ในตอนสุรปนี้ จะเพิ่มผลลัพธ์จากการรันคำสั่ง sysbench เพื่อทดสอบ fileio ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์แบบ sequential, random
Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3”
เพื่อชีวิตที่ผ่อนคลายของคนใช้ลีนุกซ์
ในตอนสุรปนี้ จะเพิ่มผลลัพธ์จากการรันคำสั่ง sysbench เพื่อทดสอบ fileio ทั้งการอ่านและเขียนไฟล์แบบ sequential, random
Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 3”
ในตอนแรก เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1 เราได้ทดลองใช้คำสั่ง mdadm เพื่อคอนฟิกดิสก์เป็นแบบ linear และ stripe ซึ่งให้ผลลัพธ์ความเร็วในการเขียนข้อมูลแตกต่างกัน ในตอนนี้จะลองใช้คำสั่ง LVM บ้าง เพื่อสร้างคอนฟิกแบบ linear และ stripe เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน
Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 2”
เกิดความสงสัยขึ้นมา ขณะคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์ที่มีดิสก์หลายๆ ก้อน เพื่อทำหน้าที่เป็น file server ว่า ระหว่างการใช้ mdadm และ lvm เพื่อรวมดิสก์แต่ละก้อนเข้าด้วยกันทำเป็น RAID-0 อย่างไหนจะเร็วกว่ากัน เลยทดสอบและนำผลลัพธ์แต่ละคอนฟิกมาเปรียบเทียบกัน
และเพื่อความครบถ้วนของการเปรียบเทียบ เลยทดสอบคอนฟิกทั้งเป็นแบบ linear และ stripe (RAID-0) จากการใช้คำสั่งทั้งสองด้วย โดยแยกเป็นสองบทความ ในตอนแรกจะใช้คำสั่ง mdadm ก่อน
Continue reading “เปรียบเทียบ RAID-0 จากคำสั่ง mdadm และ lvm ตอนที่ 1”
อาจเนื่องมาจากคุ้นเคยกับการใช้คำสั่ง command line บนลีนุกซ์ หรือ UNIX เพื่อแก้ไขคอนฟิกต่างๆ ของเครื่องเป็นเวลานาน เมื่อต้องมาทำบน Windows เช่นครั้งนี้ได้รับมอบหมายงานให้เพิ่ม local user จำนวนมากบนเครื่อง Windows XP หลายๆ เครื่อง แต่ห้ามคอนฟิกเป็น domain controller จึงหาวิธีการทำโดยใช้การรันคำสั่ง command line บน Windows
จากการค้นหาบน google มีอยู่หลากหลายวิธีที่จะเพิ่ม local user ได้ ทั้งการเขียนโปรแกรม สร้าง WSH (Windows Script Host) หรือล่าสุดที่ทาง Microsoft นำเสนอทางเลือกใหม่คือ Windows PowerShell
แต่ดูแล้วค่อนข้างจะยุ่งยาก บางอย่างเช่น Windows PowerShell ต้องมีการติดตั้งโปรแกรมใหม่ ซึ่งทางลูกค้าไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น
สุดท้ายมาลงเอยโดยใช้คำสั่ง net ซึ่งมีติดตั้งมาอยู่แล้วกับ Windows XP ทางผู้เขียนเพิ่งทราบเหมือนกันว่า สามารถใช้คำสั่งนี้ เพิ่มลบ user ได้ รวมทั้งสามารถคอนฟิกอื่นๆ ได้อีกด้วย
บทความนี้ขอเสนอวิธีการเซ็ตฟอนต์ไทยในโปรแกรม PuTTY เพื่อให้สามารถแสดงตัวอักษรภาษาไทยได้ถูกต้อง ทั้งการพิมพ์และการแสดงผล ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปใช้กับโปรแกรม Terminal Client อื่นๆ ได้
เว็บไซต์ Sunfreeware.com เป็นแหล่งรวม free software ที่ถูก compile ให้อยู่ในรูปแบบ package (.pkg) ทำให้สะดวกต่อการติดตั้งบน Solaris ไฟล์ที่มีให้ดาวน์โหลดมีตั้งแต่ Solaris 2.5 จนถึงเวอร์ชั่นล่าสุด Solaris 10 ทั้งสำหรับรันบนเครื่อง SPARC และ Intel (x86)
