ติดตั้ง VirtualBox บน Windows 7

โปรแกรม VirtualBox เป็นโปรแกรมสร้างเครื่องเสมือนหรือเครื่องจำลอง (Virtual Machine) ภายในเครื่องของคุณเอง สามารถนำไปใช้สร้างเครื่องจำลองเพื่อทดสอบลงระบบปฏิบัติการ (Operating System) ต่างๆ ได้

โปรแกรม VirtualBox เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป เพราะสามารถใช้งานได้ฟรีภายใต้สิทธิ GPL และมีคุณสมบัติต่างๆ ให้ใช้งานคอนฟิกได้

ลองมาดูขั้นตอนการติดตั้ง VirtualBox บน Windows 7 กันครับ

Continue reading “ติดตั้ง VirtualBox บน Windows 7”

CentOS 7 คอนฟิก Firewall เบื้องต้นด้วย firewall-cmd

สิ่งที่เปลี่ยนไปอีกอย่างใน CentOS 7 หรือ Red Hat Enterprise 7 เมื่อเทียบกับเวอร์ชันเดิม (5, 6) คือเปลี่ยนมาใช้ firewalld เพื่อช่วยให้การคอนฟิก firewall ในลีนุกซ์ทำได้ง่ายขึ้น โดยมีการจัดแบ่งเป็นโซน (zone) จัดกลุ่มพอร์ต (port) เป็นเซอร์วิส (service) และอื่นๆ

จริงๆ แล้ว เบื้องหลัง firewalld ก็ไปเรียกคำสั่ง iptables เพื่อใช้คอนฟิก Netfilter ซึ่งเป็นโมดูลอยู่ในเคอร์เนลลีนุกซ์ ในการจัดการควบคุมแพ็กเกจ (packet filtering) เข้าออกเครื่อง

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง firewall-cmd เพื่อเพิ่มเซอร์วิสเช่น http ให้เครื่องอื่น สามารถมาเรียกใช้เซอร์วิสเว็บในเครื่องของเราได้

Continue reading “CentOS 7 คอนฟิก Firewall เบื้องต้นด้วย firewall-cmd”

CentOS 7 ปรับเวลาให้ตรงมาตรฐาน ntp ด้วย chrony

เวลาเป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้น เครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ เวลาในเครื่องสมควรเป็นเวลามาตรฐาน ตรงกับเครื่องอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกัน

วิธีหนึ่งที่นิยมคือ ใช้โปรแกรมที่รองรับโปรโตคอล NTP ในการปรับเวลาของเครื่องให้ตรงกับ NTP Server ที่ใช้เป็นเวลามาตรฐานโลก ซึ่งเปิดบริการให้เราสามารถคอนฟิกเครื่องเราให้ไปเทียบเวลาได้

ใน CentOS 7 หรือ Red Hat 7 Enterprise ทาง Red Hat แนะนำให้ใช้ chronyd เพราะมีคุณสมบัติหลายอย่างที่ดีกว่า ntpd โดยเฉพาะการปรับเวลาให้ตรงได้เร็วกว่า

ในที่นี้ขออธิบายการติดตั้งและคอนฟิก chrony เพื่อให้เครื่องของเรา sync เวลากับ NTP Server เพื่อให้มีเวลามาตรฐานสากลได้

Continue reading “CentOS 7 ปรับเวลาให้ตรงมาตรฐาน ntp ด้วย chrony”

CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui

ใน CentOS 7 หากต้องการแก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์ก สามารถทำได้ด้วยคำสั่ง nmtui ซึ่งทำงานในโหมดเท็กซ์ ทำให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกผ่านการ ssh หรือคอนโซลของเครื่องได้

แทนที่จะแก้ไขไฟล์คอนฟิกที่อยู่ในไดเรกทอรี /etc/sysconfig/network-scripts/ โดยตรง การใช้ nmtui จะช่วยทำให้แก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์กได้ง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการคอนฟิก

Continue reading “CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui”

CentOS 7 รันคำสั่ง root ด้วย sudo

แทนที่ต้องล็อกอินด้วย root หรือใช้คำสั่ง su – root  แล้วต้องระบุรหัสผ่านของ root เพื่อที่แก้ไขไฟล์หรือรันคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้สิทธิ์ root ในการดำเนินการ

