ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ด้วย Samba บน CentOS 7

Samba เป็นโปรแกรมหรือเซอร์วิสยอดนิยมอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาติดตั้งบนลีนุกซ์ และคอนฟิกทำเป็นเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ (File Sharing Server) ให้กับเครื่องอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows, MAC OS X

ลองมาดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิก Samba บน CentOS 7 เบื้องต้นกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานจากเครื่องอื่น สามารถเรียกใช้ไฟล์ที่อยู่ใน home ของแต่ละคนบนเซิร์ฟเวอร์ได้

ในที่นี้จะแสดงวิธีการติดตั้ง คอนฟิกและแก้ไขปัญหาไปทีละขั้น เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจกระบวนการ เผื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ด้วย Samba บน CentOS 7”

เปลี่ยนสีการแสดงชื่อไดเรกทอรี จากคำสั่ง ls

โดยส่วนใหญ่การแสดงผลด้วยการแยกสีสันต่างๆ จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานสะดวกสบายยิ่งขึ้น แต่ในบางครั้งสีที่แสดง ก็ดูยากเหลือเกิน

ตัวอย่างที่ผู้เขียนเห็นบ่อยมากที่สุดคือ สีของผลลัพธ์ที่แสดงจากคำสั่ง ls สีที่มองยากที่สุด แถมเป็นสีที่เห็นบ่อยด้วย ก็คือสีน้ำเงิน ซึ่งแสดงว่าชื่อไฟล์นั้นเป็นชนิดไดเรกทอรี

ลองมาดูวิธีการแก้ไขเปลี่ยนสีให้ดูง่ายขึ้นกันครับ

Continue reading “เปลี่ยนสีการแสดงชื่อไดเรกทอรี จากคำสั่ง ls”

ตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi บน Mac OS X ด้วย Wireless Diagnostics

บางครั้งโปรแกรมที่ต้องการ ก็มีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องรู้ชื่อคำสั่ง หรือวิธีเรียกใช้งาน

หลังจากที่หาโปรแกรมที่รันบน Mac OS X เพื่อใช้ในการตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi อยู่นาน สุดท้ายพบว่า โปรแกรมที่ต้องการมีอยู่แล้วในเครื่อง เพียงแต่ต้องรู้วิธีเปิดใข้งานเท่านั้นเอง

โปรแกรมที่ว่าคือ Wireless Diagnostics ที่สามารถใช้ตรวจสอบ ดูข้อมูล Wi-Fi โหมด (Mode) เชื่อมต่อว่าเป็น a/b/g/n ช่องสัญญาณ (Channel) ความแรงของสัญญาณ (RSSI) สามารถ scan หา SSID หรือ BSSID รวมทั้งสร้างกราฟเพื่อเปรียบเทียบความแรงสัญญาณ (RSSI) เทียบกับสัญญาณรบกวน (Noise) ได้ด้วย

Continue reading “ตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi บน Mac OS X ด้วย Wireless Diagnostics”

คอนฟิก BIND DNS เก็บข้อมูลโซนโดเมนไว้ใน SQLite บน CentOS 7

จากบทความ คอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน ที่ผ่านมา หลังจากที่เราตัดสินใจตั้งเซิร์ฟเวอร์ DNS เพื่อเก็บข้อมูลโดเมนของเราเองแล้วนั้น หากมีการแก้ไขข้อมูลของโดเมน เช่นมีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง ชื่อ (hostname) กับ IP Address หรือข้อมูลอื่น ก็ต้องมีการแก้ไขไฟล์โซนของโดเมนนั้นๆ

ดีฟอลต์จากการติดตั้ง BIND ผู้ดูแลระบบต้องแก้ไขคอนฟิกโซนโดเมน ในรูปแบบการแก้ไขไฟล์ โดยใช้ editor เช่น vi หรือ nano และหลังการแก้ไขเสร็จสิ้น ก็ต้องรีสตาร์ตเซอร์วิส named ใหม่

เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้นของผู้ดูแลระบบ ในที่นี้ขอแนะนำการคอนฟิก BIND ให้เก็บข้อมูลโซนโดเมน ไว้ในรูปแบบฐานข้อมูล (SQLite) เวลาแก้ไขข้อมูล ก็ปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลโดยตรง แต่หลังแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องรีสตาร์ตเซอร์วิส named ใหม่อีกครั้ง

Continue reading “คอนฟิก BIND DNS เก็บข้อมูลโซนโดเมนไว้ใน SQLite บน CentOS 7”

คอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน

หลังจาก ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 1 Caching Only เสร็จเรียบร้อย

ในตอนนี้ลองมาดูวิธีการเพิ่มข้อมูลโดเมนใหม่ (zone) เพื่อแปลงข้อมูล เช่น ชื่อ hostname เป็น IP Address ไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเอง หรือถ้าเราจดทะเบียนเป็นเจ้าของชื่อโดเมนบนอินเทอร์เน็ตแล้ว ต้องการคอนฟิกติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ DNS เพื่อเก็บข้อมูลโดเมนบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเอง

