ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server

บทความนี้ไม่มีไรมาก แค่ทดลองสร้างดิสก์ใน VMware Server ด้วยขนาดต่างๆ ที่ใกล้เคียงกับขนาดฮาร์ดดิสก์จริงๆ (physical disk) ที่มีขายทั่วไป ทั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบค่าต่างๆ เช่น จำนวน cylinder, block, หรือ disk size ที่ใช้ได้จริงหลังการสร้าง filesystem แบบ ext3 บนลินุกซ์

Continue reading “ทดลองสร้างดิสก์ขนาดต่างๆ ใน VMware Server”

ติดตั้ง Fedora 10 แบบประหยัดพื้นที่สุด

บทความนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้ง Fedora 10 โดยจะเลือกลงโปรแกรม (Package) ให้น้อยที่สุด ด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยากมากนัก แล้วยังสามารถนำเครื่องที่ลงนี้ไปใช้งานทำเป็น server อื่นๆ ต่อไปได้

Continue reading “ติดตั้ง Fedora 10 แบบประหยัดพื้นที่สุด”

คอนฟิกเน็ตเวิร์กหลังการติดตั้ง Fedora 10

ตอนติดตั้ง Fedora 10 จะไม่มีการให้เลือกคอนฟิก network เลย (ไม่รู้ว่าเพราะอะไรเหมือนกัน) เราต้องมาคอนฟิกเองหลังจากติดตั้งเสร็จแล้วบู๊ตเครื่อง โดยสามารถใช้คำสั่ง system-config-network เพื่อช่วยคอนฟิกได้

Continue reading “คอนฟิกเน็ตเวิร์กหลังการติดตั้ง Fedora 10”

ติดตั้ง Fedora ผ่านเน็ตเวิร์กด้วย Cobbler

โดยทั่วไปการติดตั้งลีนุกซ์จะทำผ่านแผ่นซีดีหรือดีวีดี แต่ถ้าเป็นการติดตั้งหลายๆ เครื่อง ปริมาณมากๆ เราสามารถทำได้โดยติดตั้งผ่านเน็ตเวิร์กได้ โดยคอนฟิกเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็น server แล้วให้เครื่องอื่นๆ บู๊ตผ่านเน็ตเวิร์ก (PXE Boot) มาอ่านไฟล์จากเครื่องนี้ได้ โดยไม่จำเป็นใส่แผ่นซีดีแต่ละเครื่อง

และถ้าต้องการให้คอนฟิกแต่ละเครื่องเหมือนกัน เช่นการเลือกโปรแกรมที่จะติดตั้ง การคอนฟิก timezone, keyboard สามารถใช้ kickstart เข้าช่วยได้

ในบทความนี้จะแนะนำโปรแกรม cobbler ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยในการคอนฟิกและสร้าง network boot server โดยจะช่วยสร้างคอนฟิกที่จำเป็นเช่น dhcp server พร้อมทั้ง image เพื่อให้เครื่องอื่นๆ มาเรียกใช้ได้

Continue reading “ติดตั้ง Fedora ผ่านเน็ตเวิร์กด้วย Cobbler”

คอมไพล์ Linux kernel บน Fedora 9 ในรูปแบบ RPMS

โดยทั่วไป kernel ที่ติดตั้งมากับลินุกซ์เวอร์ชั่น (distribution) ต่างๆ รวมทั้ง Fedora ด้วย จะสามารถใช้งานได้เลย รองรับอุปกรณ์ hardware ได้ส่วนใหญ่หลากหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด

แต่ในบางครั้งถ้ามีอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ kernel ไม่รู้จัก หรือต้องการจะปรับแต่ง kernel ให้เรียกใช้งานเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่จริงๆ ทั้งนี้เพื่อประหยัด CPU/Memory ที่ถูกใช้โดยเปล่าประโยชน์ รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวลินุกซ์เองด้วย

ในบทความนี้จึงขอแนะนำวิธีปรับแต่ง kernel และคอมไพล์ใหม่ โดยจะทดสอบบน Fedora 9

Continue reading “คอมไพล์ Linux kernel บน Fedora 9 ในรูปแบบ RPMS”

ปรับแต่งเครื่องหลังจากติดตั้ง Fedora 9 – แก้ไขคอนโซล (Text Console)

หลายคนเมื่อติดตั้งลินุกซ์เรียบร้อยแล้ว เกิดคำถามว่าทำอะไรต่อดี เริ่มต้นคอนฟิกอย่างไร  ในบทความนี้ขอเริ่มแนะนำคอนฟิกเพื่อการปรับแต่งคอนโซลของเครื่องลินุกซ์ ซึ่งจะมีทั้งปรับแต่งเพื่อความปลอดภัย และประหยัด Memory ที่ใช้

