ติดตั้ง Cacti บน Fedora 11 ตอนที่ 2

หลังจากติดตั้งไฟล์โปรแกรม cacti เรียบร้อยแล้ว ต้องแก้ไขคอนฟิกไฟล์รวมทั้งสร้าง database เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของ cacti เองด้วย

Continue reading “ติดตั้ง Cacti บน Fedora 11 ตอนที่ 2”

ติดตั้ง Cacti บน Fedora 11 ตอนที่ 1

Cacti จัดเป็นโปรแกรมทางด้าน Network Management อย่างหนึ่ง คุณสมบัติหลักๆ คือสามารถไปดึงค่าต่างๆ จากอุปกรณ์ network ไม่ว่าจะเป็น Server, Router, Switch ผ่านทาง Poller  นำข้อมูลมาเก็บไว้ใน Data Storage  แล้วสามารถนำค่ามา plot เป็นกราฟ โดยใช้ RRDTool (ซึ่งเป็นโปรแกรมสร้างกราฟเดียวกันกับ MRTG)

ในตอนที่ 1 จะอธิบายวิธีการติดตั้งไฟล์ที่จำเป็นและ Cacti บน Fedora 11 (x86_64) โดยทดสอบบนเครื่องที่ ติดตั้ง Fedora 11 แบบประหยัดพื้นที่สุด

Continue reading “ติดตั้ง Cacti บน Fedora 11 ตอนที่ 1”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3

ในตอนสุรปนี้ จะเพิ่มผลลัพธ์จากการรันคำสั่ง sysbench เพื่อทดสอบ fileio ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์แบบ sequential, random

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2

ในตอนแรก เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1 เราได้ทดลองใช้คำสั่ง mdadm เพื่อคอนฟิกดิสก์เป็นแบบ linear และ stripe ซึ่งให้ผลลัพธ์ความเร็วในการเขียนข้อมูลแตกต่างกัน ในตอนนี้จะลองใช้คำสั่ง LVM บ้าง เพื่อสร้างคอนฟิกแบบ linear และ stripe เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2”

เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1

เกิดความสงสัยขึ้นมา ขณะคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่มีดิสก์หลายๆ ก้อน เพื่อทำหน้าที่เป็น file server ว่า ระหว่างการใช้ mdadm และ lvm เพื่อรวมดิสก์แต่ละก้อนเข้าด้วยกันทำเป็น RAID-0 อย่างไหนจะเร็วกว่ากัน เลยทดสอบและนำผลลัพธ์แต่ละคอนฟิกมาเปรียบเทียบกัน

และเพื่อความครบถ้วนของการเปรียบเทียบ เลยทดสอบคอนฟิกทั้งเป็นแบบ linear และ stripe (RAID-0) จากการใช้คำสั่งทั้งสองด้วย โดยแยกเป็นสองบทความ ในตอนแรกจะใช้คำสั่ง mdadm ก่อน

Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1”

คอมไพล์ sysbench บน Solaris 10 (x86)

บทความนี้ขอแสดงวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench บน Solaris 10 (x86) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับ Fedora 10

ในที่นี้ขอใช้แค่เวอร์ชั่น 0.4.10 และเลือกไม่คอมไพล์รวม mysql เพื่อความง่ายในการคอมไพล์และทดสอบ เพราะการที่จะคอมไพล์ sysbench เวอร์ชั่นใหม่กว่านี้ จะติดปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นดาวน์โหลดโปรแกรม library มาติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหา libtool ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตามเรายังสามารถนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบแบบคร่าวๆ เพราะวิธีการ benchmark ยังคงเป็นรูปแบบเดียวกัน

ดาวน์โหลดไฟล์

Continue reading “คอมไพล์ sysbench บน Solaris 10 (x86)”

เพิ่มความปลอดภัยให้ Solaris 10 แบบง่าย

วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับ Solaris 10 ซะหน่อย ช่วงนี้ได้รับมอบหมายให้เพิ่มความปลอดภัย (secure) ให้กับเครื่อง Solaris  แต่มีข้อแม้ไม่อยากให้ลง JASS (Solaris Security Toolkit) ก็เลยลองทำดู และเรียบเรียงมาเป็นบทความให้ผู้สนใจทั่วไป

