ติดตั้ง PHP 7 บน CentOS 7

ด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน และคุณสมบัติของภาษาที่เพิ่มมากขึ้น แล้วก็ออกเวอร์ชันใหม่นี้ได้มาสักระยะเวลานึงแล้ว น่าจะได้เวลาเปลี่ยนมาทดลองใช้ PHP 7 กัน

มาดูวิธีการติดตั้ง PHP 7 บน CentOS 7 ซึ่งจะใช้ yum ติดตั้งแพ็คเกจจาก repo ที่ชื่อ webtatic

Continue reading “ติดตั้ง PHP 7 บน CentOS 7”

เขียน PHP เพื่ออ่านไฟล์เวิร์ดจุฬา CU WRITER

ระลึกชาติกันเลยทีเดียว ได้เห็นโปรแกรมเวิร์ดจุฬา หรือ CU WRITER อีกครั้ง พร้อมเสียงเพลงตอนเปิดโปรแกรม

cw00

งานที่ต้องทำคืออ่านไฟล์ .cw แล้วบันทึกให้เป็นไฟล์ .txt เพื่อนำไปใช้งานอื่นๆ ต่อไป

ขอไม่กล่าวถึงการ copy ไฟล์ออกมา ถ้าไฟล์อยู่ในไดร์ฟ A ไม่ว่าจะเป็น 3.5 หรือ 5.25 นิ้ว คงต้องไปหาทางกันเอาเอง :)

ในที่นี้จะถือว่าคุณมีไฟล์ .cw อยู่ในเครื่องลีนุกซ์ที่ติดตั้ง PHP เรียบร้อยแล้ว เราจะมาเขียน PHP เพื่ออ่านไฟล์ .cw กัน

หมายเหตุ ด้วยความเคารพครับ ขออนุญาตอาจารย์ผู้เขียนโปรแกรม CU WRITER ด้วยครับ ที่ขอดูรูปแบบการเก็บไฟล์

Continue reading “เขียน PHP เพื่ออ่านไฟล์เวิร์ดจุฬา CU WRITER”

Laravel 5.2 – Authentication เปลี่ยนให้ใช้ฟิลด์ username แทนที่ email

ขั้นตอนการเปลี่ยนให้ Laravel Authentication ตอนล็อกอิน (login) ให้ใช้ฟิลด์ชื่อ username แทนที่จะใช้ email

Continue reading “Laravel 5.2 – Authentication เปลี่ยนให้ใช้ฟิลด์ username แทนที่ email”

คอนฟิก BIND DNS เก็บข้อมูลโซนโดเมนไว้ใน SQLite บน CentOS 7

จากบทความ คอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน ที่ผ่านมา หลังจากที่เราตัดสินใจตั้งเซิร์ฟเวอร์ DNS เพื่อเก็บข้อมูลโดเมนของเราเองแล้วนั้น หากมีการแก้ไขข้อมูลของโดเมน เช่นมีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง ชื่อ (hostname) กับ IP Address หรือข้อมูลอื่น ก็ต้องมีการแก้ไขไฟล์โซนของโดเมนนั้นๆ

ดีฟอลต์จากการติดตั้ง BIND ผู้ดูแลระบบต้องแก้ไขคอนฟิกโซนโดเมน ในรูปแบบการแก้ไขไฟล์ โดยใช้ editor เช่น vi หรือ nano และหลังการแก้ไขเสร็จสิ้น ก็ต้องรีสตาร์ตเซอร์วิส named ใหม่

เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้นของผู้ดูแลระบบ ในที่นี้ขอแนะนำการคอนฟิก BIND ให้เก็บข้อมูลโซนโดเมน ไว้ในรูปแบบฐานข้อมูล (SQLite) เวลาแก้ไขข้อมูล ก็ปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลโดยตรง แต่หลังแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรีสตาร์ตเซอร์วิส named ใหม่อีกครั้ง

Continue reading “คอนฟิก BIND DNS เก็บข้อมูลโซนโดเมนไว้ใน SQLite บน CentOS 7”

สร้างกราฟเส้นบนหน้าเว็บด้วย Google Charts

บทความนี้ขอแนะนำการเขียนหน้าเว็บ (html) เพื่อนำแสดงข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น (line chart)  เปรียบเทียบข้อมูลที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันเท่าไร  ระหว่างจำนวน likes ของแฟนเพจ SpaLinux และ SET Index ในช่วงเวลาประมาณ 4 เดือนที่ผ่านมา ที่ทั้งสองค่าเริ่มต้นด้วยค่าใกล้เคียงกันประมาณ 1,500 และวันนี้จำนวน likes ของ SpaLinux เกิน 1,600 แล้ว (ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ กดไลค์กัน) แต่ SET Index นี่สิ…

