X ได้มากขึ้นด้วย Homebrew”
แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์ง่ายๆ ด้วย nano
สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการหัดใช้ลีนุกซ์คือคุณต้องใช้ editor ในโหมดเท็กซ์หรือคอนโซล ให้เป็นอย่างน้อยหนึ่งตัว เพื่อใช้แก้ไขข้อความในไฟล์ต่างๆ
editor ตัวที่แนะนำมากที่สุดก็คือ vi ซึ่งแทบจะติดตั้งเป็นดีฟอลต์ของทุกลีนุกซ์หรือยูนิกซ์ (UNIX) ทุกตระกูล
แต่ถ้าไม่ถนัดจริงๆ ก็ยังมีอีกหนึ่งโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมาก ก็คือ nano ลองมาดูวิธีการใช้กัน
CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui
ใน CentOS 7 หากต้องการแก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์ก สามารถทำได้ด้วยคำสั่ง nmtui ซึ่งทำงานในโหมดเท็กซ์ ทำให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกผ่านการ ssh หรือคอนโซลของเครื่องได้
แทนที่จะแก้ไขไฟล์คอนฟิกที่อยู่ในไดเรกทอรี /etc/sysconfig/network-scripts/ โดยตรง การใช้ nmtui จะช่วยทำให้แก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์กได้ง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการคอนฟิก
Continue reading “CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui”
รันคำสั่งแปลงไฟล์ doc เป็น txt ด้วย LibreOffice
เคยได้ยินมาว่าปัญหาที่เราเจอในการทำงานส่วนมากหรือเกือบทั้งหมด เคยมีคนเจอมาแล้วทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เราต้องการให้โปรแกรมทำ ปัญหาที่พบ หรือช่วยทำให้ง่ายขึ้น เคยมีคนคิดทำมาแล้วเป็นส่วนใหญ่
ช่วงนี้กำลังทำงานด้านเอกสาร คือต้องแปลงไฟล์จากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง หากใช้วิธีปกติ ก็ต้องเปิดโปรแกรม Office ขึ้นมา แล้วเลือกเมนู Save as ระบุชนิดไฟล์ที่เราต้องการจะแปลง หากมีไม่กี่ไฟล์ก็ไม่เท่าไร แต่ถ้ามีเป็น 100 ไฟล์ คงใช้เวลานาน และค่อนข้างน่าเบื่อกันเลยทีเดียว
เลยหาวิธีการแปลงไฟล์โดยการรันคำสั่งแบบ command line หรือรันเป็นแบตช์ไฟล์ ค้นหาจาก google สักพัก นำมาทดลอง ก็ได้วิธีที่อยู่ใกล้ตัวมาก คือใช้คำสั่ง soffice ของโปรแกรม LibreOffice ตามด้วยออปชั่น ก็สามารถใช้แปลงไฟล์ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเปิดโปรแกรมแต่อย่างใด เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์เลยนำมาแชร์ แนะนำกัน
Continue reading “รันคำสั่งแปลงไฟล์ doc เป็น txt ด้วย LibreOffice”
ใช้ awk ดึง 3 ฟิลด์สุดท้ายของแต่ละบรรทัดออกมา
awk วันละคำ(สั่ง) วันนี้เสนอวิธี …
การดึง 3 ฟิลด์สุดท้ายของแต่ละบรรทัดออกมา
Continue reading “ใช้ awk ดึง 3 ฟิลด์สุดท้ายของแต่ละบรรทัดออกมา”
คำสั่งเปิด ปิดไฟ LED ของ Thinkpad
ถือว่าสนุกๆ ครับ บทความนี้จะแสดงการใช้คำสั่งเปิด/ปิด ไฟ LED ที่มีอยู่บนเครื่อง notebook รุ่น Thinkpad
ลองเล่นกันดูครับ บางคนอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการแจ้งเตือนต่างๆ เข่นมีอีเมล์ใหม่เข้ามาได้
ตั้งเวลา logout ออกจาก bash shell โดยอัตโนมัติ
ในหลายครั้งเมื่อมีโอกาสใช้หน้าจอคอนโซลของลีนุกซ์ พบว่ามีการล็อกอินทิ้งไว้ ซึ่งค่อนข้างเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากล็อกด้วย root ทิ้งไว้
เพื่อความปลอดภัยของเครื่อง แนะนำให้ตั้งเวลาไว้ ว่าถ้าไม่มีการใช้งานภายในเวลาที่กำหนด ให้ logout ออกโดยอัตโนมัติ
วิธีการตั้งค่าเวลา auto logout ในที่นี้ เป็นการตั้งค่าตัวแปร TMOUT ซึ่งจะมีผลเฉพาะล็อกอินแล้วใช้ BASH เป็น shell เท่านั้น ซึ่งลีนุกซ์ส่วนใหญ่จะใช้ shell นี้เป็นดีฟอลต์อยู่แล้ว
Continue reading “ตั้งเวลา logout ออกจาก bash shell โดยอัตโนมัติ”
เซ็ตฟอนต์ไทยใน PuTTY
บทความนี้ขอเสนอวิธีการเซ็ตฟอนต์ไทยในโปรแกรม PuTTY เพื่อให้สามารถแสดงตัวอักษรภาษาไทยได้ถูกต้อง ทั้งการพิมพ์และการแสดงผล ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปใช้กับโปรแกรม Terminal Client อื่นๆ ได้