การติดตั้ง​ Red Hat Enterprise Linux 8

Red Hat Enterprise Linux เป็นลีนุกซ์ดิสทริบิวชันแบบหนึ่ง ที่นิยมใช้ในองค์กรมาก เหตุเพราะสามารถซื้อการสนับสนุน (support) จากทาง Red Hat ได้ เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไป การติดตั้งโปรแกรม การอัพเดทโปรแกรม หรืออื่นๆ

ล่าสุดทาง Red Hat ได้ออกเวอร์ชันใหม่เป็น Red Hat Enterprise Linux 8 ซึ่งอนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ ในรูปแบบ developer subscription ซึ่งเราสามารถสมัครได้ทางเว็บไซต์ของ Red Hat

ลองมาดูตัวอย่างการติดตั้ง Red Hat Enterprise Linux 8 กัน
Continue reading “การติดตั้ง​ Red Hat Enterprise Linux 8”

เลือก Root File System ให้เป็นแบบ xfs ตอนติดตั้ง Ubuntu 18.04

จาก รีวิวการติดตั้ง​ Ubuntu Server 18.04 LTS เราเลือกแบบดีฟอลต์ในทุกขั้นตอน ซึ่งก็สามารถติดตั้งใช้งาน Ubuntu 18.04 ได้ แต่ในบางครั้งมีความจำเป็นต้องแก้ไขค่าคอนฟิกตอนติดตั้ง ก็สามารถเลือกคอนฟิกได้เหมือนกัน

ในที่นี้ลองมาเปลี่ยน File system ของ / ให้เป็น xfs

Continue reading “เลือก Root File System ให้เป็นแบบ xfs ตอนติดตั้ง Ubuntu 18.04”

รีวิวการติดตั้ง​ Ubuntu Server 18.04 LTS

ทุกเดือนเมษายนของปี คศ. ที่เป็นเลขคู่ ทางทีม Ubuntu จะออก Ubuntu เวอร์ชันใหม่ ทั้ง Desktop และ Server ที่เป็น LTS หรือ Long term support ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ทาง Ubuntu ให้การสนับสนุน อัพเดทซอฟต์แวร์เป็นระยะเวลา 5 ปี ทำให้เหมาะกับการนำไปใช้งานแบบระยะยาว

ล่าสุดทาง Ubuntu ก็ได้ออกเวอร์ชัน 18.04 ซึ่งมีชื่อรหัส (code name) ว่า Bionic Beaver ซึ่งมีการอัพเดทในหลายๆ ส่วน ในที่นี้เรามาทดลองติดตั้งเวอร์ชัน Server กัน โดยจะเลือกคอนฟิกแบบดีฟอลต์ทั้งหมด

Continue reading “รีวิวการติดตั้ง​ Ubuntu Server 18.04 LTS”

รีวิวการติดตั้ง Fedora 25 Server

Fedora ถือว่าเป็นลีนุกซ์ตัวหนึ่ง (distribution) ที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้งาน ว่ากันว่าแม้กระทั่ง Linus Torvalds  เองก็ใช้ด้วย

ส่วนตัวคิดว่า น่าจะเป็นเพราะซอฟท์แวร์ที่ติดตั้งมา เป็นเวอร์ชันค่อนข้างใหม่ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทดลองใช้คุณสมบัติใหม่ๆ ได้ แล้วยังได้รับการสนับสนุนจากทาง Red Hat มีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆ อีกด้วย

เวอร์ชันใหม่ล่าสุดตอนนี้คือ 25 แล้ว ลองมาดูรีวิวการติดตั้ง Fedora 25 Server กัน

Continue reading “รีวิวการติดตั้ง Fedora 25 Server”

รีวิวการติดตั้งใช้งาน Docker Toolbox บน Mac OS X

ข้อแม้อย่างหนึ่งของการใช้ Docker คือต้องสร้างหรือรัน container บนลีนุกซ์ เพราะ Docker ใช้คุณสมบัติ cgroups, namespaces และอื่นๆ ที่มีอยู่ในตัว Kernel ของลีนุกซ์

