เพิ่มบัญชีผู้ใช้งานเข้าไปใน OpenLDAP

หลังจากที่ ติดตั้ง OpenLDAP Server ไปแล้ว บทความนี้จะเป็นการเริ่มต้นใส่ข้อมูลเข้าไปใน LDAP ซึ่งในที่นี้จะใส่ข้อมูลให้สามารถเก็บบัญชีผู้ใช้งาน (User Account) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อให้สามารถ authenticate user บนลีนุกซ์ได้

Continue reading “เพิ่มบัญชีผู้ใช้งานเข้าไปใน OpenLDAP”

ติดตั้ง OpenLDAP Server บน Fedora 9

จากครั้งก่อนได้กล่าวถึง การติดตั้งและคอนฟิก Fedora Directory Server เบื้องต้น  ซึ่งเป็น LDAP Server ที่พัฒนาจากทีมงานของ Fedora ในบทความนี้จะกล่าวถึงอีกทางเลือกหนึ่งในการเลือกใช้งาน LDAP Server โดยจะเป็นการติดตั้งและเริ่มต้นคอนฟิก OpenLDAP Server 

Continue reading “ติดตั้ง OpenLDAP Server บน Fedora 9”

SSH – Secure Shell ล็อกอินด้วย Public Key Authentication

จากที่ได้ แนะนำการใช้งานโปรแกรม Secure Shell (SSH) เพื่อล็อกอินไปยังเครื่องอื่นนั้น โดยดีฟอลต์แล้วจะต้องใส่รหัสผ่าน (password) ก่อนที่จะล็อกเข้าไปยังเครื่องปลายทางได้ หรือรันคำสั่งบนเครื่องปลายทางได้

แต่ในบางครั้งการที่ต้องใส่รหัสผ่านทุกครั้งทำให้ไม่สะดวกในการใช้งาน ตัวอย่างเช่นต้องล็อกอินไปยังหลายๆ เครื่องอยู่เป็นประจำ หรือการเขียน Shell Script เพื่อล็อกอินไปยังเครื่องต่างๆ เพื่อรันคำสั่งที่ต้องการ   ในที่นี้จะแนะนำการล๊อกอินไปยังเครื่องปลายทางโดยไม่ต้องใส่รหัสผ่าน แต่อาศัยการล็อกด้วย Public Key Authentication

Continue reading “SSH – Secure Shell ล็อกอินด้วย Public Key Authentication”

แนะนำการใช้งานโปรแกรม Secure Shell (SSH)

SSH  (Secure Sell) คือโปรแกรมสำหรับล็อกอินและรันคำสั่งที่เครื่องปลายทางได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปใช้งานที่หน้าจอคอนโซลของเครื่อง จุดประสงค์หลักของโปรแกรมคือทำหน้าที่แทนโปรแกรมประเภท rlogin, rsh หรือ telnet โดยจะมีการเข้ารหัสข้อมูล (encrypted) เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งระหว่าง SSH Client และ SSH Server

Continue reading “แนะนำการใช้งานโปรแกรม Secure Shell (SSH)”

ปิดโมดูลที่ไม่ใช้งานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

โดยดีฟอลต์คอนฟิกของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งมากับลีนุกซ์เวอร์ชั่นต่างๆ จะเปิด (enable) การใช้งานโมดูลต่างๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อสะดวกและง่ายต่อการเริ่มต้นใช้งาน

แต่การใช้งานจริงๆ ในระบบ production แนะนำให้ปิด (disable) คอนฟิกของโมดูลที่ไม่ได้ใช้งาน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย (security) และประหยัดหน่วยความจำ Memory ที่ต้องถูกใช้งานโดยเปล่าประโยชน์ด้วย (แนะนำให้ใช้คำสั่ง ps เปรียบเทียบขนาด memory ที่ใช้ก่อนและหลังการปิดโมดูล)

