ตั้งเวลาเครื่องให้ตรงมาตรฐานด้วย NTP

จากบทความ เปลี่ยนวันเวลาบนลีนุกซ์ด้วยคำสั่ง date นั้น เวลาที่ตั้งอาจคลาดเคลื่อนกับเวลามาตรฐานไปพอสมควร อาจผิดเป็นหน่วยนาที หรือวินาที ซึ่งบางระบบอาจไม่สามารถยอมรับความคลาดเคลื่อนขนาดนี้ได้

วิธีที่ดีที่สุดที่จะตั้งเวลาให้ตรงกับมาตรฐานจริงๆ คือต้องใช้ NTP
Continue reading “ตั้งเวลาเครื่องให้ตรงมาตรฐานด้วย NTP”

ใช้ yum ปรับปรุงเวอร์ชั่นของแพ็คเกจ

ทางทีมดูแลพัฒนา CentOS จะคอยดูแลปรับปรุงโปรแกรมและออกเวอร์ชั่นใหม่ตาม RedHat อยู่เสมอ ไฟล์แพ็คเกจเวอร์ชั่นใหม่นี้ จะถูกเก็บไว้ใน repos ชื่อ updates เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ yum เข้ามาตรวจสอบและปรับปรุงโปรแกรมได้

ในที่นี้จะแนะนำวิธีการปรับปรุงโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง yum ทั้งปรับปรุงเฉพาะโปรแกรม หรือปรับปรุงทุกโปรแกรมที่ติดตั้งบนเครื่องลีนุกซ์แล้ว

คำเตือน แนะนำให้ทดสอบในเครื่องลีนุกซ์ทดลองดูก่อน เพื่อดูผลกระทบการปรับปรุงเวอร์ชั่นของโปรแกรม

Continue reading “ใช้ yum ปรับปรุงเวอร์ชั่นของแพ็คเกจ”

เปลี่ยนคอนฟิก yum ให้มาใช้ repos ในไทย

หากต้องการใช้ yum ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม หรือปรับปรุงโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่นใหม่ เราต้องใช้ repos ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต

ดีฟอลต์จากการติดตั้ง CentOS 6.2 จะมีคอนฟิก repos ติดตั้งมาด้วย โดยจะชี้ไปยังเว็บไซต์ mirrorlist.centos.org แสดงรายชื่อเว็บไซต์ repos ที่ให้บริการดาวน์โหลดไฟล์ rpm อีกที

แต่ข้อเสียของการใช้คอนฟิก repos แบบดีฟอลต์นี้ ในบางครั้งเราอาจต้องไปดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ที่อยู่ต่างประเทศ ทำให้ความเร็วที่ได้ค่อนข้างช้า

ในบทนี้ขอแนะนำวิธีเปลี่ยนคอนฟิก repos ของ yum ให้ชี้มายังเว็บไซต์ในประเทศไทย

Continue reading “เปลี่ยนคอนฟิก yum ให้มาใช้ repos ในไทย”

การใช้งานคำสั่ง yum ใน CentOS 6

ในบทความนี้จะอธิบายการใช้คำสั่ง yum เพื่อดูข้อมูล ค้นรายชื่อแพ็คเกจ การติดตั้ง การลบแพ็คเกจ และดูประวัติการแก้ไข

Continue reading “การใช้งานคำสั่ง yum ใน CentOS 6”

yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6

จากที่ได้ ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มบน CentOS 6.2 ด้วยคำสั่ง rpm แล้ว จะเห็นถึงความยุ่งยากในการติดตั้ง บางโปรแกรมกว่าจะติดตั้งได้ ต้องติดตั้งโปรแกรมอื่นๆ ก่อนอีกมากมาย

เพื่อความสะดวกและง่าย เราสามารถใช้คำสั่ง yum ในการแก้ไขปัญหาเรื่องการติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ประเภท rpm

ง่ายที่สุด เครื่องลีนุกซ์ที่จะรันคำสั่ง yum นั้น ต้องสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการติดตั้งโปรแกรมจาก repos ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตได้

แต่บางครั้ง เครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์นั้น ไม่สามารถต่อออกอินเตอร์เน็ตได้

ในตอนนี้จะแนะนำการใช้คำสั่ง yum เพื่อติดตั้งไฟล์ rpm โดยใช้ repos ที่อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6.2

Continue reading “yum ติดตั้งโปรแกรมจากแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6”

คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

หลังการติดตั้งลีนุกซ์เสร็จทุกครั้่ง ก่อนจะคอนฟิกแล้วนำไปใช้งาน แนะนำให้ใช้คำสั่งลีนุกซ์ ดูฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเราลงถูกต้อง ครบถ้วนไหม

ในที่นี้จะแนะนำคำสั่งเพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์หลัก 3 ส่วนคือ CPU, Memory และ Disk

Continue reading “คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง”

หัดใช้ vi แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์

หากคุณต้องการหัดใช้ลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้ดูแลระบบ (System Administrator) โปรแกรมหนึ่งที่ต้องฝึกใช้ให้เป็นคือ vi เพื่อใช้แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์ หรือ UNIX

ถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรมอื่นเช่น nano ที่เป็นโปรแกรม editor ใช้แก้ไขไฟล์ได้เหมือนกัน และมักจะติดตั้งมาด้วย แต่ในบางเครื่องโดยเฉพาะ UNIX ประเภทอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมนี้มา จะมีเฉพาะ vi เท่านั้น

ดังนั้น จะขอแนะนำวิธีการใช้ vi อย่างง่ายๆ ใช้คำสั่งพื้นฐานเพื่อแก้ไข และบันทึกไฟล์บนลีนุกซ์

Continue reading “หัดใช้ vi แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์”

ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp

ในหลายๆ ครั้ง เรามีไฟล์อยู่บน Windows ต้องการถ่ายโอนไปยังลีนุกซ์ หรือในทำนองกลับกัน ต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากลีนุกซ์กลับมาไว้บน Windows

บทนี้จะแนะนำการใช้โปรแกรม pscp รันบน Windows เพื่อใช้ถ่ายโอนไฟล์ (transfer) กับเครื่องที่รันลีนุกซ์ ผ่านทาง Secure Shell ได้

Continue reading “ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp”

เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์

เนื่องจาก root สามารถทำได้ทุกอย่างบนลีนุกซ์ ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม แก้ไขคอนฟิก หรือกระทั่งสั่งปิดเครื่อง (shutdown)

คำแนะนำอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้ลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นหัดใช้งาน หรือใช้งานมานานแล้ว คือล็อกอินเป็นผู้ใช้ธรรมดาที่ไม่ใช่ root ให้เป็นนิสัย เพราะผู้ใช้งานธรรมดา ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว เช่นดูคอนฟิกของเครื่อง แก้ไขไฟล์เท่าที่มีสิทธิ์ และหากทำอะไรผิดพลาดไป ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะกระทบในระดับหนึ่ง เท่าที่ผู้ใช้คนนั้นจะทำได้ ไม่กระทบทั้งเครื่อง

จนกว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรบางอย่างกับลีนุกซ์ที่จำเป็นต้องทำด้วย root ค่อยใช้คำสั่ง su เปลี่ยนผู้ใช้ root (หรือใช้ sudo) และเมื่อหลังจากแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ก็เปลี่ยนกลับมาเป็น user ธรรมดาอีกครั้ง

ในบทนี้จะอธิบายคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งาน โดยต้องใช้ root เป็นคนรันคำสั่ง

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์”