คอนฟิก Samba File Sharing Server

บทความนี้ขอแนะนำการติดตั้งและคอนฟิก Samba เพื่อทำหน้าที่เป็น File Sharing Server เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ใช้เครื่อง Windows สามารถที่จะแชร์ฝ่ายร่วมกันได้

ระบบที่ทดสอบ

  • Fedora 8
  • samba-common-3.0.26a-6.fc8 ( อยู่ในแผ่นติดตั้ง Fedora 8 )
  • samba-client-3.0.26a-6.fc8 ( อยู่ในแผ่นติดตั้ง Fedora 8 )
  • samba-3.0.26a-6.fc8 ( อยู่ในแผ่นติดตั้ง Fedora 8 )

ติดตั้งโปรแกรมจากไฟล์ rpm โดยเรียงตามลำดับด้านบน หลังจากติดตั้งโปรแกรม samba เสร็จเรียบร้อย ไฟล์คอนฟิกจะอยู่ใน /etc/samba/ โดยไฟล์หลักคือ /etc/samba/smb.conf

แก้ไขคอนฟิก
ในบทความนี้จะกล่าวถึงคอนฟิกพื้นฐานเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเริ่มต้นแชร์ไฟล์กันได้

Workgroup, Server String
แก้ไข workgroup เพื่อให้ server อยู่ workgroup เดียวกับเครื่อง Windows เช่นอยู่ใน ITGROUP สามารถทำได้ตามตัวอย่างด้านล่างนี้

ตัวอย่างการคอนฟิก Samba workgroup ให้เป็น ITGROUP

workgroup = ITGROUP

แก้ไข ‘server string’ ซึ่งสามารถใช้เป็นคำอธิบาย (NT description) ว่าเป็น file server สำหรับอะไร

ตัวอย่างการคอนฟิก Samba server string

server string = Fie Server for IT Staff

Sharing Path
ส่วนที่แชร์โดยดีฟอลต์ที่มาจากการติดตั้งโปรแกรมจะมีเฉพาะ home directory ของผู้ใช้งานที่มี account นน server เท่านั้น โดยจะถูกกำหนดในส่วนของ Share Definitionsตามคอนฟิกด้านล่างนี้


[homes]
comment = Home Directories
browseable = no
writable = yes

ถ้าเราต้องการเพิ่ม Sharing Path เช่นต้องการเพิ่มแชร์ Documents เพื่อให้ผู้ใช้งานสามาถแชร์ไฟล์เอกสารร่วมกันได้ โดยทุกคนสามารถจะอ่าน,เขียนไฟล์ที่อยู่ในส่วนแชร์นี้ได้ ทำได้โดยเพื่อคอนฟิกตามตัวอย่างด้านล่างนี้ต่อท้ายบรรทัดสุดท้ายในไฟล์ /etc/samba/smb.conf

ตัวอย่างการเพิ่มคอนฟิกแชร์ Documents

[Documents]
comment = Document Sharing
path = /home/Documents
public = yes
writable = yes
printable = no

/home/Document คือ directory บน server สำหรับเก็บไฟล์ที่แชร์ร่วมกัน ต้องแก้สิทธิเพื่อให้ user สามารถอ่านเขียนไฟล์ได้ สำหรับเบื้องต้นแนะนำให้ตั้งค่าเป็น อ่าน,เขียนได้ทุกคน (permission 777)


[root@server ~]# chmod 777 /home/Documents

เพิ่มบัญชีผู้ใช้งานและตั้งรหัสผ่าน
คอนฟิกดีฟอลต์ที่มาจากการติดตั้งจะมีส่วนเก็บชื่อบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username, Password) แยกจาก UNIX User Account ดังนั้นเราต้องเพิ่มบัญชีผู้ใช้งานขึ้นมาเองต่างหาก โดยชื่อนี้ต้องมีอยู่ใน UNIX User Account แล้ว

ตัวอย่างการเพิ่มบัญชีผู้ใช้งาน user1 และตั้งรหัสผ่านเป็น user1234 เพื่อให้ใช้งานแชร์ไฟล์ได้

[root@server ~]# useradd user1
[root@server ~]# smbpasswd -a user1
New SMB password: user1234
Retype new SMB password: user1234
Added user user1.

ทดสอบการใช้งานจากเครื่อง Windows
กดปุ่ม Start -› Run แล้วพิมพ์ \\192.168.1.1 โดย 192.168.1.1 คือ ip address ของเครื่อง server

ใส่บัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านก่อนใช้งาน หลังจากที่ใส่รหัสผ่านถูกต้องแล้ว จะมีชื่อ sharing ต่างๆ ที่มีอยู่ กดเลือกส่วนที่ต้องการได้

ข้อมูลอ้างอิง