บทความนี้ได้รวบรวมจัดกลุ่มโมดูลตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งถ้าคุณไม่ได้ใช้คุณสมบัติในโมดูลนั้นๆ สามารถที่จะปิดได้ ด้วยการใส่เครื่องหมาย # หน้าบรรทัดของ LoadModule โดยคอนฟิกทั้งหมดจะเป็นตัวอย่างที่ทำบน Fedora 9 และหลังจากการแก้ไขทั้งหมดเพื่อปิดโมดูลทั้งหมดนี้แล้ว เว็บยังสามารถรัน PHP ได้ตามปกติ

Continue reading “ปิดโมดูลที่ไม่ใช้งานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์”

ปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

บทความนี้ขอแนะนำการปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache ซึ่งติดตั้งมากับ Fedora 9 ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปิดคุณสมบัติที่ไม่ได้ใช้งานออกไป เพื่อประหยัดขนาด CPU, Memory ที่ต้องใช้ในการรันโปรแกรม

การแก้ไขทั้งหมดในบทความนี้เป็นการแก้ไขคอนฟิกในไฟล์ /etc/httpd/conf/httpd.conf ซึ่งจะเป็นไฟล์คอนฟิกหลักของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์

Continue reading “ปรับแต่งคอนฟิกพื้นฐานของ Apache เว็บเซิร์ฟเวอร์”

ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยคำสั่ง telnet

เราสามารถใช้คำสั่ง telnet ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่รันอยู่บนเครื่องอื่นได้  ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของ HTTP Header ที่ส่งจากเซิร์ฟเวอร์กลับไปยังไคลเอนต์

วิธีการคือใช้คำสั่ง telnet ตามด้วยชื่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการตรวจสอบ ลงท้ายด้วยตัวเลข 80 ซึ่งเป็นพอร์ตที่รันโดยดีฟอลต์เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์

Continue reading “ตรวจสอบเวอร์ชั่นของเว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วยคำสั่ง telnet”

คอนฟิก Ethernet Bonding บน Fedora Linux

พอร์ตแลน (Ethernet) ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นส่วนที่จะรับส่งข้อมูลกับเคื่องอื่นๆ ถ้าเซิร์ฟเวอร์มีแค่พอร์ตเดียวเชื่อมต่อเข้าเน็ตเวิร์ก แล้วสายที่เชื่อมต่อหลุดไป หรือไม่สามารถรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลได้เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดปัญหาการใช้งานได้

ในบทความนี้ขอแนะนำการคอนฟิก Ethernet Bonding (หรือ Teaming) เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการจัดกลุ่มพอร์ตแลนเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการรับส่งข้อมูล รูปแบบการส่งจะมีสองแบบใหญ่ๆ คือ

Continue reading “คอนฟิก Ethernet Bonding บน Fedora Linux”

ติดตั้ง VMware Tools บน Fedora 9 – Guest OS

หลังจากแนะนำบทความ ติดตั้ง VMware Server บน Fedora 9 ไปแล้ว ซึ่งเป็นการติดตั้ง VMware Server โดยใช้ Host OS เป็นลีนุกซ์ Fedora 9

ในบทความนี้จะเพิ่มเติมวิธีการติดตั้ง VMware Tools ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ติดตั้งบน Guest OS ที่ลงลีนุกซ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของลีนุกซ์บน Guest OS ให้ดียิ่งขึ้น โดยตัวอย่างจะเป็นการติดตั้ง VMware Tools เวอร์ชั่น 1.0.7 บน Fedora 9

Continue reading “ติดตั้ง VMware Tools บน Fedora 9 – Guest OS”

ตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กบนลีนุกซ์

บทความนี้ขอแนะนำการใช้คำสั่ง ethtool บนลีนุกซ์เพื่อตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กว่าเป็นอย่างไร เช่น สถานะของลิ้งก์ที่เชื่อมต่ออยู่ว่า Up หรือ Down ความเร็ว (speed) ของการเชื่อมต่อเท่าไร

Continue reading “ตรวจสอบสถานะของการ์ดเน็ตเวิร์กบนลีนุกซ์”