ติดตั้งและคอนฟิก Amavisd-new, ClamAv, SpamAssassin ใช้งานกับ Postfix บน Fedora 17

หลังจากที่ติดตั้ง postfix และคอนฟิกเพิ่มเติม ตามบทความที่เคยนำเสนอไปแล้ว

แทนที่จะปล่อยให้อีเมล์ผ่านเข้าออกเมล์เซิร์ฟเวอร์โดยไม่มีการตรวจสอบความปลอดภัยของเนื้อหาอีเมล์ ในที่นี้จะขอแนะนำการติดตั้งและคอนฟิก Amavisd-new ซึี่งถือเป็นโปรแกรมตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างเมล์เซิร์ฟเวอร์กับโปรแกรมตรวจสอบต่างๆ ในที่นี้จะใช้โปรแกรม ClamAv เพื่อตรวจสอบไวรัส และ SpamAssassin เพื่อดูเนื้อหาอีเมล์ที่ส่งว่ามีแนวโน้มจะเป็น spam หรือไม่

Continue reading “ติดตั้งและคอนฟิก Amavisd-new, ClamAv, SpamAssassin ใช้งานกับ Postfix บน Fedora 17”

คอนฟิก Postfix SMTP AUTH กับ Dovecot บน Fedora 17

บทความนี้จะอธิบายการแก้ไขคอนฟิก postfix เพื่อเปิด SMTP AUTH เพิ่มเติมความปลอดภัยของเมล์เซิร์ฟเวอร์อีกระดับหนึ่งคือมีการตรวจสอบ login, password กับโปรแกรม dovecot

Continue reading “คอนฟิก Postfix SMTP AUTH กับ Dovecot บน Fedora 17”

คอนฟิกส่งเมล์ SMTP ด้วย TLS ใน postfix บน Fedora 17

โดยดีฟอลต์จากการติดตั้ง postfix ผู้ใช้จากเครื่องอื่น (ที่มี ip อยู่ใน network ระบุในคอนฟิก mynetworks) จะสามารถใช้เครื่องนี้เป็นเซิร์ฟเวอร์ส่งเมลผ่านทางพอร์ต smtp (TCP 25) แบบไม่มีการเข้ารหัส

บทความนี้จะแนะนำวิธีคอนฟิก postfix เพื่อรองรับเครื่อง client ให้สามารถส่งเมล์ผ่านทางพอร์ต 587 (submission) ซึ่งเป็นพอร์ตดีฟอลต์สำหรับการคอนฟิกเมล์ใน iPhone และ Android และจะเปิดใช้การเข้ารหัส TLS เพื่อความปลอดภัยของเมล์ที่ส่ง

Continue reading “คอนฟิกส่งเมล์ SMTP ด้วย TLS ใน postfix บน Fedora 17”

ติดตั้ง WordPress บน CentOS 6

WordPress โปรแกรมทำเว็บไซต์ blog ที่สามารถนำมาใช้งานได้ฟรี เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อดีหลายอย่างเช่นการติดตั้งและคอนฟิกง่าย มีโปรแกรมเสริม (plugin) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์ และที่สำคัญหน้าเว็บที่แสดงบนเว็บไซต์จะถูกจัดเรียบเรียงเพื่อให้ search engine เช่น Google สามารถเข้ามาทำ index แล้วค้นหาเนื้อหา (keyword) ในเว็บเราได้สะดวก ซึ่งจะมีผลต่อลำดับในผลลัพธ์การค้นหา

WordPress พัฒนาด้วยภาษา PHP และใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูล ติดตั้งได้ทั้งบน Linux, Unix, MAC OS และ Windows

ในที่นี้จะแสดงวิธีการติดตั้ง WordPress บน CentOS 6 ตั้งแต่การดาวน์โหลดไฟล์ การสร้างฐานข้อมูล คอนฟิกผ่านหน้าเว็บ จนสามารถล็อกอินเข้าสู่หน้า admin ของ WordPress ได้

Continue reading “ติดตั้ง WordPress บน CentOS 6”

ใช้ yum ปรับปรุงเวอร์ชั่นของแพ็คเกจ

ทางทีมดูแลพัฒนา CentOS จะคอยดูแลปรับปรุงโปรแกรมและออกเวอร์ชั่นใหม่ตาม RedHat อยู่เสมอ ไฟล์แพ็คเกจเวอร์ชั่นใหม่นี้ จะถูกเก็บไว้ใน repos ชื่อ updates เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ yum เข้ามาตรวจสอบและปรับปรุงโปรแกรมได้

ในที่นี้จะแนะนำวิธีการปรับปรุงโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง yum ทั้งปรับปรุงเฉพาะโปรแกรม หรือปรับปรุงทุกโปรแกรมที่ติดตั้งบนเครื่องลีนุกซ์แล้ว

คำเตือน แนะนำให้ทดสอบในเครื่องลีนุกซ์ทดลองดูก่อน เพื่อดูผลกระทบการปรับปรุงเวอร์ชั่นของโปรแกรม

Continue reading “ใช้ yum ปรับปรุงเวอร์ชั่นของแพ็คเกจ”

ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp

ในหลายๆ ครั้ง เรามีไฟล์อยู่บน Windows ต้องการถ่ายโอนไปยังลีนุกซ์ หรือในทำนองกลับกัน ต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากลีนุกซ์กลับมาไว้บน Windows

บทนี้จะแนะนำการใช้โปรแกรม pscp รันบน Windows เพื่อใช้ถ่ายโอนไฟล์ (transfer) กับเครื่องที่รันลีนุกซ์ ผ่านทาง Secure Shell ได้

Continue reading “ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp”

เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์

เนื่องจาก root สามารถทำได้ทุกอย่างบนลีนุกซ์ ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม แก้ไขคอนฟิก หรือกระทั่งสั่งปิดเครื่อง (shutdown)

คำแนะนำอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้ลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นหัดใช้งาน หรือใช้งานมานานแล้ว คือล็อกอินเป็นผู้ใช้ธรรมดาที่ไม่ใช่ root ให้เป็นนิสัย เพราะผู้ใช้งานธรรมดา ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว เช่นดูคอนฟิกของเครื่อง แก้ไขไฟล์เท่าที่มีสิทธิ์ และหากทำอะไรผิดพลาดไป ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะกระทบในระดับหนึ่ง เท่าที่ผู้ใช้คนนั้นจะทำได้ ไม่กระทบทั้งเครื่อง

จนกว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรบางอย่างกับลีนุกซ์ที่จำเป็นต้องทำด้วย root ค่อยใช้คำสั่ง su เปลี่ยนผู้ใช้ root (หรือใช้ sudo) และเมื่อหลังจากแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ก็เปลี่ยนกลับมาเป็น user ธรรมดาอีกครั้ง

ในบทนี้จะอธิบายคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งาน โดยต้องใช้ root เป็นคนรันคำสั่ง

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์”

แก้ไขคอนฟิก firewall ด้วย system-config-firewall

จากบทความ แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables ผู้ที่จะแก้ไขคอนฟิกแบบนี้ได้ ต้องมีความรู้ทางด้านเน็ตเวิร์ก มีความเข้าใจเรื่อง firewall รวมทั้งต้องทราบว่าเซอร์วิสที่รันใช้พอร์ตอะไร

ซึ่งอาจทำให้เกิดความยากสำหรับผู้เริ่มต้น เพราะไม่รู้ว่าจะเพิ่ม หรือลบ rule อย่างไร ใส่ออปชั่นอะไรบ้าง

สำหรับผู้เริ่มต้นหัดใช้ แนะนำให้ใช้โปรแกรม system-config-firewall เพื่อช่วยแก้ไข rule ของ firewall บนลีนุกซ์

Continue reading “แก้ไขคอนฟิก firewall ด้วย system-config-firewall”

แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables

บนลีนุกซ์มีคุณสมบัติ firewall ติดตั้งมาให้สามารถเลือกอนุญาต หรือปฏิเสธการ รับ/ส่ง packet เข้า/ออกเครื่องได้

จุดมุ่งหมายหลักๆ ของ firewall ก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์

หลายคนมักจะปิดคุณสมบัตินี้ไป ด้วยเหตุผลบอกว่ายากต่อการทำความเข้าใจ และแก้ไข

ในบทความนี้จะอธิบายการใช้คำสั่ง iptables เพื่อแสดงสถานะ firewall ที่เปิดใช้งาน การเพิ่ม rule เพื่ออนุญาตการเชื่อมต่อ การลบ rule ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

ลองทำตามดู ในหลายเซอร์วิส เพียงแค่แก้ไข rule นิดเดียวเท่านั้น ก็จะใช้งานได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องปิดคุณสมบัติ firewall แต่อย่างได้

Continue reading “แก้ไขคอนฟิก firewall บนลีนุกซ์ด้วย iptables”