Continue reading “คอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน”

สร้างกราฟเส้นบนหน้าเว็บด้วย Google Charts

บทความนี้ขอแนะนำการเขียนหน้าเว็บ (html) เพื่อนำแสดงข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น (line chart)  เปรียบเทียบข้อมูลที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันเท่าไร  ระหว่างจำนวน likes ของแฟนเพจ SpaLinux และ SET Index ในช่วงเวลาประมาณ 4 เดือนที่ผ่านมา ที่ทั้งสองค่าเริ่มต้นด้วยค่าใกล้เคียงกันประมาณ 1,500 และวันนี้จำนวน likes ของ SpaLinux เกิน 1,600 แล้ว (ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจ กดไลค์กัน) แต่ SET Index นี่สิ…

มี Library ให้เลือกใช้ในการช่วยสร้างกราฟมากมาย แต่เนื่องด้วย Google เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ (ก็ดูไม่ค่อยเกี่ยวข้องอยู่ดี) ในที่นี้ก็เลยขอใช้ Google Chart API ซึ่งเป็น JavaScript API ให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งานได้ฟรี ใช้งานง่าย และมีคุณสมบัติมากมาย

Continue reading “สร้างกราฟเส้นบนหน้าเว็บด้วย Google Charts”

ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 1 Caching Only

แม้จะมีเซิร์ฟเวอร์ DNS ที่เราสามารถใช้งานได้ฟรี เช่น DNS ของ Google (8.8.8.8, 8.8.4.4) แต่ในบางครั้ง เราก็จำเป็นต้องติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ DNS ขึ้นมาใช้งานเอง เช่นใช้งานภายในองค์กร (Intranet) หรือตั้ง DNS เพื่อเก็บข้อมูลโดเมนเนมของเราเอง

ลองมาดูวิธีการติดตั้งและคอนฟิก BIND บน CentOS 7 เพื่อทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ DNS กัน

โดยในตอนแรกเราจะเริ่มติดตั้ง BIND และคอนฟิกเป็นแบบ Caching Only ความหมายคือ คอนฟิกให้ทำหน้าที่เป็น DNS เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการเครื่องไคลเอนต์ (Client) ในการถามข้อมูล เช่น ถามชื่อ (Hostname) แล้วตอบเป็น IP Address ให้ โดยเซิร์ฟเวอร์ที่คอนฟิกในโหมด caching only นี้ จะทำหน้าที่ไปค้นหาข้อมูล (recursion) โดยการถาม DNS เซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลของโดเมน (Authoritative Server) และได้คำตอบว่า ชื่อที่ไคลเอ้นต์ถามมา มี IP Address เป็นค่าอะไร

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ BIND DNS บน CentOS 7 – ตอนที่ 1 Caching Only”

วิธีการเซตไฮไลต์สี syntax ใน vim

หลายคนรวมทั้งตัวผู้เขียนเอง ใช้ vim ในการแก้ไขไฟล์ต่างๆ ในลีนุกซ์ แล้วก็ใช้ vim ในการพัฒนาหรือเขียนโปรแกรมใช้งานด้วย

คุณสมบัติหนึ่งของ editor ที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น หรือหาจุดผิดพลาดในโปรแกรมได้เร็วมากขึ้น คือมีการไฮไลต์สีของโค้ดโปรแกรมที่เขียน (syntax highlight)

ใน vim ก็มีคุณสมบัตินี้เหมือนกัน เพียงแต่ดีฟอลต์อาจไม่ได้เปิดการใช้งานไว้ ลองมาดูวิธีการเปิดการใช้งานกันครับ

Continue reading “วิธีการเซตไฮไลต์สี syntax ใน vim”

เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการใน vim

นอกจากเปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed แล้ว ใน vim ก็สามารถทำได้เหมือนกัน รูปแบบการใช้ก็ใกล้เคียงกัน  ลองมาดูวิธีการใช้คำสั่งใน vim เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความกัน

Continue reading “เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการใน vim”

Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed

คำสั่ง sed (Stream EDitor) เป็นอีกคำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์ที่ใช้กันบ่อย เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเท็กซ์จากต้นทาง (input) ให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ (output)

นอกจากลีนุกซ์แล้ว บนยูนิกซ์ (Unix) เกือบทุกตระกูลรวมทั้ง Mac OS จะมีคำสั่ง sed ติดตั้งมาให้โดยดีฟอลต์ จะแตกต่างกันตรงเวอร์ชันที่ติดตั้ง ของลีนุกซ์จะใช้เป็น GNU sed ซึ่งจะมีออปชันให้ใช้มากหน่อย แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแค่การใช้ sed แบบพื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับ sed ทุกเวอร์ชัน

Continue reading “Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed”