การกำหนด access list ใน Squid Proxy Server ตอนที่ 1

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ Squid Proxy Server คือสามารถกำหนดสิทธิในการใช้งาน access list ได้หลายรูปแบบ และค่อนข้างละเอียดมาก เช่นที่ยกตัวอย่างในบทความ คอนฟิก Squid Proxy Server เป็นการอนุญาตเฉพาะเครื่องไคลเอนต์ที่มี ip address ตามที่กำหนด สามารถใช้ proxy ได้

ในบทความนี้จะกล่าวถึงการกำหนดสิทธิในรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถทำได้ ตามความต้องการ

Continue reading “การกำหนด access list ใน Squid Proxy Server ตอนที่ 1”

การใช้ GPG Public Key ตรวจสอบไฟล์ rpm

ก่อนที่จะติดตั้งไฟล์ rpm ที่ได้มา ไม่ว่าจากแผ่นดีวีดีติดตั้งของ distribution ต่างๆ หรือดาวน์โหลดมาจากอินเตอร์เน็ต แนะนำให้อิมพอร์ต Public Key ของไฟล์ rpm ลงในเครื่องที่จะติดตั้งก่อน เพื่อใช้ตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์ rpm ว่าไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้งเป็นไฟล์ที่มาจากผู้พัฒนาหรือสร้างไฟล์ rpm จริงๆ ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงใดๆ

Continue reading “การใช้ GPG Public Key ตรวจสอบไฟล์ rpm”

แก้ไขหน้าจอการบู๊ตของ Fedora 10

หลังจากติดตั้ง Fedora 10 เมื่อบู๊ตเครื่องขึ้นมา จะมีแถบสี วิ่งจากซ้ายไปขวา ไปชนคำว่า Fedora 10 โดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการบู๊ตขึ้นมาเลย จะมีอีกทีก็หลังจากบู๊ตเสร็จ ขึ้นหน้า login

ส่วนตัวผู้เขียนแล้ว ไม่ชอบหน้าจอการบู๊ตแบบนี้ คือบางครั้งหน้าจอค้างไปนาน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าไปติดปัญหาที่ตรงไหน ไม่เหมือนกับการขึ้นข้อความแสดงการโหลดส่วนต่างๆ ดังนั้นเลยหาวิธีแก้ไข ให้กลับมาเหมือนเดิม

Continue reading “แก้ไขหน้าจอการบู๊ตของ Fedora 10”

เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10

คุณสมบัติใหม่อย่างหนึ่งของ Fedora 10 ที่เพิ่มจากเวอร์ชั่นก่อน คือการสนับสนุน filesystem เพิ่มเติม ประกอบด้วย ext4 และ xfs

หลังจากที่ได้ทดลองติดตั้ง Fedora 10 เลยเกิดความลังเลว่าจะเปลี่ยน filesystem เป็นแบบใหม่หรือไม่ เลยลองรันคำสั่งง่ายๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการสร้าง การลบไฟล์ เป็นต้น

Continue reading “เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10”

ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server

บทความนี้ไม่มีไรมาก แค่ทดลองสร้างดิสก์ใน VMware Server ด้วยขนาดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับขนาดฮาร์ดดิสก์จริงๆ (physical disk) ที่มีขายทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบค่าต่างๆ เช่น จำนวน cylinder, block, หรือ disk size ที่ใช้ได้จริงหลังการสร้าง filesystem แบบ ext3 บนลินุกซ์

Continue reading “ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server”

ติดตั้ง Fedora 10 แบบประหยัดพื้นที่สุด

บทความนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้ง Fedora 10 โดยจะเลือกลงโปรแกรม (Package) ให้น้อยที่สุด ด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยากมากนัก แล้วยังสามารถนำเครื่องที่ลงนี้ไปใช้งานทำเป็น server อื่นๆ ต่อไปได้

Continue reading “ติดตั้ง Fedora 10 แบบประหยัดพื้นที่สุด”