ทำให้ผู้ใช้งานระบบปฎิบัติการอื่นเช่น Windows หรือ Mac OS X ถ้าต้องการหัดใช้ Docker ก็ต้องติดตั้งลีนุกซ์ในเครื่องเสมือนบนโปรแกรมประเภท Virtual Machine เช่น VirtualBox หรือ VMware แล้วต้องคอนฟิก หาวิธีการเชื่อมต่อ ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งาน

ดังนั้น เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเริ่มต้นหัดใช้งาน Docker ได้ง่ายดายและสะดวกมากขึ้น ทาง Docker ได้ออกชุดติดตั้งโปรแกรมที่ชื่อ Docker Toolbox ซึ่งจะมีโปรแกรมที่จำเป็นในการใช้งานเริ่มต้นได้เลย เช่น Docker Client, Machine, Compose, Kitematic มีให้ดาวน์โหลดทั้งบน Windows และ Mac OS X

ลองมาดูตัวอย่างการติดตั้งใช้งาน Docker Toolbox บน Mac OS X กัน

Continue reading “รีวิวการติดตั้งใช้งาน Docker Toolbox บน Mac OS X”

สร้าง Vagrant Box ขึ้นมาใช้งานเอง

ที่จริงแล้วมีคนสร้าง Vagrant box เป็นแบบ public ให้เราสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ที่ Public Vagrant Box โดยมีระบบปฏิบัติการอยู่หลายเวอร์ชัน

แต่ในบางครั้ง เราอาจจำเป็นต้องสร้างขึ้นมาเอง เพื่อให้เหมาะกับองค์กร หรือการทำงานในทีมของเราเอง

ในที่นี้จะแสดงขั้นตอนการใช้ vagrant เพื่อสร้างแพ็คเกจเป็น box ขึ้นมาใช้งานเอง โดยจะใช้โปรแกรม VirtualBox เพื่อสร้างเครื่องเสมือน ติดตั้ง CentOS 7

Continue reading “สร้าง Vagrant Box ขึ้นมาใช้งานเอง”

ติดตั้ง VirtualBox Guest Additions บน CentOS 7

เพื่อให้เครื่องเสมือน (guest) ที่ถูกติดตั้งใน VirtualBox ทำงานได้ดีมากขึ้น แนะนำให้ติดตั้ง Guest Additions บนระบบปฏิบัติการที่ลงบนเครื่องเสมือนด้วย ไม่ว่าจะเป็น Linux, Windows

โปรแกรม VirtualBox ได้เตรียมชุดโปรแกรม Guest Additions ไว้เป็น CD image เพื่อให้เรียกใช้ได้ เหมือนกับการเรียกใช้แผ่น CD หรือ DVD บนเครื่องเสมือน

ในที่นี้จะแสดงวิธีการติดตั้ง Guest Additions บน CentOS 7 ที่ติดตั้งบนเครื่องเสมือน

Continue reading “ติดตั้ง VirtualBox Guest Additions บน CentOS 7”

รีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 Server

2 ปีมีหน Ubuntu ได้ออกเวอร์ชันล่าสุด 16.04 ซึ่งเป็นเวอร์ชัน LTS (Long-term support) ที่ทาง Ubuntu จะสนับสนุนการอัพเดตปรับปรุงซอฟต์แวร์เป็นระยะเวลานานกว่าเวอร์ชันปกติ (5 ปี) ทำให้เหมาะสมกับการนำไปติดตั้งใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ในการทำงานจริง (Production)

ลองมาดูรีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 เวอร์ชัน Server กัน โดยจะติดตั้ง LAMP server

Continue reading “รีวิวการติดตั้ง Ubuntu 16.04 Server”

สิ่งที่ทำหลังจากติดตั้ง CentOS 7 – เปลี่ยนชื่อเครื่อง hostname

รันคำสั่งบน CentOS 7 เพื่อเปลี่ยนชื่อเครื่อง hostname

# hostname
# hostnamectl
# nmtui
# vi /etc/hostname

สิ่งที่ทำหลังจากติดตั้ง CentOS 7 – useradd, sudo, disable root login

สิ่งที่ทำหลังจากติดตั้ง CentOS 7

  • เพิ่ม user ใหม่
  • คอนฟิกให้ผู้ใช้สามารถ sudo ได้
  • ปิดการ ssh ด้วย root