ในบทความนี้จะทดสอบการติดตั้ง DD-WRT บนอุปกรณ์ Linksys Wireless-G Broadband Router รุ่น WRT54GL v1.1 ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นยอดนิยมและราคาไม่แพง และมีขั้นตอนการติดตั้งง่าย
Continue reading “ติดตั้ง DD-WRT firmware บน Linksys WRT54GL”
เพื่อชีวิตที่ผ่อนคลายของคนใช้ลีนุกซ์
ในบทความนี้จะทดสอบการติดตั้ง DD-WRT บนอุปกรณ์ Linksys Wireless-G Broadband Router รุ่น WRT54GL v1.1 ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นยอดนิยมและราคาไม่แพง และมีขั้นตอนการติดตั้งง่าย
Continue reading “ติดตั้ง DD-WRT firmware บน Linksys WRT54GL”
บทความนี้จะอธิบายการคอนฟิก Samba เพื่อซ่อนไฟล์ (hide) เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานมองเห็นได้โดยดีฟอลต์ และการคอนฟิกเพื่อป้องกัน (veto) ไม่ให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ไฟล์ที่มีชื่อที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายกรณี เช่น ป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เก็บไฟล์ที่ไม่ใช่ไฟล์งานเช่น “.mp3” ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ผ่านการแชร์ไฟล์ได้
ตัวอย่างในบทความนี้ทดสอบบน Fedora 10 และติดตั้ง Samba เวอร์ชั่น 3.2.4
หลังจากที่เปิดการใช้งาน disk quota กับ /home แล้ว ในตอนที่ 2 นี้จะอธิบายการกำหนดปริมาณการใช้งานดิสก์ของผู้ใช้งานแต่ละคน (user quota)
แม้ว่าทุกวันนี้ขนาดของดิสก์จะมีขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ และมีราคาที่ถูกลง แต่ปริมาณความต้องการของผู้ใช้งานกลับเพิ่มสูงขึ้น กระทั่งไม่ว่าจะเพิ่มดิสก์เท่าไร ก็ไม่เพียงพอ
โดยดีฟลอต์เซิร์ฟเวอร์ลีนุกซ์ที่ติดตั้ง จะไม่มีการจำกัดพื้นที่ดิสก์ของผู้ใช้งาน แต่ละคนสามารถใช้ได้จนกระทั่งขนาดของดิสก์ไม่เพียงพอ
บทความนี้ขอนำเสนอวิธีการคอนฟิก Disk Quota เพื่อจำกัดปริมาณการใช้งานดิสก์ โดยสามารถทำได้เป็นระดับรายผู้ใช้งาน (user quota) หรือจะแบ่งเป็นกลุ่ม (group quota) ได้
ไม่ว่าจะเพิ่มความเร็วอินเตอร์เน็ตเป็นเท่าไร ดูเหมือนเน็ตก็ยังช้าอยู่เหมือนเดิม ในบทความนี้จะแนะนำอีกวิธีการหนึ่งเพื่อจำกัดขนาดไฟล์ที่สามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน squid proxy server โดยสามารถคอนฟิกได้ทั้งแบบจำกัดทั้งหมดทุกคน หรือสามารถแบ่งกลุ่มตามระดับได้
การคอนฟิกในที่นี้เป็นการจำกัดขนาดไฟล์การดาวน์โหลดต่อครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ เช่นไฟล์เพลง หนัง ได้
Continue reading “จำกัดขนาดไฟล์ที่ดาวน์โหลดผ่าน squid 3.0”
เคยประสบปัญหาในการล็อกอินด้วย secure shell ไปยังเครื่องปลายทางช้าหรือไม่ กว่าที่จะขึ้นให้ใส่ password โดยที่เครื่องปลายทาง (secure shell server) ดูแล้วปกติไม่ได้ทำงานหนักอะไร โหลดของเครื่องก็เป็น 0.00
ตรวจสอบโหลดบนเครื่องปลายทาง ด้วยคำสั่ง uptime
[root@ssh-server ~]# uptime 16:02:28 up 1:21, 1 user, load average: 0.00, 0.00, 0.00
บทความนี้จะเสนอการแก้ไขคอนฟิกของ sshd ซึ่งทำหน้าที่เป็น secure shell server โดยตัวอย่างทดสอบ ssh จากเครื่องชื่อ ssh-client ไปยังเครื่องปลายทางชื่อ ssh-server (192.168.1.1)
ด้วยข้อดีหลายๆ อย่างที่มีเพิ่มใน MySQL เวอร์ชั่น 5.1 ไม่ว่าจะเป็น partitioning, replication, storage engine, และอื่นๆ ทางเราแนะนำให้ upgrade เป็นเวอร์ชั่นใหม่
บทความนี้จะแนะนำวิธีการ upgrade MySQL บน Fedora 10 ซึ่งเวอร์ชั่นที่มากับแผ่นดีวีดีติดตั้งจะเป็นเวอร์ชั่น 5.0.67 โดยจะปรับปรุงเฉพาะ MySQL แต่จะไม่มีการปรับปรุง ส่วนอื่นๆ ที่มาต่อเชื่อม เช่น PHP ยังคงใช้ไฟล์ rpm ชื่อ php-mysql ที่อยู่ในแผ่นติดตั้ง Fedora 10 สร้างมาสำหรับ MySQL 5.0
ในบทความนี้จะอธิบายการคอนฟิก NAT (Network Address Translation) บนลีนุกซ์ ด้วย iptables โดยจะแยกเป็นข้อต่างๆ ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งในแต่ละข้อ จะเคลียร์คอนฟิก rule ทั้งหมดของ nat ออกก่อน ด้วยออปชั่น ‘-F’ แล้วเริ่มคอนฟิกใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปทดสอบดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ แล้วหลังจากเข้าใจ สามารถนำ rule ต่างๆ มารวมกันเพื่อคอนฟิก NAT ในหลายรูปแบบพร้อมๆ กันได้
โดยดีฟอลต์แล้ว ลีนุกซ์ไม่ได้ทำหน้าที่เป็น Router คือจะไม่ส่งต่อข้อมูล (IP packet forwarding) ใดๆ ระหว่างอินเตอร์เฟซ ดังนั้น ถ้าต้องการให้ลีนุกซ์ทำ routing ได้ ต้องเปิดคุณสมบัตินี้ก่อน ซึ่งสามารถทำได้โดยแก้ไขไฟล์ /etc/sysctl.conf เปลี่ยนคอนฟิกของ net.ipv4.ip_forward จากค่า 0 เป็น 1
ในตอนที่สองนี้จะอธิบายดีฟอลต์คอนฟิก acl ที่ติดตั้งมากับ Fedora 10 โดยจะแยกเป็นส่วนๆ พร้อมทั้งแนะนำวิธีการแก้ไขคอนฟิกและการ reload เซอร์วิสหลังจากการแก้ไข
ดีฟอลต์คอนฟิก acl ของ Squid เวอร์ชั่น squid-3.0.STABLE10 ที่ติดตั้งมากับ Fedora 10 จะแตกต่างจากเวอร์ชั่นก่อนๆ คือ อนุญาตเครื่องไคลเอนต์ที่มี ip address เป็น private (10.0.0.0/8, 172.16.0.0/12, 192.168.0.0/16) มีสิทธิใช้ proxy ซี่งแนะนำให้มีการแก้ไขก่อนนำไปใช้งานจริง
Continue reading “การกำหนด access list ใน Squid Proxy Server ตอนที่ 2”