พอร์ตแลน (Ethernet) ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่วนที่จะรับส่งข้อมูลกับเคื่องอื่นๆ ถ้าเซิร์ฟเวอร์มีแค่พอร์ตเดียวเชื่อมต่อเข้าเน็ตเวิร์ก แล้วสายที่เชื่อมต่อหลุดไป หรือไม่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลได้เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานได้
ในบทความนี้ขอแนะนำการคอนฟิก Ethernet Bonding (หรือ Teaming) เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการจัดกลุ่มพอร์ตแลนเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการรับส่งข้อมูล รูปแบบการส่งจะมีสองแบบใหญ่ๆ คือ
- Active-backup พอร์ตหนึ่งจะทำหน้าพอร์ตหลักเพื่อใช้รับส่งข้อมูล (Active) แต่อีกพอร์ตหนึ่งจะสำรอง (Backup) ไว้เฉยๆ ไม่มีการรับส่งข้อมูลใดๆ ผ่านทางพอร์ตสำรอง แต่เมื่อไรที่พอร์ตหลักมีปัญหาพอร์ตนี้จะรับส่งข้อมูลแทน สำหรับ Ethernet Bonding จะเป็นคอนฟิกใน mode 1
- Load Balance พอร์ตทั้งหมดในกลุ่มจะช่วยกันรับส่งข้อมูล ส่วนเทคนิคในการรับส่งจะมีหลายแบบด้วยกันแล้วแต่ mode ที่คอนฟิก
ในตัวอย่างจะเป็นการคอนฟิกบน Fedora 9 ซึ่งน่าจะประยุกต์ใช้กับ Fedora เวอร์ชั่นอื่นๆ, CentOS, RedHat หรือลีนุกซ์ตัวอื่นๆ ได้
เตรียมพอร์ตแลนที่จะคอนฟิกเป็น Ethernet Bonding
ในตัวอย่างจะใช้พอร์ตแลน eth2 และ eth3 เพื่อคอนฟิกรวมเป็น bond0
เริ่มต้นสร้างไฟล์ /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-bond0 ซึ่งจะเป็นไฟล์คอนฟิกของ bond0 เป็นพอร์ต bonding (ในเครื่องหนึ่งสามารถจัดกลุ่มทำได้หลาย bonding พอร์ตที่คอนฟิกก็จะเป็น bond1, bond2 เป็นต้น) ในไฟล์จะมีคอนฟิก IP Address, Netmask เหมือนที่คอนฟิกพอร์ต ethernet ทั่วไป
ตัวอย่างคอนฟิก ifcfg-bond0
[root@fc9-x1 ~]# cat /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-bond0 DEVICE=bond0 IPADDR=10.1.0.1 NETMASK=255.255.255.0 BROADCAST=10.1.0.255 ONBOOT=yes BOOTPROTO=none USERCTL=no
คอนฟิกพอร์ต (Physical) ให้อยู่ในกลุ่ม bond0 ตามตัวอย่าง
[root@fc9-x1 ~]# cat /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth2 DEVICE=eth2 BOOTPROTO=none ONBOOT=yes MASTER=bond0 SLAVE=yes USECTL=no
[root@fc9-x1 ~]# cat /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-eth3 DEVICE=eth3 BOOTPROTO=none ONBOOT=yes MASTER=bond0 SLAVE=yes USECTL=no
แก้ไขไฟล์ /etc/modprobe.conf เพื่อให้โหลด kernel module สำหรับการทำ bonding ตอนที่มีการโหลดคอนฟิก bond0
[root@fc9-x1 ~]# cat /etc/modprobe.conf
alias bond0 bonding
options bonding miimon=100 mode=1
สามารถระบุว่าจะทำ bonding เพื่อรับส่งข้อมูลแบบไหนได้จากคอนฟิก mode ดังนี้
- mode=0 (balance-rr) เป็นการส่งข้อมูลแบบ round-robin (load balancing, fault tolerance)
- mode=1 (active-backup) สถานการณ์ปกติจะมีพอร์ตเดียวเท่านั้นที่ใช้รับส่งข้อมูล (fault tolerance)
- mode=2 (balance-xor) เป็นการส่งข้อมูลแบบใช้ XOR เพื่อหาพอร์ตที่จะส่ง เช่นคำนวณจาก MAC Address ต้นทางปลายทางเป็นต้น (load balancing, fault tolerance)
- mode=3 (broadcast)
- mode=4 (802.3ad) เป็นส่งข้อมูลแบบ Link Aggregation Control Protocol (LACP) / 802.3ad
- mode=5 (balance-tlb) ส่งข้อมูลแบบ Adaptive transmit load balancing
- mode=6 (balance-alb) ส่งข้อมูลแบบ Adaptive load balancing
หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้จากไฟล์ /usr/share/doc/kernel-doc-2.6.25/Documentation/networking/bonding.txt จาก kernel-doc-2.6.25-14.fc9.noarch.rpm
ในเริ่มต้นแนะนำให้ทดสอบกับ mode=1 เพื่อทดลอง active-backup ก่อน
หลังจากสร้างไฟล์คอนฟิกทั้งหมดแล้ว รีบูตเครื่องหนึ่งครั้ง เผื่อให้ bond0 ถูกโหลดขึ้นมา
ตรวจสอบสถานะของ Ethernet Bonding
เมื่อเครื่องบูตเสร็จเรียบร้อย ถ้าถูกต้องเมื่อรันคำสั่ง ifconfig จะมีพอร์ต bond0 เพิ่มขึ้นมาตามตัวอย่าง
[root@server ~]# ifconfig bond0 Link encap:Ethernet HWaddr 00:0C:22:FF:11:55 inet addr:10.1.0.1 Bcast:10.1.0.255 Mask:255.255.255.0 UP BROADCAST RUNNING MASTER MULTICAST MTU:1500 Metric:1 RX packets:13 errors:0 dropped:0 overruns:0 frame:0 TX packets:19 errors:0 dropped:0 overruns:0 carrier:0 collisions:0 txqueuelen:0 RX bytes:1160 (1.1 KiB) TX bytes:1574 (1.5 KiB)
...