การเพิ่มความปลอดภัยในบทความนี้  คือการปิดเซอร์วิสที่ไม่ได้ใช้งานโดยไม่กระทบกับงานที่ลูกค้าใช้  ซึ่งนอกจากจะปิดช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ยังได้ free memory เพิ่มคืนมาอีกด้วย Continue reading “เพิ่มความปลอดภัยให้ Solaris 10 แบบง่าย”

sysbench วัดความแรงของ CPU

หลังจากที่คอมไพล์และติดตั้งโปรแกรม sysbench (คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10) แล้ว ตอนนี้เราจะลองใช้ sysbench เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความเร็วของ CPU (CPU Benchmark)

วิธีการใช้คำสั่ง sysbench ต้องระบุออปชั่น test ว่าเราจะทดสอบอะไร อาจระบุออปชั่นต่างๆ เพิ่มเติม เป็นค่าตัวแปรผันแปรที่ใช้ในการทดสอบ ค่าเหล่านี้จะมีค่าดีฟอลต์อยู่แล้ว ดูได้จากการรันคำสั่ง sysbench แบบไม่มีออปชั่น หรือดูจากผลลัพธ์ในการัน

การทดสอบในบทความนี้ เป็นการทดสอบ (test) CPU ให้คำนวณหาค่าจำนวนเฉพาะ (prime number)  ตั้งแต่ 1 ไปจนถึงตัวเลขมากสุดเท่ากับค่าตัวแปร cpu-max-prime ในที่นี้จะระบุ 20000 แล้วตามด้วยออปชั่น run เพื่อสั่งเริ่มการคำนวณ

โดยในแต่การทดสอบจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวน CPU และจำนวน Threads ที่ใช้ (num-threads) ในการคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้วย

Continue reading “sysbench วัดความแรงของ CPU”

คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10

SysBench เป็นโปรแกรมที่ใช้วัดประสิทธิภาพ (benchmark) ของเครื่องได้หลายอย่าง ทั้ง CPU, Memory, Disk และ Database ทั้งนี้ยังสามารถระบุออปชั่นสำหรับการทดสอบได้เช่น จำนวน thread ที่รัน ขนาดที่จะทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ในการรัน

เราสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ปรับแต่งเครื่อง หรือแก้ไขคอนฟิกให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น

เนื่องจากในแผ่นติดั้ง หรือ จาก Fedora 10 Everything ไม่มีโปรแกรม sysbench ในรูปแบบ rpm ทำให้การที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้ ในบทความนี้ขอนำเสนอขั้นตอนและวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench และติดตั้งเอง

Continue reading “คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10”

เพิ่มความเร็วการ SELECT ด้วย MySQL Query Cache

เคยแนะนำวิธีการ สร้าง index ในฐานข้อมูล MySQL เพื่อเพิ่มความเร็วในการค้นหาฟิลด์ที่ต้องการได้เร็วขึ้น แต่ต้องมีการแก้ไขโครงสร้างของ table ในฐานข้อมูลโดยใช้คำสั่ง ALTER TABLE เลือกฟิลด์ที่ต้องการทำเป็นคีย์ (ADD KEY)

บทความนี้ขอแนะนำอีกวีธีแต่จะมีผลทั้งเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล (Database Server) เลย ด้วยการเปิดคุณสมบัติ Query Cache ของ MySQL ให้มีการเก็บ SELECT statement และผลลัพธ์ที่ได้ไว้ใน cache ซึ่งถ้าเรารันคำสั่ง SELECT ครั้งต่อไปที่มี statement เหมือนกัน MySQL จะดึงผลลัพธ์การ query มาจาก cache โดยตรง ไม่ต้องไป query จาก table มาใหม่ ทำให้ผลการค้นหาเร็วขึ้นมาก

Continue reading “เพิ่มความเร็วการ SELECT ด้วย MySQL Query Cache”