คอนฟิกเน็ตเวิร์กหลังการติดตั้ง Fedora 10

ตอนติดตั้ง Fedora 10 จะไม่มีการให้เลือกคอนฟิก network เลย (ไม่รู้ว่าเพราะอะไรเหมือนกัน) เราต้องมาคอนฟิกเองหลังจากติดตั้งเสร็จแล้วบู๊ตเครื่อง โดยสามารถใช้คำสั่ง system-config-network เพื่อช่วยคอนฟิกได้

Continue reading “คอนฟิกเน็ตเวิร์กหลังการติดตั้ง Fedora 10”

ติดตั้ง Fedora ผ่านเน็ตเวิร์กด้วย Cobbler

โดยทั่วไปการติดตั้งลีนุกซ์จะทำผ่านแผ่นซีดีหรือดีวีดี แต่ถ้าเป็นการติดตั้งหลายๆ เครื่อง ปริมาณมากๆ เราสามารถทำได้โดยติดตั้งผ่านเน็ตเวิร์กได้ โดยคอนฟิกเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็น server แล้วให้เครื่องอื่นๆ บู๊ตผ่านเน็ตเวิร์ก (PXE Boot) มาอ่านไฟล์จากเครื่องนี้ได้ โดยไม่จำเป็นใส่แผ่นซีดีแต่ละเครื่อง

และถ้าต้องการให้คอนฟิกแต่ละเครื่องเหมือนกัน เช่นการเลือกโปรแกรมที่จะติดตั้ง การคอนฟิก timezone, keyboard สามารถใช้ kickstart เข้าช่วยได้

ในบทความนี้จะแนะนำโปรแกรม cobbler ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยในการคอนฟิกและสร้าง network boot server โดยจะช่วยสร้างคอนฟิกที่จำเป็นเช่น dhcp server พร้อมทั้ง image เพื่อให้เครื่องอื่นๆ มาเรียกใช้ได้

Continue reading “ติดตั้ง Fedora ผ่านเน็ตเวิร์กด้วย Cobbler”

คอนฟิกเซอร์วิส nscd

ในกรณีที่คอนฟิกให้ลีนุกซ์ตรวจสอบ user, group (authenticate) จาก LDAP Server ทุกครั้งที่มีการอ้างอิง เช่นการสร้างไฟล์ หรือแสดงรายชื่อไฟล์ด้วยคำสั่ง ls ของ user หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ user, group เครื่องจะต้องมีการสอบถามจาก LDAP ทุกครั้ง ทำให้บางครั้งอาจเพิ่มโหลดมากเกินไปบนตัว LDAP Server

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ user, group จาก LDAP แนะนำให้รันเซอร์วิส nscd (name service cache daemon) บนเครื่อง โดยโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล cache ไว้บนเครื่องตัวเอง ถ้าถามซ้ำกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ใน cache แล้ว ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (time to live) จะไม่มีการส่งไปถาม LDAP Server อีก

ข้อเสียของการรันเซอร์วิส nscd อย่างหนึ่งคือ เรื่องการตั้งค่าเวลา (time to live) ทำให้บางครั้งอาจไม่ได้ข้อมูลที่ล่าสุด เช่นดีฟอลต์เวลาที่ cache ไว้สำหรับการเก็บข้อมูลของ user คือ 600 วินาที สำหรับการค้นหาข้อมูลที่สำเร็จ (positive-time-to-live) ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ user บน LDAP Server จะต้องรอจนเวลานี้ผ่านไป  ข้อมูล cache ใน nscd ถึงจะปรับปรุงเป็นข้อมูลใหม่

Continue reading “คอนฟิกเซอร์วิส nscd”

การใช้งาน subversion เบื้องต้น

หลังจากที่ สร้าง svn repository ในบทความนี้จะแนะนำการใช้งาน svn เบื้องต้น โดยจะประกอบด้วยคำสั่ง import, checkout, commit

Continue reading “การใช้งาน subversion เบื้องต้น”