PowerDNS เซิร์ฟเวอร์ DNS ที่สามารถบริหารจัดการผ่านเว็บ PHP, MySQL

เพื่อขีวิตที่ง่ายขึ้นในการดูแล DNS Server วันนี้ขอแนะนำ PowerDNS ที่สามารถทำหน้าที่รันเป็น DNS เซิร์ฟเวอร์ได้ อีกหนึ่งทางเลือกนอกจาก BIND

แทนที่จะเก็บข้อมูลโดเมน (domain) โซน (zone) เป็นเท็กซ์ไฟล์แบบใน BIND  เราสามารถคอนฟิก PowerDNS เลือกเก็บข้อมูลโดเมนไว้ในฐานข้อมูลได้ โดยรองรับทั้ง MySQL,  PostgreSQL, SQLite หรือแม้กระทั่ง LDAP

แล้วเราสามารถใช้โปรแกรม PowerAdmin บริหารจัดการข้อมูลของ PowerDNS ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม แก้ไข ลบข้อมูล ผ่านหน้าเว็บได้โดยง่าย

ในที่นี้จะแสดงตัวอย่างการติดตั้ง PowerDNS หรือชื่อแพ็คเกจ rpm ว่า pdns บน CentOS 6 โดยจะติดตั้ง pdns จาก EPEL repo แล้วติดตั้งโปรแกรม PowerAdmin โดยดาวน์โหลดไฟล์ zip จากเว็บของ PowerAdmin

Continue reading “PowerDNS เซิร์ฟเวอร์ DNS ที่สามารถบริหารจัดการผ่านเว็บ PHP, MySQL”

yum แพ็คเกจบน CentOS 6 ได้มากขึ้นด้วย EPEL

หากเทียบจำนวนชุดโปรแกรม (packages) ที่จัดทำเป็นไฟล์ rpm พร้อมให้ติดตั้งด้วย rpm หรือ yum แล้ว จำนวนไฟล์หรือ packages ของ Fedora จะมีมากกว่า CentOS มาก ยิ่งเวอร์ชั่นใหม่ๆ  ของ Fedora ไม่ว่าเราอยากจะติดตั้งอะไร yum install แทบจะได้หมด โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้ง repo เพิ่มเลย

ส่วนผู้ใช้ CentOS หรือ RedHat Enterprise ต้องใช้ความพยายามมากกว่า ในการติดตั้งบางโปรแกรมที่ไม่มีอยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง อาจต้องไปดาวน์โหลดไฟล์ rpm จากเว็บไซต์หลายๆ แห่ง

เพื่อช่วยให้งานง่ายขึ้น ทีมงานที่พัฒนา Fedora จึงได้จัดทำ repo ขึ้นมาชื่อว่า EPEL (ย่อมาจาก Extra Packages for Enterprise Linux) สำหรับผู้ใช้ RedHat Enterprise, CentOS  เพื่อให้ผู้ใช้ได้ติดตั้งชุดโปรแกรม หรือ packages ได้มากขึ้น โดยอิงกับชุดโปรแกรมที่มีอยู่ใน Fedora

Continue reading “yum แพ็คเกจบน CentOS 6 ได้มากขึ้นด้วย EPEL”

ติดตั้ง Drupal บน CentOS 6

Drupal ไม่ได้เป็นแค่โปรแกรม CMS (Content Management system) แต่จัดว่าเป็นประเภท CMF (Content Management Framework) ได้เลย คือเราสามารถนำ Drupal ที่เรียกว่า Core มาพัฒนาต่อยอดให้เป็นเว็บโปรแกรมทำงานด้านอื่นๆ  ได้

เพื่อความง่ายในการติดตั้ง ผู้พัฒนาต่อยอดจะรวบรวมการแก้ไขและ module ต่างๆ ที่ต้องใช้ เป็น Drupal Distribution ในชื่อต่างๆ

ถ้าต้องการศึกษาทดลองใช้ Drupal ในเบื้องต้น ซึ่งในบทความนี้จะแสดงวิธีการติดตั้ง Core ให้ดาวน์โหลด Drupal Core

แต่ถ้าต้องการใช้ชุดโปรแกรมที่พัฒนาต่อยอดมาแล้ว ให้เลือกดาวน์โหลดที่ Distributions ที่ต้องการใช้ได้เลย

ในที่นี้จะทดลองติดตั้ง Drupal บน CentOS 6.3 ที่มี Apache, PHP และ MySQL ติดตั้งอยู่แล้ว

Continue reading “ติดตั้ง Drupal บน CentOS 6”

แก้ไขปัญหา BIND DNS ขึ้น named error (network unreachable) resolving

หากต้องการแก้ไขปัญหาการใช้งาน BIND เพื่อรันเซอร์วิสเป็น DNS Server สามารถดูเหตุการณ์หรือข้อผิดพลาด (error) ที่เกิดขึ้นในไฟล์ /var/log/messages โดยจะใช้ชื่อโปรแกรมเป็น named

ปัญหาหนึ่งที่ค่อนข้างกวนใจสำหรับการใช้งาน คือมักจะขึ้นข้อความ error (network unreachable) resolving ตามด้วยชื่อหรือโดเมนที่ต้องการหา แล้วตามด้วยเลข IPv6