eth2 Link encap:Ethernet HWaddr 00:0C:22:FF:11:55 UP BROADCAST RUNNING SLAVE MULTICAST MTU:1500 Metric:1 RX packets:12 errors:0 dropped:0 overruns:0 frame:0 TX packets:19 errors:0 dropped:0 overruns:0 carrier:0 collisions:0 txqueuelen:1000 RX bytes:1100 (1.0 KiB) TX bytes:1574 (1.5 KiB) Interrupt:16 Base address:0x1824
eth3 Link encap:Ethernet HWaddr 00:0C:22:FF:11:55 UP BROADCAST RUNNING SLAVE MULTICAST MTU:1500 Metric:1 RX packets:1 errors:0 dropped:0 overruns:0 frame:0 TX packets:0 errors:0 dropped:0 overruns:0 carrier:0 collisions:0 txqueuelen:1000 RX bytes:60 (60.0 b) TX bytes:0 (0.0 b) Interrupt:17 Base address:0x18a4
ข้อสังเกตจากคำสั่ง ifconfig
- HWaddr หรือ MAC Address ของแต่ละพอร์ตที่ทำ bonding ด้วยกันจะเป็นค่าเดียวกันหมด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการทำ fail over
- ในโหมด active-backup ปกติจะมีพอร์ตเดียวทำหน้าที่เป็นหลักใช้ในการรับส่งข้อมูล ซึ่งดูได้จากค่า RX, TX packets
หากต้องการรู้ว่าพอร์ตไหนถูกใช้เป็นหลัก (active) ในการส่งข้อมูล สามารถดูได้จากไฟล์ /proc/net/bonding/bond0
ตัวอย่างไฟล์ /proc/net/bonding/bond0
[root@fc9-x1 ~]# cat /proc/net/bonding/bond0 Ethernet Channel Bonding Driver: v3.2.5 (March 21, 2008)
Bonding Mode: fault-tolerance (active-backup) Primary Slave: None Currently Active Slave: eth2 MII Status: up MII Polling Interval (ms): 100 Up Delay (ms): 0 Down Delay (ms): 0
Slave Interface: eth2 MII Status: up Link Failure Count: 0 Permanent HW addr: 00:0c:22:ff:11:55
Slave Interface: eth3 MII Status: up Link Failure Count: 0 Permanent HW addr: 00:0c:22:ff:11:56
จากตัวอย่างพอร์ตหลักที่ถูกใช้ในโหมด (active-backup) คือพอร์ต eth2 ดูได้จาก Currently Active Slave: eth2
ทดสอบการ fail over
แนะนำว่าก่อนที่จะดึงสายแลนให้รันคำสั่ง ping ทิ้งไว้ เพื่อดูว่าเวลาที่มีการ fail over จะยังส่งข้อมูลต่อไปได้เลยไหม
ทดลองดึงสายออกจากพอร์ต eth2 แล้วตรวจสอบไฟล์ /proc/net/bonding/bond0 อีกครั้ง จะเห็นว่าพอร์ต eth3 จะถูกนำมาใช้เป็นหลักในการรับส่งข้อมูลแทน แล้วคำสั่ง ping ก็ยังคงทำงานอยู่ อาจมีสะดุดไปบ้างเล็กน้อย
[root@fc9-x1 ~]# cat /proc/net/bonding/bond0 Ethernet Channel Bonding Driver: v3.2.5 (March 21, 2008)
Bonding Mode: fault-tolerance (active-backup) Primary Slave: None Currently Active Slave: eth3 MII Status: up MII Polling Interval (ms): 100 Up Delay (ms): 0 Down Delay (ms): 0
Slave Interface: eth2
MII Status: down
Link Failure Count: 1
Permanent HW addr: 00:0c:22:ff:11:55
Slave Interface: eth3 MII Status: up Link Failure Count: 0 Permanent HW addr: 00:0c:22:ff:11:56
จากผลลัพธ์จะแสดงสถานะของ bonding ต่างๆ ดังนี้
- Currently Active Slave: eth3 พอร์ตหลักที่ใช้รับส่งข้อมูลตอนนี้
- Slave Interface: eth2, MII Status: down สถานะของพอร์ต eth2 down
- Link Failur Count: 1 แสดงตัวเลขจำนวนครั้งที่พอร์ตมีปัญหา
สุดท้ายทดสอบด้วยการเสียบสายกลับเข้าไปที่พอร์ตที่ 2 จะเห็นว่าไม่มีการ fail over กลับมาที่พอร์ต eth2 พอร์ต eth3 จะยังคงเป็นหลักในการรับส่งข้อมูลอยู่
แล้วแต่ละโหมด มีความหมายอย่างไรครับ
เช่น ถ้ามี ADSL 2 สาย
สายที่ 1 ความเร็ว 1 เมก.
สายที่ 2 ความเร็ว 2 เมก.
ถ้าต้องการรวมความเร็วของอินเตอร์เน็ททั้งสองสายเข้าด้วยกัน ให้เป็นความเร็ว 3 เมก. จะใช้โหมด ไหนครับ
ขอบคุณครับ
ต่ออีกนิดครับ ถ้า ADSL สายใดสายหนึ่งหลุด ก็ยังสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตสายที่เหลือได้อีกครับ
ขอบคุณอีกครั้งครับ