การเรียกดูไฟล์ในแผ่นซีดีรอมหรือดีวีดีบนลีนุกซ์

บนลีนุกซ์เมื่อใส่แผ่นซีดีรอมหรือดีวีดีเข้าไปในไดร์ฟแล้ว หากต้องการเรียกดูไฟล์ในแผ่นต้องทำการ mount ตัวไดร์ฟ (/dev) กับไดเร็คทอรีหรือพาธ (path) บนลีนุกซ์ แล้วถึงจะดูไฟล์ภายใต้พาธนี้ได้

หมายเหตุ หากติดตั้งชุดโปรแกรม Desktop Environment เช่น GNOME ด้วย อาจมีโปรแกรมช่วย mount ตัวไดร์ฟโดยอัตโนมัติ (automount) คือเมื่อใส่แผ่นเราก็สามารถเรียกดูไฟล์ในแผ่นได้เลย ถ้าเป็นแบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่ง mount

Continue reading “การเรียกดูไฟล์ในแผ่นซีดีรอมหรือดีวีดีบนลีนุกซ์”

เลือกเวอร์ชั่น CentOS ที่จะใช้ติดตั้ง

ข้อดีของลีนุกซ์ คือเราต้องการใช้ distribution ไหน เวอร์ชั่นเท่าไร ก็เข้าเว็บไซต์ (mirror site) เพื่อเลือกดาวน์โหลดไฟล์มาติดตั้งได้

โดยไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ ISO โหลดเสร็จสามารถนำมาเขียนใส่แผ่นซีดี หรือดีวีดี เพื่อใช้ติดตั้งบนเครื่องต่างๆ ได้

สำหรับ CentOS แนะนำให้เลือก CentOS 6 เวอร์ชั่นล่าสุด 6.2 เนื่องด้วยการพัฒนาปรับปรุงซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของระบบมากขึ้น

Continue reading “เลือกเวอร์ชั่น CentOS ที่จะใช้ติดตั้ง”

ติดตั้ง CentOS 6.2 : หน่วยความจำขั้นต่ำที่ต้องใช้

จาก Release Notes ของ CentOS 6.2 ในส่วนของ Known Issues หน่วยความจำขั้นต่ำ (minimum memory requirement) ของเครื่องที่จะติดตั้ง CentOS 6.2 ได้นั้น ต้องมีขนาด 392 MB
Continue reading “ติดตั้ง CentOS 6.2 : หน่วยความจำขั้นต่ำที่ต้องใช้”

กระจายงาน Interrupts ที่ได้รับ ให้ Multi-CPU, Cores

หากคุณประสบปัญหา ssh login เข้าเครื่อง Linux Server แล้วต้องรอหลายวินาที กว่า prompt login จะขึ้น

แต่หลังจาก login เข้าไปในระบบได้ ก็สามารถรันคำสั่งต่างๆ ทำงานได้ ไม่ได้ช้ามากแต่ประการใด

บทความนี้อาจช่วยคุณแก้ไขปัญหาได้

Continue reading “กระจายงาน Interrupts ที่ได้รับ ให้ Multi-CPU, Cores”

ตรวจสอบการทำงานเครื่องด้วย sysstat

ก่อนที่จะปรับแต่งค่าคอนฟิกเพื่อเพิ่มพลังให้เครื่องได้นั้น  เราต้องเก็บรายละเอียดสถิติการทำงานของเครื่องก่อน เพื่อวิเคราะห์ดูว่า ส่วนไหนมีการใช้งานมากน้อยอย่างไร และนำผลที่ได้มาเพื่อเปรียบเทียบ วัดผลการทดสอบ ก่อนและหลังการแก้ไขคอนฟิก

จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม โปรแกรมที่นิยมใช้กัน คือ iostat, sar, mpstat ซึ่งถูกรวมไว้เป็นชุดโปรแกรมชื่อ sysstat

Continue reading “ตรวจสอบการทำงานเครื่องด้วย sysstat”

แก้ปัญหาติดตั้ง CentOS 5.5 ใน VirtualBox Guest ไม่ได้

ช่วงนี้ทดสอบ VirtualBox บนหลายๆ OS ทั้งเป็น Host และ Guest มาติดปัญหาตอนพยายามลง CentOS 5.5 ใน Guest คือบู๊ตเครื่องแล้วค้างไม่สามารถติดตั้งได้ หลังจากหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้แล้ว เลยมาแชร์กัน

