บทความนี้กล่าวถึงวิธีการใช้คำสั่ง ipf เพื่อสร้าง rule ของ Solaris IP Filter แบบง่ายๆ เพื่อใช้กำหนด packet เข้าออกเครื่อง
เพิ่มดิสก์ใหม่บน Solaris 10
เช่นเดียวกับระบบปฏิบัติการ OS อื่นๆ เมื่อมีการเพิ่มดิสก์ก้อนใหม่เข้าไปในเครื่องที่ติดตั้ง Solaris 10 ต้องมีกระบวนการ หรือต้องรันคำสั่งก่อนที่จะเริ่มใช้ดิสก์ก้อนใหม่ได้
ขนาดหน่วยความจำกับการติดตั้ง Solaris 10_u8 x86
ช่วงนี้รับงานที่ต้องใช้ Solaris 10 เป็นหลัก เลยติดตั้ง Solaris ใน VMware Server เพื่อไว้เป็นเครื่องทดสอบคำสั่ง และโปรแกรมต่างๆ
บทความนี้ขอนำประสบการณ์มาแชร์ให้กัน เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ติดปัญหาการติดตั้ง Solaris 10 x86 เหมือนผู้เขียน
Continue reading “ขนาดหน่วยความจำกับการติดตั้ง Solaris 10_u8 x86”
รันโปรเซสเป็น user อื่น
เป็นวิธีง่ายๆ เพื่อให้ผู้ใช้ root สามารถรันโปรเซสหรือโปรแกรมบน Linux/UNIX ภายใต้สิทธิหรือ permission ผู้ใช้ user อื่นบนเครื่องเดียวกัน
คอนฟิก MySQL Replication
บทความนี้จะอธิบายวิธีการคอนฟิก Replication ของ MySQL เพื่อทำการ replicate ข้อมูลในฐานข้อมูล (database) จากเครื่องหลัก (Master) ไปยังเครื่องสำรอง (Slave) ได้
หลังจากที่คอนฟิก Replication ถูกต้องเรียบร้อย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลบนเครื่องหลัก (Master) ไม่ว่าจะเป็นการ INSERT, UPDATE, DELETE หรือ แก้ไข table การเปลี่ยนแปลงนี้จะถูกส่งต่อ (replicate) ไปยังเครื่องสำรอง (Slave) โดยอัตโนมัติ
การคอนฟิก Replication เป็นการป้องกันการเสียหาย ถ้าเครื่องหลักมีปัญหา ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในเครื่องสำรอง ก็ยังสามารถใช้งานได้
การแสดงผล Error ของ PHP
การตรวจสอบข้อผิดพลาด (error) เวลาพัฒนาโปรแกรม หรือเมื่อรันโปรแกรม ถือว่ามีความสำคัญอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะทำให้ระบบทำงานได้อย่างถูกต้อง
สำหรับการพัฒนา Web Application ด้วย PHP การตรวจสอบหรือแสดงผลข้อผิดพลาด สามารถทำได้ สองวิธีหลักๆ คือ
- แสดงข้อผิดพลาด (error) ผ่านหน้าเว็บ
- เก็บข้อผิดพลาดไว้ในไฟล์ (log file) เพื่อการตรวจสอบ
การใช้งาน DRBD เบื้องต้น
จากบทความ ติดตั้งและคอนฟิก DRBD เราได้คอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้
ดังนั้นขณะที่เครื่องที่ 1 (centos54-a) ทำหน้าที่เป็น primary ของดิสก์ drbd0 อยู่ เครื่องที่ 2 (centos54-b) จะไม่สามารถ mount ดิสก์ drbd0 นี้ขึ้นมาใช้งานได้
ในบทความนี้จะแสดงการทดสอบใช้คำสั่งเพื่อเปลี่ยนโหมด Primary, Secondary ระหว่างเครื่องทั้งสอง
ตรวจสอบสถานะบนเครื่อง centos54-a
[root@centos54-a ~]# service drbd status drbd driver loaded OK; device status: version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90) GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55 m:res cs ro ds p mounted fstype 0:r0 Connected Primary/Secondary UpToDate/UpToDate C /export ext3
[root@centos54-a ~]# df -h /export Filesystem Size Used Avail Use% Mounted on /dev/drbd0 950M 18M 885M 2% /export
ทดสอบ mount ดิสก์บนเครื่อง centos54-b
[root@centos54-b ~]# service drbd status drbd driver loaded OK; device status: version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90) GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55 m:res cs ro ds p mounted fstype 0:r0 Connected Secondary/Primary UpToDate/UpToDate C
[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only mount: Wrong medium type
ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนให้เครื่องที่ 2 (centos54-b) ทำหน้าที่เป็น primary เช่นในกรณีที่ต้องการซ่อมบำรุงเครื่องที่ 1 สามารถทำได้ดังนี้
บนเครื่องที่ 1 ปิดเซอร์วิส DRBD
[root@centos54-a ~]# service drbd stop Stopping all DRBD resources: . [root@centos54-a ~]# service drbd status drbd not loaded
ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2 หลังจากปิดเซอร์วิสบนเครื่องที่ 1
[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res cs ro ds p mounted fstype
0:r0 WFConnection Secondary/Unknown UpToDate/DUnknown C
แม้เครื่อง Primary ปิดไปแล้ว บนเครื่องที่ 2 ที่ยังอยู่ในโหมด Secondary ก็ยัง mount ดิสก์ ไม่ได้
[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export mount: block device /dev/drbd0 is write-protected, mounting read-only mount: Wrong medium type
ต้องเปลี่ยนสถานะบนเครื่องที่ 2 ให้เป็น primary ด้วยคำสั่ง drbdadm primary
[root@centos54-b ~]# drbdadm primary all
ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2
[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res cs ro ds p mounted fstype
0:r0 WFConnection Primary/Unknown UpToDate/DUnknown C
เมื่ออยู่ในโหมด primary แล้ว ก็สามารถ mount ดิสก์ขึ้นมาใช้งานได้
[root@centos54-b ~]# mount /dev/drbd0 /export [root@centos54-b ~]# df -h /export Filesystem Size Used Avail Use% Mounted on /dev/drbd0 950M 18M 885M 2% /export
ทดลองสร้างไฟล์ในดิสก์ drbd0
[root@centos54-b ~]# cd /export/
[root@centos54-b export]# ls
lost+found
[root@centos54-b export]# echo "hello world from node 2" > test-file-on-node-2.txt
[root@centos54-b export]# ls -l
total 20
drwx------ 2 root root 16384 Feb 6 15:46 lost+found
-rw-r--r-- 1 root root 24 Feb 6 17:17 test-file-on-node-2.txt
รันเซอร์วิส DRBD บนเครื่องที่ 1 ขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้เครื่องที่ 1 จะทำหน้าที่เป็น Secondary และจะทำการ replicate ข้อมูลมาจากเครื่องที่ 2 (Primary) โดยอัตโนมัติ
[root@centos54-a ~]# service drbd start Starting DRBD resources: [ d(r0) s(r0) n(r0) ].
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res cs ro ds p mounted fstype
0:r0 Connected Secondary/Primary UpToDate/UpToDate C
บนเครื่องที่ 2 เปลี่ยนให้เป็นโหมด Secondary
[root@centos54-b ~]# drbdadm secondary all
0: State change failed: (-12) Device is held open by someone
Command 'drbdsetup 0 secondary' terminated with exit code 11
หากมีการเรียกใช้ดิสก์ drbd อยู่ จะไม่สามารถเปลี่ยนโหมดจาก Primary ไปเป็น Secondary ได้ ต้อง umount ดิสก์ออกไปก่อนถึงจะเปลี่ยนโหมดได้
[root@centos54-b ~]# umount /export [root@centos54-b ~]# drbdadm secondary all
ตรวจสอบสถานะบนเครื่องที่ 2
[root@centos54-b ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res cs ro ds p mounted fstype
0:r0 Connected Secondary/Secondary UpToDate/UpToDate C
เปลี่ยนโหมดบนเครื่องที่ 1 ให้เป็น Primary เพื่อเรียกใช้ดิสก์ได้
[root@centos54-a ~]# drbdadm primary all
[root@centos54-a ~]# service drbd status
drbd driver loaded OK; device status:
version: 8.3.2 (api:88/proto:86-90)
GIT-hash: dd7985327f146f33b86d4bff5ca8c94234ce840e build by mockbuild@v20z-x86-64.home.local, 2009-08-29 14:07:55
m:res cs ro ds p mounted fstype
