ติดตั้ง CentOS 6.2 : เลือกชุดซอฟต์แวร์ที่จะลง

หน้าจอให้เลือกชุดโปรแกรม (set of software, packages) ที่จะติดตั้ง

การลงลีนุกซ์แต่ก่อน เราต้องเลือกลงเองว่าจะลงโปรแกรมอะไรบ้าง คำแนะนำที่ได้ยินตอนหัดใช้ใหม่ๆ คือ ลงทุกโปรแกรมเลย ต้องการใช้อะไรมีหมด

แต่สมัยนี้ โปรแกรมที่ให้มาในแผ่นติดตั้งค่อนข้างเยอะ และเนื่องด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย โปรแกรมบางตัวลงแล้วอาจมีปัญหา (Bugs)  เป็นอันตรายต่อเซิร์ฟเวอร์โดยรวม จึงแนะนำให้เลือกลงเฉพาะจำเป็นเท่านั้น แล้วค่อยมาลงเพิ่มทีหลัง

Continue reading “ติดตั้ง CentOS 6.2 : เลือกชุดซอฟต์แวร์ที่จะลง”

ติดตั้ง CentOS 6.2 : แบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์

คำเตือน การเริ่มต้นหัดใช้ลีนุกซ์ แนะนำให้ติดตั้งบนฮาร์ดดิสก์เปล่าๆ เลย คือไม่มีพาร์ทิชั่นที่มีข้อมูลอื่นๆ อยู่  เพราะถ้าหากเราเลือกเมนูการติดตั้งไม่ถูกต้อง จะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เดิม ถูกลบทิ้งไปได้

เลือกประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่จะติดตั้ง  โดยทั่วไปแล้วเลือก “Basic Storage Devices”  ยกเว้นเครื่องของคุณจะใช้ฮาร์ดดิสก์ที่ต่อแบบ Fiber, SAN ไปยังดิสก์ภายนอก

Continue reading “ติดตั้ง CentOS 6.2 : แบ่งพาร์ทิชั่นดิสก์”

เลือกเวอร์ชั่น CentOS ที่จะใช้ติดตั้ง

ข้อดีของลีนุกซ์ คือเราต้องการใช้ distribution ไหน เวอร์ชั่นเท่าไร ก็เข้าเว็บไซต์ (mirror site) เพื่อเลือกดาวน์โหลดไฟล์มาติดตั้งได้

โดยไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ ISO โหลดเสร็จสามารถนำมาเขียนใส่แผ่นซีดี หรือดีวีดี เพื่อใช้ติดตั้งบนเครื่องต่างๆ ได้

สำหรับ CentOS แนะนำให้เลือก CentOS 6 เวอร์ชั่นล่าสุด 6.2 เนื่องด้วยการพัฒนาปรับปรุงซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัยของระบบมากขึ้น

Continue reading “เลือกเวอร์ชั่น CentOS ที่จะใช้ติดตั้ง”

ติดตั้ง CentOS 6.2 : หน่วยความจำขั้นต่ำที่ต้องใช้

จาก Release Notes ของ CentOS 6.2 ในส่วนของ Known Issues หน่วยความจำขั้นต่ำ (minimum memory requirement) ของเครื่องที่จะติดตั้ง CentOS 6.2 ได้นั้น ต้องมีขนาด 392 MB
Continue reading “ติดตั้ง CentOS 6.2 : หน่วยความจำขั้นต่ำที่ต้องใช้”

คุณสมบัติใหม่ของ Fedora 16

ด้วยความตั้งใจของ RedHat ตั้งแต่แรก คือใส่คุณสมบัติใหม่ๆ เข้าไปใน Fedora อยู่ตลอด เพื่อเป็นการทดสอบการใช้งาน และถ้าได้ผลดี
ค่อยนำไปใส่ไว้ใน RedHat Enterprise อีกที

ดังนั้นจะเห็นแต่ละเวอร์ชั่นของ Fedora จะมีโปรแกรม มีวิธีการคอนฟิกแบบใหม่ๆ บางครั้งก็ทำให้ผู้ดาวน์โหลดมาติดตั้ง งงไปเลยเหมือนกัน
ยิ่งเวอร์ชั่นหลังๆ การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ล่าสุดมีการนำวิธีการบู๊ต โดยใช้ systemd ช่วยทำให้บู๊ตได้เร็วขึ้นมาก

ในที่นี้จะแสดงเฉพาะคุณสมบัติใหม่ๆ ของ Fedora 16 ตั้งแต่การติดตั้ง และการทดสอบบู๊ตเบื้องต้น

Continue reading “คุณสมบัติใหม่ของ Fedora 16”

เก็บสำรองคอนฟิกของลีนุกซ์

เพื่อป้องกันกรณีเครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจเกิดความเสียหายไม่ว่าจะเกิดจากเหตุอะไร แนะนำให้เก็บสำรองคอนฟิกไว้

ไฟล์คอนฟิกของลีนุกซ์เกือบทั้งหมด จะอยู่ในไดเร็คทอรี /etc ส่วนใหญ่จะเป็น text file มีขนาดเล็กๆ ดังนั้นแนะนำให้เก็บทุกไฟล์ที่อยู่ในนี้

วิธีการเก็บสำรองไฟล์แบบง่ายที่สุดน่าจะเป็นการใช้คำสั่ง tar

ตัวอย่างการเก็บไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ใน /etc

[root@server ~]# cd /
[root@server /]# tar zcvpf server-backup-etc-20111031.tar.gz etc/
etc/
etc/sysctl.conf
etc/inittab
etc/idmapd.conf
etc/pki/
etc/pki/nssdb/
...

