รายละเอียดของแต่ละ service ใน Fedora 9

รายละเอียดของแต่ละ service ที่มาจากการติดตั้ง Fedora 9 แบบไม่เลือก Package Group ใดๆ เลย พร้อมคำแนะนำว่าจะปิดหรือเปิด service สำหรับการใช้งาน

NetworkManager
เป็น service ที่สามารถปรับเปลี่ยนคอนฟิกของ network เพื่อให้ต่อเชื่อมกับ network เช่น WiFi ได้อย่างอัตโนมัติ
คำแนะนำ

  • ปิด – สำหรับ server
  • เปิด – สำหรับ notebook ที่มีการเปลี่ยนที่ใช้งานเป็นประจำ

acpid
เป็น service สำหรับตรวจสอบสถานะของเครื่อง โดยจะใช้ได้สำหรับ BIOS บางรุ่น วิธีทดสอบง่ายๆ คือเข้าไปดูใน /proc/acpi/ แล้วใช้คำสั่ง cat ดูไฟล์ต่างๆ ว่าสามารถตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ได้หรือไม่
คำแนะนำ

  • เปิด – สำหรับเครื่องที่ตรวจสอบสถานะได้
  • ปิด – ถ้าเราไม่สนใจตรวจสอบ

anacron
การปิด/เปิด บ่อยๆ อาจทำให้ crontab ที่ตั้งไว้ไม่สามารถทำงานได้เลย เช่นโดยดีฟอลต์แล้วจะมี crontab รันอยู่ทุกวันเวลา 4:02 AM แต่ถ้าเราไม่ได้เปิดเครื่องเวลานี้ crontab นี้ ก็จะไม่ถูกรันเลย
คำแนะนำ

  • เปิด – สำหรับ notebook, desktop ที่มีการปิด/เปิด อยู่เรื่อยๆ
  • ปิด – สำหรับ server ที่เปิดเครื่องตลอดเวลา

atd
เป็น service สำหรับการตั้งเวลาในการรันโปรแกรมได้ ซึ่งตามประสบการณ์ส่วนตัวของผมแล้ว แทบไม่เคยใช้เลย
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นมีคนต้องการใช้จริงๆ

avahi-daemon
ใช้สำหรับหาอุปกรณ์เช่น printer, scanner ที่เชื่อมอยู่โดยอัตโนมัติ
คำแนะนำ

  • ปิด – เวลาจะใช้อุปกรณ์ แล้วค่อยคอนฟิกเองดีกว่า

bluetooth
สำหรับเชื่อมต่อกับ bluetooth
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นต้องการใช้งาน

capi
สำหรับต่อเชื่อมอุปกรณ์ประเภท ISDN
คำแนะนำ

  • ปิด

cpuspeed
เป็นการปรับความเร็วของ CPU ตามการใช้งาน
คำแนะนำ

  • ปิด – สำหรับ server
  • เปิด – สำหรับ notebook เพื่อการประหยัดไฟ

crond
เป็น service สำหรับการตั้งเวลาในการรันโปรแกรมต่างๆ จำเป็นต้องรันทุกเครื่อง
คำแนะนำ

  • เปิดเท่านั้น

cups
สำหรับต่อเชื่อมกับ printer ไม่ว่าจะเป็นแบบต่อโดยตรง หรือสั่งผ่าน network
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นต้องการใช้งาน printer เช่น สั่งพิมพ์งานจากโปรแกรมที่รันอยู่ใน Linux

dund
เป็นโปรแกรมที่ทำให้สามารถสั่ง dial-up ได้ผ่านอุปกรณ์ Bluetooth
คำแนะนำ

  • ปิด

gpm
ทำให้เราสามารถใช้ mouse ผ่านหน้าจอ console โดยตรงของเครื่องได้ เช่น copy, paste ไม่เกี่ยวกับใช้งาน mouse ผ่าน X Window หรือใช้งานผ่านโปรแกรมที่เรา Secure Shell เข้าไป
คำแนะนำ

  • ปิด

haldaemon
ตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์
คำแนะนำ

  • เปิด

ip6tables
เป็น iptables firewall ที่รองรับ IPv6
คำแนะนำ

  • ปิด – ไว้ IPv6 ใช้งานอย่างแพร่หลายแล้ว ค่อยมาว่ากันใหม่

iptables
ทำหน้าที่เป็น firewall
คำแนะนำ

  • เปิด – โดยดีฟอลต์แล้ว จะอนุญาต เฉพาะ ping หรือ Secure Shell เข้ามายังเครื่องเราเท่านั้น แต่จากเครื่องเราสามารถออกไปข้างนอกได้หมด

irda
รองรับพอร์ต Infrared
คำแนะนำ

  • ปิด

irqbalance
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสำหรับเครื่องที่มี multiprocessor ซึ่งรวมทั้ง multi-core ด้วย
คำแนะนำ

  • เปิด – ยกเว้นเครื่องจะเก่ามากเป็นแบบ CPU เดียว

isdn
รองรับอุปกรณ์ ISDN
คำแนะนำ

  • ปิด

mdmonitor
ตรวจสอบสถานะของ Software RAID ซึ่งไม่รวมถึง Hardware RAID
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นในเครื่องมีคอนฟิกฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ Software RAID

messagebus
สำหรับส่งข้อมูลระหว่างโปรแกรม
คำแนะนำ

  • เปิด

microcode_ctl
สำหรับปรับปรุงค่าใน CPU Intel เท่านั้น
คำแนะนำ

  • เปิด – สำหรับ CPU Intel

multipathd
รองรับการเชื่อมต่อกับ Multi-path Storage Device พร้อมๆ กันหลายเครื่องได้
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ประเภทนี้

netconsole
สำหรับส่ง console logging ผ่าน network
คำแนะนำ

  • ปิด

netfs
เป็น service สำหรับใช้งานดิสก์ (mount) ผ่านทาง network ไม่ว่าจะเป็น NFS, Samba
คำแนะนำ

  • ปิด

netplugd
ตรวจสอบและเปลี่ยนค่าคอนฟิกของ network interface เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ
คำแนะนำ

  • ปิด

network
คอนฟิกค่า IP Address, Subnet mask และอื่นๆ สำหรับการเชื่อมต่อกับ network
คำแนะนำ

  • เปิดเท่านั้น – ยกเว้นคุณต้องการให้เครื่องอยู่อย่างโดดเดี่ยว (standalone) ไม่คุยกับใคร

nfs
nfslock

เป็น service เพื่อให้สามารถใช้งานดิสก์ผ่านทาง network แบบ NFS ได้
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นเมื่อต้องการใช้งาน

nscd
เก็บค่าสำรอง (cache) สำหรับข้อมูลเช่น password ในการใช้งาน NIS, LDAP
คำแนะนำ

  • ปิด

pand
รองรับอุปกรณ์ bluetooth
คำแนะนำ

  • ปิด

pcscd
มีไว้สำหรับรองรับอุปกรณ์ประเภท Smart Card ที่ต่อเชื่อมกับเครื่องโดยตรง
คำแนะนำ

  • ปิด

psacct
เก็บข้อมูลการใช้งาน process ว่าผู้ใช้งาน ใช้คำสั่ง อะไรบ้าง เมื่อเวลาเท่าไร โดยถ้ารัน service นี้แล้ว เราสามารถใช้คำสั่ง lastcomm เพื่อดูข้อมูลย้อนหลังได้
คำแนะนำ

  • ปิด – ยกเว้นมีนโยบายในการตรวจสอบจริงๆ

rdisc
ไว้สำหรับค้นหา router ที่ต่อเชื่อมกับ network โดยอัตโนมัติ
คำแนะนำ

  • ปิด – แล้วคอนฟิกเองดีกว่า

restorecond
เป็น service สำหรับตรวจสอบสถานะและปรับปรุงคอนฟิกของ SELinux
คำแนะนำ

  • เปิด – ถ้าคุณตัดสินใจใช้ SELinux

rpcbind
ทำหน้าที่จัดการโปรแกรม NFS, NIS เหมือนกับ portmap
คำแนะนำ

  • ปิด

rpcgssd
rpcidmapd
rpcsvcgssd

เป็น service สำหรับ NFSv4
คำแนะนำ

  • ปิด

rsyslog
เป็นโปรแกรมที่ใช้แทนที่ syslog สำหรับเก็บ log ของเครื่อง
คำแนะนำ

  • เปิดเท่านั้น

saslauthd
รองรับโปรแกรมที่ใช้แบบ SASL เช่นโปรแกรมประเภท Mail Server
คำแนะนำ

  • ปิด – แนะนำให้ปิดไว้ก่อน ถ้าจะคอนฟิก Mail Server แล้วค่อยมาเปิดกันอีกที

sendmail
โดยคอนฟิกที่มาตอนติดตั้ง จะทำหน้าที่เป็น Mail Server แต่ใช้งานเฉพาะในเครื่องเท่านั้น (localhost, 127.0.0.1) ไม่รองรับการเชื่อมต่อจากเครื่องอื่นๆ บางคนก็แนะนำให้เปิดไว้ เพราะจะมี log บางอย่างเช่น จาก crontab ส่งไปยัง root แต่ถ้าคุณไม่สนใจ log พวกนี้ ก็ปิดไปได้เลย
คำแนะนำ

  • ปิด

smartd
มีไว้สำหรับตรวจสอบสถานะเช่นอุณหภูมิของฮาร์ดดิสก์ได้ แต่ดิสก์บางรุ่นก็ไม่รองรับ หรืออาจมีปัญหาในการรัน service นี้ได้
คำแนะนำ

  • เปิด – สำหรับเครื่องที่ตรวจสอบสถานะได้ แล้วไม่มีปัญหาในการรัน

sshd
เป็น service ที่ทำให้เราสามารถที่จะ remote login แบบ Secure Shell เข้าไปในเครื่องได้ โดยใช้โปรแกรมเช่น PuTTY
คำแนะนำ

  • เปิด – สำหรับ server
  • ปิด – สำหรับ notebook, desktop ที่ใช้งานส่วนตัว และไม่ต้องการให้เครื่องอื่น remote เข้ามาได้

udev-post
ใช้ตรวจสอบ แก้ไข คอนฟิกของอุปกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงได้
คำแนะนำ

  • เปิด

winbind
ทำงานร่วมกับ Samba File Sharing
คำแนะนำ

  • ปิด

wpa_supplicant
เป็น service เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับ Wireless แล้วมีการใช้งานแบบ WPA
คำแนะนำ

  • ปิด – สำหรับเครื่องที่ไม่ได้ใช้ Wireless ในการเชื่อมต่อ network

ypbind
ทำให้เครื่องเป็น NIS Client
คำแนะนำ

  • ปิด

ข้อมูลอ้างอิง

3 thoughts on “รายละเอียดของแต่ละ service ใน Fedora 9”

  1. มีประโยชน์มากเลยครับ ทำให้ประหยัดทรัพยากรไปได้มากเลย
    ขอบคุณมากครับกับบทความดีๆแบบนี้

  2. ขอบพระคุณมากครับ มีประโยชน์ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.