สั่งพิมพ์ไปยัง JetDirect Printer ด้วยคำสั่ง nc

วิธีการสั่งพิมพ์ผ่านเน็ตเวิร์ก ไปยังเครื่องพิมพ์ที่ต่อพอร์ตแลนด้วย JetDirect Printerโดยใช้คำสั่ง nc  ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ส่งข้อมูลที่ต้องการเข้าพอร์ต TCP 9100 โดยตรง

เผื่อให้ผุ้อ่านได้ลองนำไปใช้ในการสั่งพิมพ์จากเครื่องลีนุกซ์ หรือแม้กระทั่งเขียนโปรแกรมเพื่อส่งข้อมูลด้วย socket สั่งพิมพ์ข้อความได้

Continue reading “สั่งพิมพ์ไปยัง JetDirect Printer ด้วยคำสั่ง nc”

สั่งปิดลีนุกซ์เมื่อไฟดับด้วย APC UPS

ช่วงฝนตก ฟ้าร้อง อุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์ ก็คืออุปกรณ์สำรองไฟ หรือ UPS เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไฟตก ไฟกระชาก หรือไฟดับ

แต่ถ้าไฟดับเป็นระยะเกินกว่าแบตเตอรีของ UPS จะจ่ายไฟที่สำรองไว้ได้ ก็จะทำให้เครื่องเซิรฟ์เวอร์ดับไปอยู่ดี ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อมูลในเครื่องเสียหายได้

เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในเครื่อง แนะนำให้ลงทุนซื้อ UPS ที่สามารถสั่งปิด (shutdown) เครื่อง เมื่อเกิดเหตุไฟดับได้

ถ้าแบบที่หาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป ก็ให้เลือก UPS ที่มีพอร์ต USB ต่อสายเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และถ้าต้องการให้สั่งปิด (shutdown) ลีนุกซ์ได้ ก็ต้องเลือกรุ่นที่มีโปรแกรมหรือไดร์เวอร์รองรับบนลีนุกซ์

ในที่นี้จะใช้ APC UPS ที่มีสาย USB ต่อเข้ากับเครื่องที่รันลีนุกซ์ CentOS 6 แล้วติดตั้งโปรแกรม apcupsd เพื่อคอนฟิกสั่งปิดเครื่องเมื่อไฟดับแล้วเหลือแบตเตอรีถึงค่าที่กำหนดได้

หมายเหตุ ผู้เขียนไม่มีความเกี่ยวข้องหรือต้องการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของบริษัท APC UPS แต่อย่างใด

Continue reading “สั่งปิดลีนุกซ์เมื่อไฟดับด้วย APC UPS”

สร้าง cloud เก็บไฟล์ส่วนตัวด้วย ownCloud

 

อยากมี Cloud ไว้เก็บไฟล์ส่วนตัว หรือไว้ใช้ภายในองค์กรไหม

ขอแนะนำ ownCloud โปรแกรม (Open Source) ที่เราสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ของเราเองได้ฟรี  ด้วยคุณสมบัติเหมือนกับการบริการรับฝากไฟล์ทั่วไป

ลองมาดูตัวอย่างการติดตั้งกัน

Continue reading “สร้าง cloud เก็บไฟล์ส่วนตัวด้วย ownCloud”

ติดตั้งแพ็กเกจบน Mac OS X ได้มากขึ้นด้วย Homebrew

OS X ก็จัดว่าเป็นยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง ทำให้โปรแกรมที่รันบนลีนุกซ์ได้ ก็น่าจะนำมารันบนเครื่อง Mac ได้ เพียงแต่ความยุ่งยาก ก็คือต้องดาวน์โหลดแพ็กเกจที่มีคนสร้างไว้สำหรับรันบน Mac ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบไฟล์ .pkg

เพื่อความง่ายต่อการจัดการโปรแกรมหรือแพ็กเกจเพิ่มเติมบน Mac แนะนำให้ลองใช้ Homebrew หรือ brew เพื่อใช้ในการจัดการแพ็กเกจ (Package Manager) ซึ่ง brew สามารถค้นหา (search) ติดตั้งโปรแกรมที่ต้องการ (install) ติดตั้งโปรแกรมที่ต้องจำเป็นใช้ (dependencies) ปรับปรุงเวอร์ชัน (upgrade) ถอนการติดตั้ง (uninstall) ได้

ลองมาดูวิธีการติดตั้งและใช้งาน homebrew หรือ brew บน OS X กัน

ถ้าเปรียบเทียบ brew บน Mac ก็ทำหน้าที่คล้ายกับ yum บน CentOS/RedHat หรือ apt-get บน Ubuntu

Continue reading “ติดตั้งแพ็กเกจบน Mac OS X ได้มากขึ้นด้วย Homebrew”

สร้างบู๊ตดิสก์ USB เพื่อติดตั้งลีนุกซ์ ด้วยคำสั่งบน Mac OS X

นับวันไดร์ฟซีดีหรือดีวีดีที่ติดมากับเครื่องจะหายากขึ้น โดยเฉพาะโน้ตบุ๊คที่มีขนาดเล็ก ที่ผู้ผลิตจะตัดออกไปเพื่อประหยัดพื้นที่ เพื่อให้ตัวเครื่องขนาดบางลง ทำให้หากเราต้องการสร้างแผ่นติดตั้งระบบปฎิบัติการเช่นลีนุกซ์จากไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา ก็ต้องไปหาซื้อตัวไดร์ฟดีวีดี external มาต่อเพิ่มเติม

