yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6

จากที่ได้ ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2 ด้วยคำสั่ง rpm แล้ว จะเห็นถึงความยุ่งยากในการติดตั้ง บางโปรแกรมกว่าจะติดตั้งได้ ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ ก่อนอีกมากมาย

เพื่อความสะดวกและง่าย เราสามารถใช้คำสั่ง yum ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ประเภท rpm

ง่ายที่สุด เครื่องลีนุกซ์ที่จะรันคำสั่ง yum นั้น ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการติดตั้งโปรแกรมจาก repos ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้

แต่บางครั้ง เครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์นั้น ไม่สามารถต่อออกอินเตอร์เน็ตได้

ในตอนนี้จะแนะนำการใช้คำสั่ง yum เพื่อติดตั้งไฟล์ rpm โดยใช้ repos ที่อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6.2

Continue reading “yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6”

รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – ทดลองใช้

หลังจากติดตั้งตามบทความ  รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง เรียบร้อยแล้ว

ในบทนี้จะทดลองบู๊ตเครื่องหลังการติดตั้ง ทดสอบการล็อกอิน ดูข้อมูลเบื้องต้น เช่น kernel ข้อมูลโปรแกรมที่ดิดตั้ง ความแตกต่างคอนฟิกจากลีนุกซ์ตระกูล RedHat, CentOS

Continue reading “รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – ทดลองใช้”

รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง

ทุกๆ สองปี หรือปี คศ. ที่เป็นเลขคู่ ในเดือนเมษายน Ubuntu จะออกเวอร์ชั่นใหม่ ที่เป็น Long-Term Support หรือ LTS ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ Canonical จะสนับสนุน (support) เรื่องการปรับปรุงโปรแกรมเช่น security fixes, critical bugs, minor update เป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ คือ 3 ปี สำหรับเวอร์ชั่น desktop และ 5 ปี สำหรับเวอร์ชั่น server ในขณะที่เวอร์ชันอื่นจะ support แค่ 18 เดือนเท่านั้น

ล่าสุดปีนี้ ที่เพิ่งออกมาวันที่ 26 เมษายน เวอร์ชั่น 12.04 LTS (Precise Pangolin) ได้ออกมาให้ดาวน์โหลดใช้กันแล้ว พิเศษจะขยายเวลา support ในเวอร์ชั่น desktop ให้เป็น 5 ปี เท่ากับเวอร์ชั่น server

ขอนำเวอร์ชั่นที่เป็น server มารีวิวเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการ upgrade จาก Ubuntu เวอร์ชั่นเก่า หรือถ้าใช้ลีนุกซ์อื่นอยู่ เผื่อเปลี่ยนใจหันมาลองใช้บ้าง

ในตอนแรกจะเป็นการติดตั้ง

Continue reading “รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง”

เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์

เนื่องจาก root สามารถทำได้ทุกอย่างบนลีนุกซ์ ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม แก้ไขคอนฟิก หรือกระทั่งสั่งปิดเครื่อง (shutdown)

คำแนะนำอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้ลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นหัดใช้งาน หรือใช้งานมานานแล้ว คือล็อกอินเป็นผู้ใช้ธรรมดาที่ไม่ใช่ root ให้เป็นนิสัย เพราะผู้ใช้งานธรรมดา ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว เช่นดูคอนฟิกของเครื่อง แก้ไขไฟล์เท่าที่มีสิทธิ์ และหากทำอะไรผิดพลาดไป ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะกระทบในระดับหนึ่ง เท่าที่ผู้ใช้คนนั้นจะทำได้ ไม่กระทบทั้งเครื่อง

จนกว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรบางอย่างกับลีนุกซ์ที่จำเป็นต้องทำด้วย root ค่อยใช้คำสั่ง su เปลี่ยนผู้ใช้ root (หรือใช้ sudo) และเมื่อหลังจากแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ก็เปลี่ยนกลับมาเป็น user ธรรมดาอีกครั้ง

ในบทนี้จะอธิบายคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งาน โดยต้องใช้ root เป็นคนรันคำสั่ง

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์”