คำแนะนำ

  •  tar บนลีนุกซ์ สามารถระบุออปชั่น z เพื่อบีบขนาดของไฟล์ได้เลย
  • การระบุไดเร็คทอรีเวลาใช้คำสั่ง tar ให้เอาเครื่องหมาย / ที่อยู่หน้าไดเร็คทอรีออก มิฉะนั้นเวลาไปแตกไฟล์ (untar) ออก อาจพลาดไปเขียนไฟล์ทับ /etc ของเครื่องปลายทางได้

ตัวอย่างไฟล์ tar ที่ได้

[root@server /]# ls -l server-backup-etc-20111031.tar.gz
-rw-r--r-- 1 root root 5332341 Oct 31 20:52 server-backup-etc-20111031.tar.gz

ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเก็บไฟล์ tar นี้ไว้ที่ไหน เช่นเก็บใส่ USB Drive หรือ ส่งไฟล์ (transfer file) ไปเครื่องที่อยู่ที่อื่น

ส่วนไฟล์คอนฟิกอื่นๆ ต้องขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ติดตั้ง บางโปรแกรมอาจติดตั้งอยู่ใน /opt หรือ /usr/local ต้องลองหาดู

อีกอย่างที่ควรระวัง คือเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่ หรือทดลองรันโปรแกรมแล้วใช้งานเลย โดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขไฟล์คอนฟิก ที่อยู่ใน /etc ให้เรียบร้อย ทำให้เวลามีการ reboot เครื่องใหม่ เซอร์วิสบางอย่างอาจไม่ได้รันขึ้นมาเหมือนเดิม

โดยส่วนตัวแล้ว นอกจากเก็บไฟล์ที่อยู่ใน /etc แล้ว จะรันคำสั่งดังต่อไปนี้เพื่อเก็บสถานะของเครื่อง ณ ขนะนั้นจริงๆ ว่ารันอะไรอยู่บ้าง เพื่อจะได้ใช้เปรียบเทียบหลังจากที่ reboot เครื่องใหม่

  • uname -a
  • hostname
  • ps -ef
  • free
  • netstat -an
  • netstat -rn
  • ifconfig -a
  • mii-tool
  • iptables -L -v -n
  • sestatus
  • lsmod
  • dmesg
  • mount
  • df -k
  • pvdisplay
  • vgdisplay
  • lvdisplay
  • cat /proc/mdstat

ลองนำไปใช้กันดูครับ หวังว่าเซิร์ฟเวอร์ของทุกท่านจะปลอดภัย

upgrade kernel บน CentOS 5.6

ด้วยเหตุผลทางด้านประสิทธิภาพ ต้องการลงโปรแกรม library หรือ driver ของอุปกรณ์บางตัว ที่ต้องใช้ kernel เวอร์ชั่นใหม่

ในบทความนี้ ขอแนะนำวิธีการ upgrade kernel บน CentOS 5.6  โดยการดาวน์โหลดไฟล์ rpm แล้วนำมาติดตั้งเองด้วยคำสั่ง rpm

Continue reading “upgrade kernel บน CentOS 5.6”

ทดสอบติดตั้ง CentOS 6.0

หลังจาก ทดสอบ Red Hat Enterprise Linux 6.0  บทความนี้ขอนำมาเปรียบเทียบกับการติดตั้ง CentOS 6.0 โดยใช้แผ่นดีวีดี เผื่อหวังว่าผู้สนใจได้ข้อมูลในเบื้องต้น ประกอบการตัดสินใจในการใช้งาน

Continue reading “ทดสอบติดตั้ง CentOS 6.0”

ทดสอบ Red Hat Enterprise Linux 6.0

เมื่อไม่นานมานี้ทาง RedHat ได้ออก RedHat Enterprise Linux เวอร์ชั่น 6.0 ซึ่งได้พัฒนาไปจากเวอร์ชั่น 5 ค่อนข้างมาก ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่ http://www.redhat.com/rhel/server/details/

บทความนี้แสดงให้เห็นการติดตั้ง Red Hat 6.0 โดยใช้แผ่นดีวีดี เผื่อหวังว่าผู้สนใจได้ข้อมูลในเบื้องต้น ประกอบการตัดสินใจในการ upgrade ต่อไป

Continue reading “ทดสอบ Red Hat Enterprise Linux 6.0”

รูปแบบการแสดงผลของ RPM query

ข้อดีอย่างหนึ่งของลีนุกซ์คือสามารถรันได้บนหลากหลายระบบ (Platform)  แต่ก็อาจทำให้ผู้ดูแลระบบปวดหัวได้ ในการจัดการโปรแกรมที่ติดตั้งได้

ปัญหาหนึ่งที่ผู้เขียนพบคือการใช้ rpm เพื่อจัดการโปรแกรมที่ติดตั้งบน RedHat, CentOS แบบ 64 bit คือมีทั้งโปรแกรม 32-bit และ 64-bit ถูกติดตั้งมารวมกัน

[root@server ~]# cat /etc/redhat-release
Red Hat Enterprise Linux Server release 5.5 (Tikanga)
 Continue reading "รูปแบบการแสดงผลของ RPM query"