บทความนี้จะอธิบายคอนฟิก MySQL Replication เพื่อ replicate ข้อมูลระหว่าง MySQL Database Server สองเครื่อง ทั้งแบบ Master-Slave และ Master-Master โดยทดสอบกับเวอร์ชั่น 5.5 ที่ติดตั้งบน CentOS 6
Category: CentOS 6
ติดตั้ง MySQL 5.5 บน CentOS 6 จาก MySQL Yum Repository
เพื่อประสิทธิภาพและได้ใช้ประโยชน์กับคุณสมบัติใหม่ๆ ของ MySQL แนะนำให้อัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นใหม่
บทความนี้จะแนะนำวิธีการการใช้ yum ติดตั้ง MySQL 5.5 โดยใช้ repo ของเว็บ MySQL เอง เพื่อแทนที่เวอร์ชั่นเดิม 5.1 ที่มากับ CentOS 6
Continue reading “ติดตั้ง MySQL 5.5 บน CentOS 6 จาก MySQL Yum Repository”
แก้ปัญหา SELinux Context ผิด ด้วย restorecon
แม้ SELinux ช่วยให้ลีนุกซ์มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็สร้างความปวดหัวให้กับผู้ดูแลระบบพอสมควรในการแก้ไขปัญหา ทำให้หลายคนปิดคุณสมบัตินี้ไป
ปัญหาหนึ่งที่จะพบบ่อยคือ Security Context หรือ Label ของไฟล์ผิดไป ทำให้บางโปรเซสอ่านไฟล์ไม่ได้ เพราะว่า SELinux จะมีการกำหนด (policy) ว่าแต่ละโปรเซสจะสามารถอ่านไฟล์อะไรได้บ้าง
Continue reading “แก้ปัญหา SELinux Context ผิด ด้วย restorecon”
ลบ route เน็ต 169.254.0.0 ออกจากลีนุกซ์ CentOS
Zeroconf ช่วยให้เครื่องที่อยู่ในเน็ตเดียวกันสามารถคุยกันได้ แม้ไม่ต้องคอนฟิก IP หรือไม่ต้องใช้ DHCP โดย Zeroconf จะคอนฟิกไอพีให้อยู่ในเน็ต 169.254.0.0 (link-local) โดยอัตโนมัติ ใช้งานได้ทั้ง Windows, Linux
หากลองสังเกตดู เช่นคุณตั้งใจเซ็ตให้เครื่องรับไอพีจาก DHCP Server แต่ DHCP ใช้งานไม่ได้ ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม ลองดู Status จะเห็นว่าเครื่องคุณจะได้ไอพีที่อยู่ในเน็ต 169.254.0.0 มาโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการได้รับไอพี 169.254.0.0 บนเครื่องที่ติดตั้ง Windows 7 ในกรณีที่ DHCP ใช้งานไม่ได้
Continue reading “ลบ route เน็ต 169.254.0.0 ออกจากลีนุกซ์ CentOS”
คอนฟิก QoS บนลีนุกซ์ด้วย HTB
หากคุณใช้ลีนุกซ์เป็น gateway หรือ router เชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์ก เช่นระหว่างภายในบริษัทและอินเตอร์เน็ต และต้องการควบคุมปริมาณการส่งข้อมูล Traffic Control หรือ QoS เช่นกำหนดว่าให้ใคร (ip, port) สามารถใช้ bandwidth ได้เท่าไรบ้าง
เท่าที่ผู้เขียนทดลองมา คิดว่าการใช้คำสั่ง tc คอนฟิกการใช้ bandwidth ด้วย HTB บนลีนุกซ์ น่าจะเป็นวิธีการคอนฟิกที่ง่ายที่สุด และยังสามารถกำหนดรายละเอียดในการคอนฟิกได้ค่อนข้างละเอียดอีกด้วย
วิธีการใช้ tape backup บนลีนุกซ์