 Continue reading "แก้ปัญหาติดตั้ง CentOS 5.5 ใน VirtualBox Guest ไม่ได้"

ขนาดหน่วยความจำกับการติดตั้ง Solaris 10_u8 x86

ช่วงนี้รับงานที่ต้องใช้ Solaris 10 เป็นหลัก เลยติดตั้ง Solaris ใน VMware Server เพื่อไว้เป็นเครื่องทดสอบคำสั่ง และโปรแกรมต่างๆ

บทความนี้ขอนำประสบการณ์มาแชร์ให้กัน เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ติดปัญหาการติดตั้ง Solaris 10 x86 เหมือนผู้เขียน

Continue reading “ขนาดหน่วยความจำกับการติดตั้ง Solaris 10_u8 x86”

รหัสย่อของ ASUS Motherboard

ไม่ได้ติดตาม spec เครื่องคอมพิวเตอร์มานาน วันนี้ไปเดินดูห้างชื่อดัง เพื่อจะลองซื้อเครื่องประกอบ เวียนหัวกับสินค้าที่หลากหลายมากๆ โดยเฉพาะส่วนสำคัญหลัก Motherboard หรือ Mainboard นั่นเอง

กลับมาตั้งหลักเพื่อพยายามศึกษาว่าแต่ละรุ่นรายละเอียดต่างกันหรือไม่ อย่างไร เพราะราคาใกล้เคียงกันมาก

พอดีเจอกับเว็บที่มีคนช่วยไขข้อกระจ่างเกี่ยวกับรหัสย่อต่างๆ ที่ ASUS ใช้ในการตั้งชื่อ Motherboard เลยตัดมาบางส่วน และแนะนำลิ้งค์ไว้ดูกัน

Continue reading “รหัสย่อของ ASUS Motherboard”

คอมไพล์ sysbench บน Solaris 10 (x86)

บทความนี้ขอแสดงวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench บน Solaris 10 (x86) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับ Fedora 10

ในที่นี้ขอใช้แค่เวอร์ชั่น 0.4.10 และเลือกไม่คอมไพล์รวม mysql เพื่อความง่ายในการคอมไพล์และทดสอบ เพราะการที่จะคอมไพล์ sysbench เวอร์ชั่นใหม่กว่านี้ จะติดปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นดาวน์โหลดโปรแกรม library มาติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหา libtool ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตามเรายังสามารถนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบแบบคร่าวๆ เพราะวิธีการ benchmark ยังคงเป็นรูปแบบเดียวกัน

ดาวน์โหลดไฟล์

Continue reading “คอมไพล์ sysbench บน Solaris 10 (x86)”

sysbench วัดความแรงของ CPU

หลังจากที่คอมไพล์และติดตั้งโปรแกรม sysbench (คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10) แล้ว ตอนนี้เราจะลองใช้ sysbench เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความเร็วของ CPU (CPU Benchmark)

วิธีการใช้คำสั่ง sysbench ต้องระบุออปชั่น test ว่าเราจะทดสอบอะไร อาจระบุออปชั่นต่างๆ เพิ่มเติม เป็นค่าตัวแปรผันแปรที่ใช้ในการทดสอบ ค่าเหล่านี้จะมีค่าดีฟอลต์อยู่แล้ว ดูได้จากการรันคำสั่ง sysbench แบบไม่มีออปชั่น หรือดูจากผลลัพธ์ในการัน

การทดสอบในบทความนี้ เป็นการทดสอบ (test) CPU ให้คำนวณหาค่าจำนวนเฉพาะ (prime number)  ตั้งแต่ 1 ไปจนถึงตัวเลขมากสุดเท่ากับค่าตัวแปร cpu-max-prime ในที่นี้จะระบุ 20000 แล้วตามด้วยออปชั่น run เพื่อสั่งเริ่มการคำนวณ

โดยในแต่การทดสอบจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวน CPU และจำนวน Threads ที่ใช้ (num-threads) ในการคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้วย

Continue reading “sysbench วัดความแรงของ CPU”