หมายเหตุ คอนโซล ในที่นี้หมายถึง text console ที่แสดงผลในรูปแบบตัวอักษร ไม่ใช่ X Window

Continue reading “ปรับแต่งเครื่องหลังจากติดตั้ง Fedora 9 – แก้ไขคอนโซล (Text Console)”

ปรับปรุง samba เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดใน Fedora 9

หลังจาก ติดตั้ง Fedora 9 แบบประหยัดพื่นที่สุด ในบทความนี้ จะแนะนำวิธีการปรับปรุง (update) และติดตั้งโปรแกรม Samba เพิ่มเติม เพื่อเตรียมเครื่องสำหรับคอนฟิกทำหน้าที่เป็น Samba PDC ต่อไป

เวอร์ชั่นของ Samba ที่ติดตั้งมาพร้อมกับ Fedora 9 นั้น ปรับปรุงมาจาก pre-release ซึ่งตอนต้นเดือนกรกฎาคม Samba ได้ออกเวอร์ชั่น 3.2 แบบสมบูรณ์มา ดังนั้นก่อนที่จะนำไปคอนฟิกต่อไป แนะนำให้ปรับปรุงเป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

Continue reading “ปรับปรุง samba เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดใน Fedora 9”

การเปลี่ยน Network Interface Card (NIC) ใน Fedora 9

บทความนี้จะอธิบายการเปลี่ยน Network Interface Card (NIC) โดยแทนที่การ์ดใบเก่า ด้วยการ์ดใบใหม่ที่มี MAC Address ไม่เหมือนกัน แต่ต้องการใช้งานเหมือนเดิม เช่นให้ใช้ชื่อเป็น eth0 และคอนฟิกต่างๆ เหมือนเดิม

โดยดีฟอลต์แล้วใน Fedora หรือ Linux Distribution อื่นๆ ที่เป็นเวอร์ชั่นใหม่ๆ จะมีโปรแกรมช่วยในการจัดการการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ (Hardware) ของเครื่องโดยอัตโนมัติ ที่มีชื่อว่า udev โดยโปรแกรมนี้จะสร้างคอนฟิกแบบพื้นฐานเพื่อให้สามารถใช้งานได้เลย ซึ่งจะเก็บคอนฟิกไว้ใน /etc/udev/

ซึ่งทำให้เมื่อเปลี่ยน Network Interface Card เป็นการ์ดใบใหม่ โปรแกรม udev ตรวจสอบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์ ซึ่งดูได้จาก MAC Address ที่เปลี่ยนแปลง โปรแกรม udev ก็จะสร้างคอนฟิกใหม่ ซึ่งอาจจะสร้างเป็น eth1 ได้

Continue reading “การเปลี่ยน Network Interface Card (NIC) ใน Fedora 9”

การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (hostname) ใน Fedora 9

บทความนี้อธิบายถึงวิธีการเปลี่ยนชื่อเครื่อง (hostname) ใน Fedora ด้วยวิธีแก้ไขไฟล์คอนฟิกโดยตรง ไม่ได้ใช้โปรแกรมช่วยในการแก้ไข ในตัวอย่างจะเป็นการเปลี่ยนชื่อเครื่องจากชื่อ oldname.your-domain.com ไปเป็น newname.your-domain.com

หมายเหตุ บทความนี้อธิบายเฉพาะการเปลี่ยนแปลงชื่อเครื่องพื้นฐานเท่านั้น ซึ่งหลังจากเปลี่ยนชื่อนั้แล้ว คุณอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อในคอนฟิกส่วนอื่นๆ ด้วยเช่น ใน Mail Server, Web Server, File Sharing Server หรือชื่อที่ลงทะเบียนไว้ใน DNS Server

Continue reading “การเปลี่ยนชื่อเครื่อง (hostname) ใน Fedora 9”

ยกเลิกการรัน service ที่ไม่ใช้ใน Fedora 9

จากบทความ [ติดตั้ง Fedora 9 แบบประหยัดพื้นที่สุด] ถึงแม้ว่าตอนติดตั้ง Fedora 9 เราจะไม่เลือก Package Group ใดๆ ตอนติดตั้ง แต่ก็ยังมีโปรแกรม (หรือ service) รันขึ้นมาตั้งแต่แรกเลยอีกพอสมควร

ในบทความนี้จะแนะนำการปิด service ที่ไม่จำเป็น หรือยกเลิกการรันซะ เพื่อประหยัดทั้ง CPU และ Memory แล้วยังเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องเราอีกระดับหนึ่งด้วย

Continue reading “ยกเลิกการรัน service ที่ไม่ใช้ใน Fedora 9”