0:r0 Connected Primary/Secondary UpToDate/UpToDate C
mount ดิสก์ และตรวจสอบไฟล์ที่อยู่ใน drbd0 จะเห็นไฟล์ที่สร้างจากเครื่องที่ 2
[root@centos54-a ~]# mount /dev/drbd0 /export
[root@centos54-a ~]# cd /export/
[root@centos54-a export]# ls -l
total 20
drwx------ 2 root root 16384 Feb 6 15:46 lost+found
-rw-r--r-- 1 root root 24 Feb 6 17:17 test-file-on-node-2.txt
[root@centos54-a export]# cat test-file-on-node-2.txt
hello world from node 2
ตรวจสอบไฟล์ /var/log/messages
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ DBRD นอกจากการใช้คำสั่ง service เพื่อตรวจสอบสถานะแล้ว ไฟล์ /var/log/messages จะแสดงการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของ DRBD ที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้ช่วยในการแก้ปัญหาได้
ตัวอย่างข้อความในไฟล์ /var/log/messages ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนโหมด
[root@centos54-a ~]# tail /var/log/messages ... Feb 6 17:19:38 centos54-a kernel: block drbd0: peer( Primary -> Secondary ) Feb 6 17:21:04 centos54-a kernel: block drbd0: role( Secondary -> Primary ) ...
ข้อมูลอ้างอิง
ติดตั้งและคอนฟิก DRBD
DRBD (Distributed Replicated Block Device) เป็นโปรแกรมเพื่อใช้ในการ replicate ข้อมูลดิสก์ที่อยู่คนละเครื่องกัน ผ่านทางเน็ตเวิร์ก โดยจะทำในระดับ block ของดิสก์
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยูในดิสก์เครื่องหนึ่ง (primary) การเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูก replicate ไปยังอีกเครื่อง (secondary) โดยอัตโนมัติ
DRBD ประกอบด้วยสองส่วนคือ
1. Kernel module – DRBD ทำหน้าที่ใน kernel โดยจะสร้าง virtual block device คั่นกลางระหว่าง physical disk กับ filesystem ที่สร้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็น ext3, ext4, xfs
2. User space administration tools – เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการ DRBD ได้ง่ายขึ้น หลักๆ จะเป็น drbdadm
ในบทความนี้จะแสดงการติดตั้งโปรแกรม DRBD และคอนฟิกเป็นแบบ Single-primary mode คือ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง มีเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถ อ่าน เขียน ข้อมูลได้
คำเตือน ติดตั้งและคอนฟิก DRBD บนเครื่องทดสอบให้เข้าใจก่อน เพราะบางคำสั่งอาจกระทบข้อมูลดิสก์หรือ partition ที่มีอยู่ในเครื่องได้ ทำให้ข้อมูลเสียหายได้
ทดสอบ FOREIGN KEY Constraints ใน MySQL
บทความนี้ต่อจาก การสร้าง FOREIGN KEY Constraints ใน MySQL เพื่อทดสอบการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ข้อมูล โดยในเวลาเริ่มแต่ละหัวข้อจะใช้ข้อมูลนี้เป็นหลัก
Continue reading "ทดสอบ FOREIGN KEY Constraints ใน MySQL"
การสร้าง FOREIGN KEY Constraints ใน MySQL
ส่วนใหญ่แล้วการออกแบบฐานข้อมูลจะมีการใช้บางฟิลด์ข้อมูล เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง table ทำให้ต้องมีการคำนึงถึงเวลา เพิ่ม แก้ไข หรือ ลบฟิลด์ที่ใช้เชื่อมนั้น ไม่เช่นนั้นข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีปัญหาได้
MySQL สนับสนุนคุณสมบัติการใช้ FOREIGN KEY Constraints เพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่ต้องใช้ table เป็นแบบ InnoDB ในบทความนี้ขออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมยกตัวอย่างวิธีการใช้ FOREIGN KEY Constraints เพื่อป้องกันปัญหาได้
Continue reading “การสร้าง FOREIGN KEY Constraints ใน MySQL”