เพื่อเป็นการทดแทน ปัจจุบันเครื่องรุ่นใหม่หลายรุ่นหลายยี่ห้อ ตั้งแต่โน้ตบุ๊ก เครื่อง PC จนถึงระดับเซิร์ฟเวอร์ จะรองรับการบู๊ตด้วยดิสก์ USB เพื่อใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการแทน

ในที่นี้ลองมาดูการใช้คำสั่งบนเครื่อง Mac OS X เพื่อสร้างดิสก์ USB เพื่อบู๊ตติดตั้ง CentOS 7 จากไฟล์ iso ที่ดาวน์โหลดมา

Continue reading “สร้างบู๊ตดิสก์ USB เพื่อติดตั้งลีนุกซ์ ด้วยคำสั่งบน Mac OS X”

ตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi บน Mac OS X ด้วย Wireless Diagnostics

บางครั้งโปรแกรมที่ต้องการ ก็มีอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องรู้ชื่อคำสั่ง หรือวิธีเรียกใช้งาน

หลังจากที่หาโปรแกรมที่รันบน Mac OS X เพื่อใช้ในการตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi อยู่นาน สุดท้ายพบว่า โปรแกรมที่ต้องการมีอยู่แล้วในเครื่อง เพียงแต่ต้องรู้วิธีเปิดใข้งานเท่านั้นเอง

โปรแกรมที่ว่าคือ Wireless Diagnostics ที่สามารถใช้ตรวจสอบ ดูข้อมูล Wi-Fi โหมด (Mode) เชื่อมต่อว่าเป็น a/b/g/n ช่องสัญญาณ (Channel) ความแรงของสัญญาณ (RSSI) สามารถ scan หา SSID หรือ BSSID รวมทั้งสร้างกราฟเพื่อเปรียบเทียบความแรงสัญญาณ (RSSI) เทียบกับสัญญาณรบกวน (Noise) ได้ด้วย

Continue reading “ตรวจสอบสัญญาณ Wi-Fi บน Mac OS X ด้วย Wireless Diagnostics”

Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed

คำสั่ง sed (Stream EDitor) เป็นอีกคำสั่งพื้นฐานของลีนุกซ์ที่ใช้กันบ่อย เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเท็กซ์จากต้นทาง (input) ให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ (output)

นอกจากลีนุกซ์แล้ว บนยูนิกซ์ (Unix) เกือบทุกตระกูลรวมทั้ง Mac OS จะมีคำสั่ง sed ติดตั้งมาให้โดยดีฟอลต์ จะแตกต่างกันตรงเวอร์ชันที่ติดตั้ง ของลีนุกซ์จะใช้เป็น GNU sed ซึ่งจะมีออปชันให้ใช้มากหน่อย แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแค่การใช้ sed แบบพื้นฐานที่สามารถใช้ได้กับ sed ทุกเวอร์ชัน

Continue reading “Linux Shell : เปลี่ยนแปลงข้อความที่ต้องการด้วย sed”

ทดสอบเว็บไซต์ของคุณด้วย IE ตั้งแต่ IE6 บน WinXP ถึง IE11 บน Win8.1 โดยใช้ Modern.IE

แทนที่ต้องไปหาเครื่อง หาแผ่นซีดีเพื่อลง Windows แล้วต้องหาวิธีติดตั้ง IE เวอรชันต่างๆ สำหรับทดสอบหน้าเว็บไซต์ของเรา ว่าแสดงผลตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ ขอแนะนำให้ลองใช้ Modern.IE ซึ่งทางไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมา ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดาวน์โหลดไฟล์ในรูปแบบ Virtual Machine เพื่อนำไปเปิดในโปรแกรมเช่น VirtualBox, VMware, Parallels, HyperV สร้างเครื่องจำลองในการทดสอบได้ โดยมีตั้งแต่ IE6 บน Windows XP จนถึง IE11 บน Windows 8.1

Continue reading “ทดสอบเว็บไซต์ของคุณด้วย IE ตั้งแต่ IE6 บน WinXP ถึง IE11 บน Win8.1 โดยใช้ Modern.IE”

แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์ง่ายๆ ด้วย nano

สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการหัดใช้ลีนุกซ์คือคุณต้องใช้ editor ในโหมดเท็กซ์หรือคอนโซล ให้เป็นอย่างน้อยหนึ่งตัว เพื่อใช้แก้ไขข้อความในไฟล์ต่างๆ

editor ตัวที่แนะนำมากที่สุดก็คือ vi ซึ่งแทบจะติดตั้งเป็นดีฟอลต์ของทุกลีนุกซ์หรือยูนิกซ์ (UNIX) ทุกตระกูล

แต่ถ้าไม่ถนัดจริงๆ ก็ยังมีอีกหนึ่งโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมาก ก็คือ nano ลองมาดูวิธีการใช้กัน

Continue reading “แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์ง่ายๆ ด้วย nano”

CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui

ใน CentOS 7 หากต้องการแก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์ก สามารถทำได้ด้วยคำสั่ง nmtui ซึ่งทำงานในโหมดเท็กซ์ ทำให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกผ่านการ ssh หรือคอนโซลของเครื่องได้

แทนที่จะแก้ไขไฟล์คอนฟิกที่อยู่ในไดเรกทอรี /etc/sysconfig/network-scripts/ โดยตรง การใช้ nmtui จะช่วยทำให้แก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์กได้ง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการคอนฟิก

Continue reading “CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui”