เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานใน OpenLDAP

จากบทความ ติดตั้ง OpenLDAP Server บน Fedora 9 และ เพิ่มบัญชีผู้ใช้งานเข้าไปใน OpenLDAP
 ในบทความนี้จะแสดงวิธีการเพิ่ม แก้ไข ลบ รวมทั้งการเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) ของผู้ใช้งานที่ถูกเก็บข้อมูลไว้ใน OpenLDAP  โดยจะสร้างเป็นไฟล์ ldif แล้วใช้คำสั่งของ ldap ในการแก้ไข

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานใน OpenLDAP”

เพิ่มบัญชีผู้ใช้งานเข้าไปใน OpenLDAP

หลังจากที่ ติดตั้ง OpenLDAP Server ไปแล้ว บทความนี้จะเป็นการเริ่มต้นใส่ข้อมูลเข้าไปใน LDAP ซึ่งในที่นี้จะใส่ข้อมูลให้สามารถเก็บบัญชีผู้ใช้งาน (User Account) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อให้สามารถ authenticate user บนลีนุกซ์ได้

Continue reading “เพิ่มบัญชีผู้ใช้งานเข้าไปใน OpenLDAP”

ติดตั้ง OpenLDAP Server บน Fedora 9

จากครั้งก่อนได้กล่าวถึง การติดตั้งและคอนฟิก Fedora Directory Server เบื้องต้น  ซึ่งเป็น LDAP Server ที่พัฒนาจากทีมงานของ Fedora ในบทความนี้จะกล่าวถึงอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกใช้งาน LDAP Server โดยจะเป็นการติดตั้งและเริ่มต้นคอนฟิก OpenLDAP Server 

Continue reading “ติดตั้ง OpenLDAP Server บน Fedora 9”

SSH – Secure Shell ล็อกอินด้วย Public Key Authentication

จากที่ได้ แนะนำการใช้งานโปรแกรม Secure Shell (SSH) เพื่อล็อกอินไปยังเครื่องอื่นนั้น โดยดีฟอลต์แล้วจะต้องใส่รหัสผ่าน (password) ก่อนที่จะล็อกเข้าไปยังเครื่องปลายทางได้ หรือรันคำสั่งบนเครื่องปลายทางได้

แต่ในบางครั้งการที่ต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้งทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน ตัวอย่างเช่นต้องล็อกอินไปยังหลายๆ เครื่องอยู่เป็นประจำ หรือการเขียน Shell Script เพื่อล็อกอินไปยังเครื่องต่างๆ เพื่อรันคำสั่งที่ต้องการ   ในที่นี้จะแนะนำการล๊อกอินไปยังเครื่องปลายทางโดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน แต่อาศัยการล็อกด้วย Public Key Authentication

Continue reading “SSH – Secure Shell ล็อกอินด้วย Public Key Authentication”

แนะนำการใช้งานโปรแกรม Secure Shell (SSH)

SSH  (Secure Sell) คือโปรแกรมสำหรับล็อกอินและรันคำสั่งที่เครื่องปลายทางได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปใช้งานที่หน้าจอคอนโซลของเครื่อง จุดประสงค์หลักของโปรแกรมคือทำหน้าที่แทนโปรแกรมประเภท rlogin, rsh หรือ telnet โดยจะมีการเข้ารหัสข้อมูล (encrypted) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งระหว่าง SSH Client และ SSH Server

Continue reading “แนะนำการใช้งานโปรแกรม Secure Shell (SSH)”

ปิดโมดูลที่ไม่ใช้งานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

โดยดีฟอลต์คอนฟิกของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งมากับลีนุกซ์เวอร์ชั่นต่างๆ จะเปิด (enable) การใช้งานโมดูลต่างๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเริ่มต้นใช้งาน

แต่การใช้งานจริงๆ ในระบบ production แนะนำให้ปิด (disable) คอนฟิกของโมดูลที่ไม่ได้ใช้งาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย (security) และประหยัดหน่วยความจำ Memory ที่ต้องถูกใช้งานโดยเปล่าประโยชน์ด้วย (แนะนำให้ใช้คำสั่ง ps เปรียบเทียบขนาด memory ที่ใช้ก่อนและหลังการปิดโมดูล)

บทความนี้ได้รวบรวมจัดกลุ่มโมดูลตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งถ้าคุณไม่ได้ใช้คุณสมบัติในโมดูลนั้นๆ สามารถที่จะปิดได้ ด้วยการใส่เครื่องหมาย # หน้าบรรทัดของ LoadModule โดยคอนฟิกทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่ทำบน Fedora 9 และหลังจากการแก้ไขทั้งหมดเพื่อปิดโมดูลทั้งหมดนี้แล้ว เว็บยังสามารถรัน PHP ได้ตามปกติ

Continue reading “ปิดโมดูลที่ไม่ใช้งานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์”

ปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

บทความนี้ขอแนะนำการปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache ซึ่งติดตั้งมากับ Fedora 9 ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปิดคุณสมบัติที่ไม่ได้ใช้งานออกไป เพื่อประหยัดขนาด CPU, Memory ที่ต้องใช้ในการรันโปรแกรม

การแก้ไขทั้งหมดในบทความนี้เป็นการแก้ไขคอนฟิกในไฟล์ /etc/httpd/conf/httpd.conf ซึ่งจะเป็นไฟล์คอนฟิกหลักของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

Continue reading “ปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์”

ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยคำสั่ง telnet

เราสามารถใช้คำสั่ง telnet ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่รันอยู่บนเครื่องอื่นได้  ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของ HTTP Header ที่ส่งจากเซิร์ฟเวอร์กลับไปยังไคลเอนต์

วิธีการคือใช้คำสั่ง telnet ตามด้วยชื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการตรวจสอบ ลงท้ายด้วยตัวเลข 80 ซึ่งเป็นพอร์ตที่รันโดยดีฟอลต์เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์

Continue reading “ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยคำสั่ง telnet”

คอนฟิก Ethernet Bonding บน Fedora Linux

พอร์ตแลน (Ethernet) ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่วนที่จะรับส่งข้อมูลกับเคื่องอื่นๆ ถ้าเซิร์ฟเวอร์มีแค่พอร์ตเดียวเชื่อมต่อเข้าเน็ตเวิร์ก แล้วสายที่เชื่อมต่อหลุดไป หรือไม่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลได้เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานได้

ในบทความนี้ขอแนะนำการคอนฟิก Ethernet Bonding (หรือ Teaming) เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการจัดกลุ่มพอร์ตแลนเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการรับส่งข้อมูล รูปแบบการส่งจะมีสองแบบใหญ่ๆ คือ

Continue reading “คอนฟิก Ethernet Bonding บน Fedora Linux”

ติดตั้ง VMware Tools บน Fedora 9 – Guest OS

หลังจากแนะนำบทความ ติดตั้ง VMware Server บน Fedora 9 ไปแล้ว ซึ่งเป็นการติดตั้ง VMware Server โดยใช้ Host OS เป็นลีนุกซ์ Fedora 9

ในบทความนี้จะเพิ่มเติมวิธีการติดตั้ง VMware Tools ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ติดตั้งบน Guest OS ที่ลงลีนุกซ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลีนุกซ์บน Guest OS ให้ดียิ่งขึ้น โดยตัวอย่างจะเป็นการติดตั้ง VMware Tools เวอร์ชั่น 1.0.7 บน Fedora 9

Continue reading “ติดตั้ง VMware Tools บน Fedora 9 – Guest OS”