รีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 Server

2 ปีมีหน Ubuntu ได้ออกเวอร์ชันล่าสุด 16.04 ซึ่งเป็นเวอร์ชัน LTS (Long-term support) ที่ทาง Ubuntu จะสนับสนุนการอัพเดตปรับปรุงซอฟต์แวร์เป็นระยะเวลานานกว่าเวอร์ชันปกติ (5 ปี) ทำให้เหมาะสมกับการนำไปติดตั้งใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ในการทำงานจริง (Production)

ลองมาดูรีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 เวอร์ชัน Server กัน โดยจะติดตั้ง LAMP server

Continue reading “รีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 Server”

Laravel 5.2 – Authentication เปลี่ยนให้ใช้ฟิลด์ username แทนที่ email

ขั้นตอนการเปลี่ยนให้ Laravel Authentication ตอนล็อกอิน (login) ให้ใช้ฟิลด์ชื่อ username แทนที่จะใช้ email

Continue reading “Laravel 5.2 – Authentication เปลี่ยนให้ใช้ฟิลด์ username แทนที่ email”

ติดตั้งและคอนฟิก nginx บน CentOS 7

ว่ากันว่าเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานได้เร็วกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากกว่า และกำลังมาแรงตัวหนึ่ง ด้วยจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (จากข้อมูลของ Netcraft) เลยต้องมาทดลองกันซะหน่อย

ในที่นี้จะทดลองติดตั้งและคอนฟิกแบบง่ายๆ บน CentOS 7 โดยใช้แพ็กเกจที่อยู่ใน EPEL ที่เป็นเวอร์ชัน 1.6 ซึ่งเป็นเวอร์ชันหลัก (stable) เดิมอยู่ ล่าสุด ณ ตอนที่เขียนเวอร์ชันหลัก (stable) ล่าสุดเป็นเวอร์ชัน 1.8.x แล้ว

และพร้อมติดตั้งแพ็กเกจ php-fpm เพื่อให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ nginx รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา php ได้
Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก nginx บน CentOS 7”

สร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ด้วย PrestaShop บน CentOS 7

มาทดลองติดตั้ง PrestaShop อีกสักโปรแกรม ที่มีขั้นตอนการติดตั้งมากกว่าติดตั้ง WordPress อยู่หน่อย แต่ก็ไม่น่ายากเกินไปสำหรับเราแล้ว :)

PrestaShop เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี มีคุณสมบัติการใช้งานทั้งระบบการสร้างร้านค้า การซื้อขาย ระบบการจ่ายเงิน ธีมหน้าการออกแบบเว็บให้สามารถเลือกใช้ และอื่นๆ อีกมากมาย

PrestaShop ถูกพัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูลหลักในการเก็บข้อมูล ดังนั้นเราจะลองติดตั้งบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ตัวเดียวกันกับที่เราเพิ่งลองติดตั้ง WordPress ไป

Continue reading “สร้างเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ด้วย PrestaShop บน CentOS 7”

ติดตั้ง WordPress บน CentOS 7

หลังจากที่เราติดตั้งลีนุกซ์ CentOS 7  ลงเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache ที่มีโมดูล PHP  แล้วก็ติดตั้งคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล  MariaDB เสร็จเรียบร้อยแล้ว

ลองมาทดสอบการใช้งานกัน ด้วยการลง WordPress โปรแกรม CMS ยอดนิยม

Continue reading “ติดตั้ง WordPress บน CentOS 7”

ติดตั้ง PHP บน CentOS 7

เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้จาก ติดตั้งและคอนฟิกเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache บน CentOS 7 เบื้องต้น จะรองรับไฟล์เว็บ .html ธรรมดาเท่านั้น ไม่สามารถเขียนเว็บโปรแกรมเพื่อประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ก่อนแสดงผลได้ (Server-side scripting)

หากต้องการเขียนโปรแกรมเช่น php ต้องติดตั้งโมดูล (Apache Module) เพื่อโหลดในเว็บเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติม

Continue reading “ติดตั้ง PHP บน CentOS 7”

เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X

สำหรับผู้ใช้ Mac ที่เป็นเว็บโปรแกรมเมอร์ สามารถใช้เครื่อง Mac ของคุณ รันเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาและทดสอบเว็บโปรแกรมเช่น php ได้เลย

Mac OS X ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.0 เป็นต้นมา จะมี Apache Web Server ติดตั้งมาด้วย เพียงแต่อาจไม่ได้รันหรือเปิดการใช้งานไว้

ลองมาดูการเปิดใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาบนเครื่อง Mac รวมทั้งคอนฟิกให้สามารถเขียนโปรแกรมภาษา php ได้ด้วย

หมายเหตุ ในที่นี้ทดสอบบน MacBook Pro ที่ติดตั้ง OS X Yosemite (Version 10.10.1)

Continue reading “เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X”

Laravel การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล

หลังจากที่ หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น แล้ว ในตอนนี้เรามาดูวิธีเขียน Laravel เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลกัน

โดยจะใช้วิธีการทำ migrate หรือ migration ของ Laravel ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการจัดการควบคุมเวอร์ชั่นของฐานข้อมูล (version control ของ database) เพื่อให้ laravel ทราบว่า โครงสร้างตารางที่ใช้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และจะสร้าง แก้ไข หรือลบไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามโครงสร้างที่เปลี่ยนไปได้โดยอัตโนมัติ

แล้วใช้ Eloquent ORM เพื่อดึงข้อมูลออกมา

Continue reading “Laravel การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล”

Laravel หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น

การจะใช้ framework เพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมนั้น จะต้องทำความเข้าใจหลักการของ framework ที่จะใช้ก่อน ซึ่งแต่ละโปรแกรมจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบการเขียนโปรแกรม โครงสร้างไฟล์หรือไดเร็กทอรีต่างๆ วิธีการการใช้ Class, Method ที่เกี่ยวข้อง

ครั้นจะทำความเข้าใจทั้งหมดแล้วค่อยลงมือใช้ ตามประสบการณ์ที่ได้ลองแล้ว อ่านๆ ไปบางครั้งนึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวเลยคิดว่าลองทำตามเป็นขั้นๆ ไป น่าจะดี

ในที่นี้เรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ laravel.com และเว็บอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียงตามลำดับที่คิดว่าผู้อ่านที่ไม่เคยใช้มาก่อน (รวมทั้งผู้เขียนเองด้วย) ลองทำตามดูทีละขั้นน่าจะพอเข้าใจ laravel ได้มากขึ้น

แม้แรกๆ จะดูยุ่งยาก แต่พอลองทำไปเรื่อยๆ ดูเป็นระเบียบดี ถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ขึ้น laravel น่าจะช่วยในการดูแล ปรับปรุง โปรแกรมได้ดีมากขึ้น

Continue reading “Laravel หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น”

ติดตั้งและคอนฟิก Laravel เบื้องต้น

ปีใหม่ทั้งที อยากปรับปรุงวิธีการเขียนโปรแกรมให้เป็นรูปแบบมากขึ้น หลายคนแนะนำมาให้ใช้ Framework เลยลองหาข้อมูลศึกษาดู

สำหรับ PHP มีหลาย Framework ที่มีผู้พัฒนาออกมา ให้สามารถนำมาใช้ได้ฟรี ลองเปรียบเทียบหาข้อมูลแล้ว คิดว่า laravel น่าจะดูดีสุด เลยมาแชร์วิธีการใช้กัน

Laravel เป็น PHP Web Application Framework ที่ถูกออกแบบ สำหรับการพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันด้วย PHP ในรูปแบบ MVC (Model View Controller)

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก Laravel เบื้องต้น”