ติดตั้งโมดูล PHP เพิ่มเติม บน CentOS 6

จากการ ติดตั้งโปรแกรมภาษาเว็บ PHP บน Apache

เว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache และ PHP เครื่องนี้ สามารถเขียนเว็บเพจโดยใช้ภาษา PHP ได้แล้ว  แต่สามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นแค่พื้นฐานเท่านั้น  ถ้าต้องการใช้ฟังก์ชั่นอื่นๆ ด้วย เช่นเชื่อมต่อเข้ากับ MySQL เราจำเป็นต้องติดตั้งโมดูล PHP เพิ่มเติม

ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการตรวจสอบและติดตั้งโมดูลเพิ่มเติมจากไฟล์ rpm ที่อยู่ในแผ่นดีวีดี CentOS 6.2  โดยจะเป็นการติดตั้งโมดูล MySQL เพื่อให้สามารถเขียน PHP เชื่อมเข้ากับฐานข้อมูล MySQL ได้

Continue reading “ติดตั้งโมดูล PHP เพิ่มเติม บน CentOS 6”

เปลี่ยนวันเวลาบนลีนุกซ์ด้วยคำสั่ง date

วันเวลาบนลีนุกซ์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่สมควรจะตั้งให้ตรงกับเวลามาตรฐาน ไม่เช่นนั้น โปรแกรมต่างๆ จะเก็บเวลาไม่ถูกต้อง ทำให้การตรวจสอบการทำงานย้อนหลังมีปัญหา

วิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้เวลาของเครื่องลีนุกซ์ตรงกับเวลามาตรฐานคือติดตั้งและคอนฟิก NTP

แต่ถ้าไม่สามารถคอนฟิกเช่น ไม่สามารถต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ต เพื่อ sync กับ NTP Server มาตรฐาน

สามารใช้คำสั่ง date  เพื่อเปลี่ยนเวลาของเครื่องลีนุกซ์ให้เป็นเวลาที่ต้องการ ใกล้เคียงกับเวลามาตรฐานได้

Continue reading “เปลี่ยนวันเวลาบนลีนุกซ์ด้วยคำสั่ง date”

การสตาร์ต MySQL Database Server บน CentOS 6

หลังจากที่ ติดตั้งฐานข้อมูล MySQL เรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนต่อไปเป็นการสตาร์ต MySQL Database Server เพื่อรันเซอร์วิสทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล

ใน CentOS 6 จะตั้งชื่อเซอร์วิส MySQL Database Server ว่า mysqld

Continue reading “การสตาร์ต MySQL Database Server บน CentOS 6”

แก้ไขคอนฟิก firewall ด้วย system-config-firewall

จากบทความ แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables ผู้ที่จะแก้ไขคอนฟิกแบบนี้ได้ ต้องมีความรู้ทางด้านเน็ตเวิร์ก มีความเข้าใจเรื่อง firewall รวมทั้งต้องทราบว่าเซอร์วิสที่รันใช้พอร์ตอะไร

ซึ่งอาจทำให้เกิดความยากสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะไม่รู้ว่าจะเพิ่ม หรือลบ rule อย่างไร ใส่ออปชั่นอะไรบ้าง

สำหรับผู้เริ่มต้นหัดใช้ แนะนำให้ใช้โปรแกรม system-config-firewall เพื่อช่วยแก้ไข rule ของ firewall บนลีนุกซ์

Continue reading “แก้ไขคอนฟิก firewall ด้วย system-config-firewall”

แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables

บนลีนุกซ์มีคุณสมบัติ firewall ติดตั้งมาให้สามารถเลือกอนุญาต หรือปฏิเสธการ รับ/ส่ง packet เข้า/ออกเครื่องได้

จุดมุ่งหมายหลักๆ ของ firewall ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์

หลายคนมักจะปิดคุณสมบัตินี้ไป ด้วยเหตุผลบอกว่ายากต่อการทำความเข้าใจ และแก้ไข

ในบทความนี้จะอธิบายการใช้คำสั่ง iptables เพื่อแสดงสถานะ firewall ที่เปิดใช้งาน การเพิ่ม rule เพื่ออนุญาตการเชื่อมต่อ การลบ rule ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ลองทำตามดู ในหลายเซอร์วิส เพียงแค่แก้ไข rule นิดเดียวเท่านั้น ก็จะใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องปิดคุณสมบัติ firewall แต่อย่างได้

Continue reading “แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables”