คอนฟิก IPv6 บน CentOS 6

แม้จะทราบปัญหาเรื่อง IPv4 Address ที่ไม่เพียงพอถึงขั้นขาดแคลนมาเป็นเวลานานมาก แต่ก็ไม่ได้ศึกษา IPv6 เรื่องนี้อย่างจริงจัง

จนโดนลูกค้าสั่งให้คอนฟิก IPv6 บนเซิร์ฟเวอร์ให้หน่อย จึงต้องหาข้อมูล ศึกษาวิธีการคอนฟิก เลยนำมาแชร์ให้อ่านกัน

ในที่นี้จะแสดงวิธีคอนฟิกบน CentOS 6

Continue reading “คอนฟิก IPv6 บน CentOS 6”

คอนฟิก MySQL 5.5 Replication บน CentOS 6

บทความนี้จะอธิบายคอนฟิก MySQL Replication เพื่อ replicate ข้อมูลระหว่าง MySQL Database Server สองเครื่อง ทั้งแบบ Master-Slave และ Master-Master โดยทดสอบกับเวอร์ชั่น 5.5 ที่ติดตั้งบน CentOS 6

Continue reading “คอนฟิก MySQL 5.5 Replication บน CentOS 6”

ลบ route เน็ต 169.254.0.0 ออกจากลีนุกซ์ CentOS

Zeroconf ช่วยให้เครื่องที่อยู่ในเน็ตเดียวกันสามารถคุยกันได้ แม้ไม่ต้องคอนฟิก IP หรือไม่ต้องใช้ DHCP  โดย Zeroconf จะคอนฟิกไอพีให้อยู่ในเน็ต 169.254.0.0 (link-local) โดยอัตโนมัติ ใช้งานได้ทั้ง Windows, Linux

หากลองสังเกตดู เช่นคุณตั้งใจเซ็ตให้เครื่องรับไอพีจาก DHCP Server แต่ DHCP ใช้งานไม่ได้ ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม ลองดู Status จะเห็นว่าเครื่องคุณจะได้ไอพีที่อยู่ในเน็ต 169.254.0.0 มาโดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างการได้รับไอพี 169.254.0.0 บนเครื่องที่ติดตั้ง Windows 7 ในกรณีที่ DHCP ใช้งานไม่ได้

01-win7-zeroconf

Continue reading “ลบ route เน็ต 169.254.0.0 ออกจากลีนุกซ์ CentOS”

คอนฟิก QoS บนลีนุกซ์ด้วย HTB

หากคุณใช้ลีนุกซ์เป็น gateway หรือ router เชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์ก เช่นระหว่างภายในบริษัทและอินเตอร์เน็ต และต้องการควบคุมปริมาณการส่งข้อมูล Traffic Control หรือ QoS เช่นกำหนดว่าให้ใคร (ip, port) สามารถใช้ bandwidth ได้เท่าไรบ้าง

เท่าที่ผู้เขียนทดลองมา คิดว่าการใช้คำสั่ง tc คอนฟิกการใช้ bandwidth ด้วย HTB บนลีนุกซ์ น่าจะเป็นวิธีการคอนฟิกที่ง่ายที่สุด และยังสามารถกำหนดรายละเอียดในการคอนฟิกได้ค่อนข้างละเอียดอีกด้วย

Continue reading “คอนฟิก QoS บนลีนุกซ์ด้วย HTB”

การอ่านค่า argument ในสคริปต์ expect

วิธีการอ่าน argument เพื่อมาเรียกใช้ในการเขียนสคริปต์ expect

Continue reading “การอ่านค่า argument ในสคริปต์ expect”

คอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตเดียวกันบนลีนุกซ์

บางครั้งเราต้องคอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตแลนเดียวกัน  (หรือเรียกว่าสร้าง Virtual IP เพิ่มเติม หรือคอนฟิก Secondary IP ในอุปกรณ์ Cisco)

ใบบทความนี้ จะอธิบายวิธีคอนฟิกทั้งการเพิ่ม และลบ IP บนลีนุกซ์

Continue reading “คอนฟิกหลาย IP Address ในพอร์ตเดียวกันบนลีนุกซ์”

ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ Autodesk Network License บนลีนุกซ์

ลองมาดูวิธีการติดตั้ง Autodesk Network License บนลีนุกซ์กัน เพื่อทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ license ของเครื่องที่จะรันโปรแกรมของ Autodesk เช่น Maya

Continue reading “ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ Autodesk Network License บนลีนุกซ์”

ดูว่า IP ไหน ใช้เซิร์ฟเวอร์เยอะ ด้วย IPTraf

หลายครั้งที่เรียกใช้งานเซิร์ฟเวอร์ แล้วช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากรู้ว่าเป็นเพราะมีการใช้งานมากเกินไปหรือไม่ แล้วถ้าใช้มาก มาจากเครื่องไหน IP อะไร เรียกใช้พอร์ตอะไรอยู่

วันนี้ขอแนะนำ IPTraf เป็นโปรแกรมรันบนคอนโซล เรียกใช้งานง่ายๆ แต่ผลลัพธ์ที่แสดงมีประโยชน์มาก น่าจะช่วยตอบโจทย์ว่ามีใครใช้งานเซิร์ฟเวอร์อยู่บ้าง ใช้เท่าไร

ในที่นี้จะทดสอบบน CentOS 6.3

ล็อกอินด้วย root แล้วรันคำสั่ง iptraf

[root@cent6 ~]# iptraf
-bash: iptraf: command not found

หากขึ้น error แบบนี้ แสดงว่าเครื่องนี้ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม iptraf ไว้ ต้องติดตั้งเพิ่ม

ไฟล์ rpm ของ iptraf อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6 อยู่แล้ว

ใช้คำสั่ง mount แล้วติดตั้งด้วยคำสั่ง rpm

[root@cent6 ~]# mount /dev/dvd /mnt/
mount: block device /dev/sr0 is write-protected, mounting read-only

[root@cent6 Packages]# rpm -i iptraf-3.0.1-14.el6.x86_64.rpm

[root@cent6 Packages]# cd ~
[root@cent6 ~]#

หลังการติดตั้ง รันคำสั่ง iptraf อีกครั้ง

[root@cent6 ~]# iptraf

หน้าจอโปรแกรม iptraf แสดงผลผ่านหน้าจอคอนโซล

 

กดปุ่มใดก็ได้ ไปหน้าถัดไป

จะเป็นหน้าจอเลือกโหมดในการทำงาน หากต้องการดูว่า IP ไหน พอร์ตไหน เรียกใช้ เซิร์ฟเวอร์อยู่ ให้เลือก “IP traffic monitor”

 

หน้าจอเลือกพอร์ต (Interface) ที่จะดูแพ็กเกจเข้าออก เช่น eth0

 

ตัวอย่างผลลัพธ์ที่แสดงการดู IP, พอร์ต รวมทั้งจำนวน Packets, ขนาดข้อมูล Bytes รวมทั้ง Flags แสดงสถานะของแพ็กเกจที่เข้าออกพอร์ตด้วย

 

ในหน้าจอนี้สามารถกดปุ่ม S เพื่อเรียงลำดับตาม Packets หรือ Bytes ได้

หากต้องการออกจากโปรแกรม iptraf ก็ให้กดปุ่ม X เพื่อกลับสู่หน้าจอเลือกโหมดการทำงาน แล้วกด x อีกครั้งเพื่อออกจากโปรแกรม

ข้อมูลอ้างอิง

แก้ไขปัญหา BIND DNS ขึ้น named error (network unreachable) resolving

หากต้องการแก้ไขปัญหาการใช้งาน BIND เพื่อรันเซอร์วิสเป็น DNS Server สามารถดูเหตุการณ์หรือข้อผิดพลาด (error) ที่เกิดขึ้นในไฟล์ /var/log/messages โดยจะใช้ชื่อโปรแกรมเป็น named

ปัญหาหนึ่งที่ค่อนข้างกวนใจสำหรับการใช้งาน คือมักจะขึ้นข้อความ error (network unreachable) resolving ตามด้วยชื่อหรือโดเมนที่ต้องการหา แล้วตามด้วยเลข IPv6

Continue reading “แก้ไขปัญหา BIND DNS ขึ้น named error (network unreachable) resolving”

คอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน

หลังจาก ติดตั้งและคอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 1 caching only เสร็จเรียบร้อย

ในตอนนี้จะมาดูวิธีการเพิ่มข้อมูลโดเมนใหม่เพื่อแปลงชื่อเป็น IP Address  เช่นไว้ใช้สำหรับภายในองค์กรเอง หรือถ้าเราจดทะเบียนชื่อโดเมนบนอินเตอร์เน็ตแล้ว ต้องการให้บริการแก่คนอื่น วิธีการที่จะแปลงชื่อเช่น www.example.com มาเป็น IP Address ของเครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ของเรา แทนที่ต้องไปเสียค่าบริการเช่า DNS hosting เพิ่มเติม เรามาคอนฟิกตั้ง DNS Server แล้วชี้ name server มาที่ IP ของเซิร์ฟเวอร์ที่เรากันดีกว่า

Continue reading “คอนฟิก BIND DNS เซิร์ฟเวอร์ – ตอนที่ 2 เพิ่มโซนโดเมน”