บทความนี้ขอแสดงวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench บน Solaris 10 (x86) เพื่อใช้วัดประสิทธิภาพเปรียบเทียบกับ Fedora 10
ในที่นี้ขอใช้แค่เวอร์ชั่น 0.4.10 และเลือกไม่คอมไพล์รวม mysql เพื่อความง่ายในการคอมไพล์และทดสอบ เพราะการที่จะคอมไพล์ sysbench เวอร์ชั่นใหม่กว่านี้ จะติดปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นดาวน์โหลดโปรแกรม library มาติดตั้งเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหา libtool ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตามเรายังสามารถนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบแบบคร่าวๆ เพราะวิธีการ benchmark ยังคงเป็นรูปแบบเดียวกัน
วันนี้ขอเขียนเกี่ยวกับ Solaris 10 ซะหน่อย ช่วงนี้ได้รับมอบหมายให้เพิ่มความปลอดภัย (secure) ให้กับเครื่อง Solaris แต่มีข้อแม้ไม่อยากให้ลง JASS (Solaris Security Toolkit) ก็เลยลองทำดู และเรียบเรียงมาเป็นบทความให้ผู้สนใจทั่วไป
การเพิ่มความปลอดภัยในบทความนี้ คือการปิดเซอร์วิสที่ไม่ได้ใช้งานโดยไม่กระทบกับงานที่ลูกค้าใช้ ซึ่งนอกจากจะปิดช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ยังได้ free memory เพิ่มคืนมาอีกด้วย Continue reading “เพิ่มความปลอดภัยให้ Solaris 10 แบบง่าย”
หลังจากที่คอมไพล์และติดตั้งโปรแกรม sysbench (คอมไพล์ sysbench บน Fedora 10) แล้ว ตอนนี้เราจะลองใช้ sysbench เพื่อทดสอบประสิทธิภาพความเร็วของ CPU (CPU Benchmark)
วิธีการใช้คำสั่ง sysbench ต้องระบุออปชั่น test ว่าเราจะทดสอบอะไร อาจระบุออปชั่นต่างๆ เพิ่มเติม เป็นค่าตัวแปรผันแปรที่ใช้ในการทดสอบ ค่าเหล่านี้จะมีค่าดีฟอลต์อยู่แล้ว ดูได้จากการรันคำสั่ง sysbench แบบไม่มีออปชั่น หรือดูจากผลลัพธ์ในการัน
การทดสอบในบทความนี้ เป็นการทดสอบ (test) CPU ให้คำนวณหาค่าจำนวนเฉพาะ (prime number) ตั้งแต่ 1 ไปจนถึงตัวเลขมากสุดเท่ากับค่าตัวแปร cpu-max-prime ในที่นี้จะระบุ 20000 แล้วตามด้วยออปชั่น run เพื่อสั่งเริ่มการคำนวณ
โดยในแต่การทดสอบจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวน CPU และจำนวน Threads ที่ใช้ (num-threads) ในการคำนวณ เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้วย
SysBench เป็นโปรแกรมที่ใช้วัดประสิทธิภาพ (benchmark) ของเครื่องได้หลายอย่าง ทั้ง CPU, Memory, Disk และ Database ทั้งนี้ยังสามารถระบุออปชั่นสำหรับการทดสอบได้เช่น จำนวน thread ที่รัน ขนาดที่จะทดสอบ ระยะเวลาที่ใช้ในการรัน
เราสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาเปรียบเทียบเพื่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ปรับแต่งเครื่อง หรือแก้ไขคอนฟิกให้ระบบทำงานได้ดีขึ้น
เนื่องจากในแผ่นติดั้ง หรือ จาก Fedora 10 Everything ไม่มีโปรแกรม sysbench ในรูปแบบ rpm ทำให้การที่จะใช้โปรแกรมนี้ได้ ในบทความนี้ขอนำเสนอขั้นตอนและวิธีการคอมไพล์โปรแกรม sysbench และติดตั้งเอง