Continue reading “แก้ไขปัญหา BIND DNS ขึ้น named error (network unreachable) resolving”

คอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน

หลังจาก ติดตั้งและคอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 1 caching only เสร็จเรียบร้อย

ในตอนนี้จะมาดูวิธีการเพิ่มข้อมูลโดเมนใหม่เพื่อแปลงชื่อเป็น IP Address  เช่นไว้ใช้สำหรับภายในองค์กรเอง หรือถ้าเราจดทะเบียนชื่อโดเมนบนอินเตอร์เน็ตแล้ว ต้องการให้บริการแก่คนอื่น วิธีการที่จะแปลงชื่อเช่น www.example.com มาเป็น IP Address ของเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเรา แทนที่ต้องไปเสียค่าบริการเช่า DNS hosting เพิ่มเติม เรามาคอนฟิกตั้ง DNS Server แล้วชี้ name server มาที่ IP ของเซิร์ฟเวอร์ที่เรากันดีกว่า

Continue reading “คอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน”

ติดตั้งและคอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 1 caching only

ความเห็นส่วนตัว DNS Server จัดว่าเป็นโปรแกรมหรือเซอร์วิสที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของอินเตอร์เน็ตอย่างหนึ่ง คือแทนที่ผู้ใช้จะต้องจำและระบุ IP Address ในการเรียกใช้บริการเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นๆ ผู้ใช้ก็สามารถใช้ชื่อแทนได้ เช่นแค่ระบุชื่อ www.google.com ก็สามารถเข้าสู่เว็บไซต์ของ google ได้ แทนที่ต้องระบุ IP Address เครื่องเซิร์ฟเวอร์ของ google ซึ่งมีอยู่มากมาย และอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

เรามาลองดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิก DNS กัน ผู้เขียนขอเลือกใช้ BIND ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรม DNS Server ที่มีการใช้งานกันมากที่สุดบนโลกอินเตอร์เน็ตนี้ และรองรับคุณสมบัติมาตรฐานของ DNS Server โดยจะทดสอบการติดตั้งบน CentOS 6

ตอนแรกเราจะเริ่มติดตั้ง BIND และคอนฟิกเป็น caching only ความหมายคือ คอนฟิกให้ทำหน้าที่เป็น DNS เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเครื่องไคลเอ้นต์ในการถามชื่อแล้วตอบเป็น IP Address ให้ โดยเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ caching only นี้ จะทำหน้าที่ไปค้นหาข้อมูล (recursion) โดยการถาม DNS เซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นๆ ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต จนกว่าจะได้คำตอบว่า ชื่อที่ไคลเอ้นต์ถามมา มี IP Address เป็นอะไร

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 1 caching only”

ติดตั้ง VLC บนลีนุกซ์

ถ้าพูดถึงโปรแกรมเล่นไฟล์ Video ได้หลากหลาย format คงต้องนึกถึงโปรแกรม VLC ซึ่งสามารถติดตั้งได้เกือบทุก OS

วันนี้เรามาลองดูวิธีติดตั้ง VLC บนลีนุกซ์กัน โดยทดสอบบน CentOS 6

Continue reading “ติดตั้ง VLC บนลีนุกซ์”

ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 2 แก้โดยใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง

หลังจากที่ได้นำเสนอวิธีแก้ไขตามบทความ ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode ไปแล้วนั้น

ถ้ามีการใส่คอนฟิก password ใน GRUB แล้วเราเองก็ไม่ทราบหรือลืม password นี้ไปด้วย ต้องใช้อีกวิธีในการแก้ไข คือใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง

Continue reading “ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 2 แก้โดยใช้แผ่นดีวีดีติดตั้ง”

ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode

จะเนื่องด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่ หากลืมรหัสผ่านของ root หรือ root password บนลีนุกซ์ คุณก็ไม่สามารถแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรได้เลยในระดับแอดมิน (root) ของเครื่อง ยกเว้นจะมีการใช้ sudo เพื่อเพิ่มสิทธิผู้ใช้ธรรมดา ให้เทียบเท่า root ได้

โดนถามอยู่เรื่อยๆ ว่าต้องทำอย่างไร จึงเลยขอโอกาสนำมาอธิบายวิธีการแก้ไขกัน โดยใช้วิธีการที่ผู้เขียนคิดว่าถูกต้อง เหมาะสม ผู้ที่ดูแลเครื่องจริงๆ เท่านั้นน่าจะเป็นผู้ทำได้

ในที่นี้ทดสอบกับ CentOS 6 ซึ่งสามารถนำวิธีการนี้ไปใช้ได้กับ CentOS 5 หรือ Fedora เวอร์ชั่นต่างๆ ได้ ส่วนลีนุกซ์ดิสทริบิวชั่นอื่นๆ วิธีการอาจแตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่หลักการน่าจะใกล้เคียงกัน

Continue reading “ลืม root password บนลีนุกซ์ ต้องแก้ไขอย่างไร – ตอนที่ 1 แก้โดย single user mode”