บทความนี้ขอแนะนำการใช้คำสั่ง ethtool บนลีนุกซ์เพื่อตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กว่าเป็นอย่างไร เช่น สถานะของลิ้งก์ที่เชื่อมต่ออยู่ว่า Up หรือ Down ความเร็ว (speed) ของการเชื่อมต่อเท่าไร
เก็บปริมาณการใช้งาน network บนลินุกซ์ด้วย conntrack-tools
ในบทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการคอนฟิกลินุกซ์ให้สามารถเก็บปริมาณการใช้งาน network ที่เข้าออกเครื่องได้ โดยจะเป็นรายงาน (log) แบบค่อนข้างละเอียดคือ ดูได้ว่าแต่ละ packet ที่ส่งเข้า/ออกเครื่องนั้นมีประเภทไหนบ้าง มาจาก IP Address ต้นทาง ปลายทาง จากไหน ใช้ protocol เป็น TCP หรือ UDP และใช้ Port อะไร เช่นเป็น Web, Mail, Secure Shell
หมายเหตุ คุณสมบัตินี้จะคล้ายๆ กับการใช้งาน Netflow บนอุปกรณ์ Cisco Router
มีหลายวิธีที่สามารถทำได้ แต่ในที่นี้จะแนะนำการใช้โปรแกรม conntrack-tools จับปริมาณการใช้งาน โดย conntrack-tools ถือว่าเป็นโปรแกรม (userspace tools) ที่ติดต่อกับ Linux kernel ในส่วนของ Connection Tracking System จุดประสงค์หลักๆ ของโปรแกรมนี้จะสามารถนำไปทำเป็น High Availability stateful firewall ได้ แต่ในบทความนี้จะขอไม่กล่าวถึงการใช้งานคุณสมบัตินี้
Continue reading “เก็บปริมาณการใช้งาน network บนลินุกซ์ด้วย conntrack-tools”
คอมไพล์ Linux kernel บน Fedora 9 ในรูปแบบ RPMS
โดยทั่วไป kernel ที่ติดตั้งมากับลินุกซ์เวอร์ชั่น (distribution) ต่างๆ รวมทั้ง Fedora ด้วย จะสามารถใช้งานได้เลย รองรับอุปกรณ์ hardware ได้ส่วนใหญ่หลากหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมแต่อย่างใด
แต่ในบางครั้งถ้ามีอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่ kernel ไม่รู้จัก หรือต้องการจะปรับแต่ง kernel ให้เรียกใช้งานเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่จริงๆ ทั้งนี้เพื่อประหยัด CPU/Memory ที่ถูกใช้โดยเปล่าประโยชน์ รวมทั้งเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวลินุกซ์เองด้วย
ในบทความนี้จึงขอแนะนำวิธีปรับแต่ง kernel และคอมไพล์ใหม่ โดยจะทดสอบบน Fedora 9
Continue reading “คอมไพล์ Linux kernel บน Fedora 9 ในรูปแบบ RPMS”
วิธีการคอมไพล์ไฟล์ src.rpm ด้วยผู้ใช้งานธรรมดา
การติดตั้งโปรแกรมบนลินุกซ์วิธีการหนึ่งที่นิยมกันคือใช้ไฟล์ประเภท rpm ซึ่งไฟล์ที่ติดตั้งนั้นจะถูกคอมไพล์เป็น binary โดยทีมงานที่พัฒนา Linux Distribution ซึ่งเป็นไฟล์จะติดตั้งได้สะดวกพร้อมใช้งาน ด้วยคำสั่ง rpm หรือ yum
ไฟล์ binary เหล่านี้ชื่อไฟล์จะมีการเพิ่มเติมประเภทของเครื่องที่โปรแกรมนี้สามารถติดตั้งใช้งานได้เช่น i386, i586, i686, x86_64 เป็นต้น
แต่ในบางครั้งเราจำเป็นต้องมีการคอมไพล์โปรแกรมใหม่ เพื่อปรับปรุงเรื่องเวอร์ชั่น ตัดหรือเพิ่มคุณสมบัติของโปรแกรมบางอย่างซึ่งไฟล์เหล่านี้อาจจะไม่มีในรูปแบบ binary
Continue reading “วิธีการคอมไพล์ไฟล์ src.rpm ด้วยผู้ใช้งานธรรมดา”
การแก้ไขเมื่อลืม root password ในลินุกซ์
รหัสผ่านของ root หรือ root password เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในลินุกซ์ เพราะการแก้ไขทุกอย่างในลินุกซ์ต้องเข้าเป็น root ก่อนถึงจะทำได้ การลืมรหัสผ่านจึงทำให้เราไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยในลินุกซ์