แนะนำให้ใช้ sudo ในการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานบางคน ให้มีสิทธิ์เทียบเท่า root ดำเนินการแทนได้ โดยไม่จำเป็นต้องระบุรหัสผ่านของ root แต่อย่างใด

Continue reading “CentOS 7 รันคำสั่ง root ด้วย sudo”

CentOS 7 ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด

ทุกครั้งหลังการติดตั้งลีนุกซ์หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ก่อนที่จะเริ่มการคอนฟิกหรือลงโปรแกรมอื่นๆ เพิ่มเติม แนะนำให้ปรับปรุง (update) ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งไปแล้วให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดก่อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย โดยรวมให้กับระบบ

Continue reading “CentOS 7 ปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด”

เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X

สำหรับผู้ใช้ Mac ที่เป็นเว็บโปรแกรมเมอร์ สามารถใช้เครื่อง Mac ของคุณ รันเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาและทดสอบเว็บโปรแกรมเช่น php ได้เลย

Mac OS X ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.0 เป็นต้นมา จะมี Apache Web Server ติดตั้งมาด้วย เพียงแต่อาจไม่ได้รันหรือเปิดการใช้งานไว้

ลองมาดูการเปิดใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาบนเครื่อง Mac รวมทั้งคอนฟิกให้สามารถเขียนโปรแกรมภาษา php ได้ด้วย

หมายเหตุ ในที่นี้ทดสอบบน MacBook Pro ที่ติดตั้ง OS X Yosemite (Version 10.10.1)

Continue reading “เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X”

Laravel การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล

หลังจากที่ หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น แล้ว ในตอนนี้เรามาดูวิธีเขียน Laravel เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลกัน

โดยจะใช้วิธีการทำ migrate หรือ migration ของ Laravel ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการจัดการควบคุมเวอร์ชั่นของฐานข้อมูล (version control ของ database) เพื่อให้ laravel ทราบว่า โครงสร้างตารางที่ใช้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และจะสร้าง แก้ไข หรือลบไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามโครงสร้างที่เปลี่ยนไปได้โดยอัตโนมัติ

แล้วใช้ Eloquent ORM เพื่อดึงข้อมูลออกมา

Continue reading “Laravel การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล”

Laravel หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น

การจะใช้ framework เพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมนั้น จะต้องทำความเข้าใจหลักการของ framework ที่จะใช้ก่อน ซึ่งแต่ละโปรแกรมจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบการเขียนโปรแกรม โครงสร้างไฟล์หรือไดเร็กทอรีต่างๆ วิธีการการใช้ Class, Method ที่เกี่ยวข้อง

ครั้นจะทำความเข้าใจทั้งหมดแล้วค่อยลงมือใช้ ตามประสบการณ์ที่ได้ลองแล้ว อ่านๆ ไปบางครั้งนึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวเลยคิดว่าลองทำตามเป็นขั้นๆ ไป น่าจะดี

ในที่นี้เรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ laravel.com และเว็บอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียงตามลำดับที่คิดว่าผู้อ่านที่ไม่เคยใช้มาก่อน (รวมทั้งผู้เขียนเองด้วย) ลองทำตามดูทีละขั้นน่าจะพอเข้าใจ laravel ได้มากขึ้น

แม้แรกๆ จะดูยุ่งยาก แต่พอลองทำไปเรื่อยๆ ดูเป็นระเบียบดี ถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ขึ้น laravel น่าจะช่วยในการดูแล ปรับปรุง โปรแกรมได้ดีมากขึ้น

Continue reading “Laravel หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น”

ติดตั้งและคอนฟิก Laravel เบื้องต้น

ปีใหม่ทั้งที อยากปรับปรุงวิธีการเขียนโปรแกรมให้เป็นรูปแบบมากขึ้น หลายคนแนะนำมาให้ใช้ Framework เลยลองหาข้อมูลศึกษาดู

สำหรับ PHP มีหลาย Framework ที่มีผู้พัฒนาออกมา ให้สามารถนำมาใช้ได้ฟรี ลองเปรียบเทียบหาข้อมูลแล้ว คิดว่า laravel น่าจะดูดีสุด เลยมาแชร์วิธีการใช้กัน

Laravel เป็น PHP Web Application Framework ที่ถูกออกแบบ สำหรับการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย PHP ในรูปแบบ MVC (Model View Controller)

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก Laravel เบื้องต้น”