การอ่านหรือเขียนข้อมูลของเทป (tape) จะแตกต่างจากฮาร์ดดิสก์ (hard disk) คือ เทปต้องอ่านหรือเขียนแบบต่อเนื่อง (sequential access) ไม่สามารถอ่านได้แบบระบุตำแหน่ง (random access) เหมือนฮาร์ดดิสก์ได้ ทำให้การอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ต้องการจะทำได้ช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ แม้จะมีโปรแกรมช่วยให้ระบุตำแหน่งข้อมูลบนเทปได้บ้าง แต่กว่าจะอ่านข้อมูลได้ ก็ต้องรอม้วนเทปหมุนไป ณ ตำแหน่งนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ฮาร์ดดิส ที่มีหัวอ่านและจานเก็บข้อมูล ที่ชี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้เลย
คำสั่งที่ใช้ในการอ่านหรือเขียนก็แตกต่างกัน เช่นต้องการ copy ไฟล์ลงบนฮาร์ดดิสก์ เราใช้คำสั่ง cp แต่ถ้าต้องการอ่านหรือเขียนข้อมูลจากเทปเราต้องใช้คำสั่งที่อ่านแบบต่อเนื่องเช่นคำสั่ง tar หรือ cpio บนลีนุกซ์หรือยูนิกซ์
เราลองมาดูขั้นตอนการใช้เทปบนลีนุกซ์กัน โดยจะใช้คำสั่ง tar เพื่อเขียนและอ่านข้อมูลในเทป ทดสอบบน CentOS 6
คอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตเดียวกันบนลีนุกซ์
บางครั้งเราต้องคอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตแลนเดียวกัน (หรือเรียกว่าสร้าง Virtual IP เพิ่มเติม หรือคอนฟิก Secondary IP ในอุปกรณ์ Cisco)
ใบบทความนี้ จะอธิบายวิธีคอนฟิกทั้งการเพิ่ม และลบ IP บนลีนุกซ์
Continue reading “คอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตเดียวกันบนลีนุกซ์”
คอนฟิก Apache HTTP Authentication ให้ใส่ Username, Password ก่อนเข้าเว็บ
หากต้องการปกป้องเว็บไซต์ ให้เข้าได้เฉพาะคนที่มีสิทธิ์เท่านั้น คือต้องใส่ Username, Password ให้ถูกต้องก่อน ถึงจะเข้าหน้าเว็บไซต์ได้
วิธีหนึ่งที่คอนฟิกง่ายที่สุดคือ ใช้ HTTP Authentication ซึ่งเป็นคุณสมบัติของตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์เอง เช่น Apache เพียงแค่แก้ไขคอนฟิกของเว็บเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมแต่อย่างใด
ลองมาดูวิธีคอนฟิกทำ HTTP Basic Authentication ซึ่งเป็นการทำ HTTP Authentication แบบง่ายสุดของ Apache ที่ติดตั้งบน CentOS 6 กัน
Continue reading “คอนฟิก Apache HTTP Authentication ให้ใส่ Username, Password ก่อนเข้าเว็บ”
แก้ไขปัญหา RAID บนลีนุกซ์ใช้งานไม่ได้ ขึ้น inactive
เพิ่งจะแก้ไขปัญหา inactive RAID (mdadm) บนลีนุกซ์เสร็จสิ้น ข้อมูลที่อยู่ใน RAID กลับมาใช้งานได้อีก เลยขอแชร์เล่าประสบการณ์กัน
Continue reading “แก้ไขปัญหา RAID บนลีนุกซ์ใช้งานไม่ได้ ขึ้น inactive”
อ่านเขียนดิสก์ NTFS บนลีนุกซ์
ลีนุกซ์รองรับ filesystem ของฮาร์ดดิสก์ได้หลายรูปแบบ ทำให้เราสามารถใช้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์บนดิสก์ที่มาจาก OS อื่นๆ ได้
ลักษณะการใช้ที่เจอบ่อยคือลงลีนุกซ์บนเครื่องเดียวกับ Windows แล้วอยากให้ลีนุกซ์อ่านหรือเขียนไฟล์ลงบนดิสก์หรือพาร์ทิชั่นที่เป็น Windows
หรืออีกแบบคือนำฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Disk ที่ format มาเป็น NTFS มาต่อเครื่องที่ติดตั้งลีนุกซ์
ในบทความนี้ขอแนะนำวิธีการติดตั้ง ntfs-3g บน CentOS 6 เพื่อใช้ mount ดิสก์ที่เป็น NTFS บนลีนุกซ์ ให้สามารถอ่าน เขียนไฟล์ได้