มี Library ให้เลือกใช้ในการช่วยสร้างกราฟมากมาย แต่เนื่องด้วย Google เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ (ก็ดูไม่ค่อยเกี่ยวข้องอยู่ดี) ในที่นี้ก็เลยขอใช้ Google Chart API ซึ่งเป็น JavaScript API ให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้ฟรี ใช้งานง่าย และมีคุณสมบัติมากมาย

Continue reading “สร้างกราฟเส้นบนหน้าเว็บด้วย Google Charts”

Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed

คำสั่ง sed (Stream EDitor) เป็นอีกคำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์ที่ใช้กันบ่อย เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเท็กซ์จากต้นทาง (input) ให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ (output)

นอกจากลีนุกซ์แล้ว บนยูนิกซ์ (Unix) เกือบทุกตระกูลรวมทั้ง Mac OS จะมีคำสั่ง sed ติดตั้งมาให้โดยดีฟอลต์ จะแตกต่างกันตรงเวอร์ชันที่ติดตั้ง ของลีนุกซ์จะใช้เป็น GNU sed ซึ่งจะมีออปชันให้ใช้มากหน่อย แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแค่การใช้ sed แบบพื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับ sed ทุกเวอร์ชัน

Continue reading “Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed”

ติดตั้ง PHP บน CentOS 7

เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ได้จาก ติดตั้งและคอนฟิกเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache บน CentOS 7 เบื้องต้น จะรองรับไฟล์เว็บ .html ธรรมดาเท่านั้น ไม่สามารถเขียนเว็บโปรแกรมเพื่อประมวลผลบนเซิร์ฟเวอร์ก่อนแสดงผลได้ (Server-side scripting)

หากต้องการเขียนโปรแกรมเช่น php ต้องติดตั้งโมดูล (Apache Module) เพื่อโหลดในเว็บเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติม

Continue reading “ติดตั้ง PHP บน CentOS 7”

เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X

สำหรับผู้ใช้ Mac ที่เป็นเว็บโปรแกรมเมอร์ สามารถใช้เครื่อง Mac ของคุณ รันเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องพัฒนาและทดสอบเว็บโปรแกรมเช่น php ได้เลย

Mac OS X ตั้งแต่เวอร์ชัน 10.0 เป็นต้นมา จะมี Apache Web Server ติดตั้งมาด้วย เพียงแต่อาจไม่ได้รันหรือเปิดการใช้งานไว้

ลองมาดูการเปิดใช้งานเว็บเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมาบนเครื่อง Mac รวมทั้งคอนฟิกให้สามารถเขียนโปรแกรมภาษา php ได้ด้วย

หมายเหตุ ในที่นี้ทดสอบบน MacBook Pro ที่ติดตั้ง OS X Yosemite (Version 10.10.1)

Continue reading “เปิดใช้ Apache, PHP เว็บเซิร์ฟเวอร์บน Mac OS X”

Laravel การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล

หลังจากที่ หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น แล้ว ในตอนนี้เรามาดูวิธีเขียน Laravel เพื่อเชื่อมต่อฐานข้อมูลกัน

โดยจะใช้วิธีการทำ migrate หรือ migration ของ Laravel ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการจัดการควบคุมเวอร์ชั่นของฐานข้อมูล (version control ของ database) เพื่อให้ laravel ทราบว่า โครงสร้างตารางที่ใช้นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และจะสร้าง แก้ไข หรือลบไฟล์ที่เกี่ยวข้องตามโครงสร้างที่เปลี่ยนไปได้โดยอัตโนมัติ

แล้วใช้ Eloquent ORM เพื่อดึงข้อมูลออกมา

Continue reading “Laravel การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล”

Laravel หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น

การจะใช้ framework เพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรมนั้น จะต้องทำความเข้าใจหลักการของ framework ที่จะใช้ก่อน ซึ่งแต่ละโปรแกรมจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ทั้งรูปแบบการเขียนโปรแกรม โครงสร้างไฟล์หรือไดเร็กทอรีต่างๆ วิธีการการใช้ Class, Method ที่เกี่ยวข้อง

ครั้นจะทำความเข้าใจทั้งหมดแล้วค่อยลงมือใช้ ตามประสบการณ์ที่ได้ลองแล้ว อ่านๆ ไปบางครั้งนึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวเลยคิดว่าลองทำตามเป็นขั้นๆ ไป น่าจะดี

ในที่นี้เรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ laravel.com และเว็บอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียงตามลำดับที่คิดว่าผู้อ่านที่ไม่เคยใช้มาก่อน (รวมทั้งผู้เขียนเองด้วย) ลองทำตามดูทีละขั้นน่าจะพอเข้าใจ laravel ได้มากขึ้น

แม้แรกๆ จะดูยุ่งยาก แต่พอลองทำไปเรื่อยๆ ดูเป็นระเบียบดี ถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ขึ้น laravel น่าจะช่วยในการดูแล ปรับปรุง โปรแกรมได้ดีมากขึ้น

Continue reading “Laravel หัดใช้ Route และ View เบื้องต้น”