บทความนี้แนะนำวิธีหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาเมื่อลืมรหัสผ่านของ root ได้ แต่ต้องมีการรีบู๊ตเครื่อง ซึ่งทำให้เวลาแก้ไขระบบไม่สามารถใช้งานได้ โดยตัวอย่างในบทความนี้จะทดสอบบน Fedora 9
ปรับแต่งเครื่องหลังจากติดตั้ง Fedora 9 – แก้ไขคอนโซล (Text Console)
หลายคนเมื่อติดตั้งลินุกซ์เรียบร้อยแล้ว เกิดคำถามว่าทำอะไรต่อดี เริ่มต้นคอนฟิกอย่างไร ในบทความนี้ขอเริ่มแนะนำคอนฟิกเพื่อการปรับแต่งคอนโซลของเครื่องลินุกซ์ ซึ่งจะมีทั้งปรับแต่งเพื่อความปลอดภัย และประหยัด Memory ที่ใช้
หมายเหตุ คอนโซล ในที่นี้หมายถึง text console ที่แสดงผลในรูปแบบตัวอักษร ไม่ใช่ X Window
Continue reading “ปรับแต่งเครื่องหลังจากติดตั้ง Fedora 9 – แก้ไขคอนโซล (Text Console)”
แก้ไขปัญหาในการรัน VMware Server บน Fedora 9
เพื่อสะดวกในการอ้างอิง จะขอแยกบทความที่กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการรัน VMware Server บน Fedora 9 โดยจะแยกเป็นหัวข้อต่างๆ ตามข้อความที่ขึ้น
วิธีการแก้ไข ก็เหมือนกับโปรแกรมอื่นๆ คือดูข้อความที่ขึ้นเตือนมา อีกส่วนหนึ่งที่ต้องดูเพิ่มเติมสำหรับการแก้ไขปัญหาของ VMware Server บนลินุกซ์ คือดูในไฟล์ /var/log/secure และไฟล์ /var/log/messages
Continue reading “แก้ไขปัญหาในการรัน VMware Server บน Fedora 9”
ติดตั้ง VMware Server บน Fedora 9
VMware เป็นโปรแกรมประเภท Virtualization ที่ทำให้สามารถสร้างเครื่องจำลอง Guest ในเครื่องที่ลงโปรแกรมหรือที่เรียกว่า Host ได้ โดยเครื่องจำลอง (Guest) ซึ่งสามารถจะสร้างได้หลายเครื่อง (ขึ้นอยู่กับ CPU, Memory และ Disk ของเครื่อง Host) นั้นจะสามารถนำไปลง OS ได้ โดยเสมือนกับเครื่องจริงๆ เลย ทำให้เราสามารถทดสอบได้หลายๆ OS ภายในเครื่องเดียวกัน
VMware มีอยู่หลายเวอร์ชั่น ในบทความนี้จะแนะนำ VMware Server ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่สามารถใช้งานได้ฟรีอย่างถูกต้อง (Free Virtualization) นำมาติดตั้งลงบน Host ที่รันลินุกซ์ โดยจะทดสอบบน Fedora 9
คอนฟิก NTP บนลินุกซ์
ส่วนหนึ่งของ พรบ.ด้านคอมพิวเตอร์ ปี 2550 คือต้องปรับเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับเวลามาตรฐาน เพราะจะมีผลต่อ log file ต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง เพื่อการตรวจสอบย้อนหลัง
ในบทความนี้จะแนะนำวิธีการคอนฟิก NTP ในลินุกซ์ เพื่อให้มีเวลาตรงกับมาตรฐาน โดยจะมีตัวอย่างการคอนฟิกของ Fedora 9
เขียนแผ่นซีดีบนลินุกซ์
เพิ่งทราบว่าโปรแกรม dvd+rw-tools (ณ เวลาที่เขียนบทความนี้) สามารถเขียนได้แต่แผ่นดีวีดี ถ้าใส่แผ่นซีดี (CD-R) เข้าไปในไดร์ฟที่เป็น DVD+RW แล้วใช้โปรแกรมนี้ทดลองเขียนไฟล์ลงบนแผ่นซีดี จะไม่สามารถเขียนได้
[root@server ~]# growisofs -Z /dev/dvd=data-backup.iso : -( /dev/dvd: media is not recognized as recordable DVD: 9
ถ้าลองใช้คำสั่ง dvd+rw-mediainfo ตรวจสอบก็จะมีข้อความฟ้องขึ้นมา
[root@server ~]# dvd+rw-mediainfo /dev/dvd INQUIRY: [ASUS ][DRW-2014L1T ][1.00] GET [CURRENT] CONFIGURATION: : -( non-DVD media mounted, exiting...
ถ้าต้องการเขียนไฟล์ลงบนแผ่นซีดี ต้องใช้คำสั่ง wodim (ชื่อเก่าคือโปรแกรม cdrecord) โดยจะมีวิธีการทำดังต่อไปนี้