CentOS 7 แก้ไขคอนฟิกเน็ตเวิร์กด้วยคำสั่ง nmtui

ใน CentOS 7 หากต้องการแก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์ก สามารถทำได้ด้วยคำสั่ง nmtui ซึ่งทำงานในโหมดเท็กซ์ ทำให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกผ่านการ ssh หรือคอนโซลของเครื่องได้

แทนที่จะแก้ไขไฟล์คอนฟิกที่อยู่ในไดเรกทอรี /etc/sysconfig/network-scripts/ โดยตรง การใช้ nmtui จะช่วยทำให้แก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์กได้ง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดในการคอนฟิก

nmtui เป็นคำสั่งที่อยู่ในแพ็กเกจ NetworkManager-tui ซึ่งมากับการติดตั้ง CentOS 7 แบบ Minimal อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่มเติม

หมายเหตุ ถ้าเทียบกับเวอร์ชันเดิม คำสั่ง nmtui ก็เหมือนกับคำสั่ง system-config-network ใน CentOS 6
ล็อกอินด้วย root รันคำสั่ง nmtui

[root@cent7 ~]# nmtui

ตัวอย่างหน้าจอการรันคำสั่ง nmtui

n01-nmtui-please-select-an-option

หน้าจอหลักของคำสั่ง nmtui

 ┌─┤ NetworkManager TUI ├──┐ 
 │                         │ 
 │ Please select an option │ 
 │                         │ 
 │ Edit a connection       │ 
 │ Activate a connection   │ 
 │ Set system hostname     │ 
 │                         │ 
 │ Quit                    │ 
 │                         │ 
 │                    <OK> │ 
 │                         │ 
 └─────────────────────────┘

 

แก้ไขค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์กของพอร์ต

เนื่องจากรันในโหมดเท็กซ์ ในคำสั่ง nmtui สามารถใช้ปุ่มลูกศรขึ้นลงซ้ายขวา หรือแท็บเพื่อเลือกเมนูหัวข้อต่างๆ ได้

เลือก Edit a connection

 ┌───────────────────────────┐ 
 │                           │ 
 │ ┌─────────────┐           │ 
 │ │ Ethernet  ↑ │ <Add>     │ 
 │ │   enp0s3  ▒ │           │ 
 │ │           ▒ │ <Edit...> │ 
 │ │           ▒ │           │ 
 │ │           ▒ │ <Delete>  │ 
 │ │           ▒ │           │ 
 │ │           ▒ │           │ 
 │ │           ▒ │           │ 
 │ │           ↓ │ <Quit>    │ 
 │ └─────────────┘           │ 
 │                           │ 
 └───────────────────────────┘

 

เลือกพอร์ตที่ต้องการแล้วกดแท็บ เพื่อเลือก Edit…

หน้าจอ Edit Connection

 ┌───────────────────────────┤ Edit Connection ├───────────────────┐
 │                                                                ↑│
 │         Profile name enp0s3____________________________        ▮│
 │         Device enp0s3 (08:00:11:22:33:44)______________        ▒│
 │                                                                ▒│
 │ ═ ETHERNET                                              <Show> ▒│
 │                                                                ▒│
 │ ╤ IPv4 CONFIGURATION <Manual>                           <Hide> ▒│
 │ │          Addresses 192.168.1.1/24___________ <Remove>        ▒│
 │ │                    <Add...>                                  ▒│
 │ │            Gateway _________________________                 ▒│
 │ │        DNS servers <Add...>                                  ▒│
 │ │     Search domains <Add...>                                  ▒│
 │ │                                                              ▒│
 │ │            Routing (No custom routes) <Edit...>              ▒│
 │ │ [ ] Never use this network for default route                 ▒│
 │ │                                                              ▒│
 │ │ [ ] Require IPv4 addressing for this connection              ▒│
 │ └                                                              ▒│
 │                                                                ▒│
 │ ═ IPv6 CONFIGURATION <Automatic>                        <Show> ▒│
 │                                                                ▒│
 │ [X] Automatically connect                                      ▒│
 │ [X] Available to all users                                     ▒│
 │                                                                ▒│
 │                                                  <Cancel> <OK> ▮│
 │                                                                ↓│
 └─────────────────────────────────────────────────────────────────┘

แก้ไขค่าคอนฟิกที่ต้องการ แล้วแท็บไปที่ <OK> เพื่อยืนยันการแก้ไข แล้วเลือก <Quit> อีกที เพื่อออกจากคำสั่ง nmtui

ตัวอย่างไฟล์ที่เก็บค่าคอนฟิกเน็ตเวิร์กของพอร์ต enp0s3

[root@cent7 ~]# cat /etc/sysconfig/network-scripts/ifcfg-enp0s3
TYPE=Ethernet
BOOTPROTO=none
DEFROUTE=yes
IPV4_FAILURE_FATAL=no
IPV6INIT=yes
IPV6_AUTOCONF=yes
IPV6_DEFROUTE=yes
IPV6_FAILURE_FATAL=no
NAME=enp0s3
DEVICE=enp0s3
ONBOOT=yes
IPADDR=192.168.1.1
PREFIX=24
IPV6_PEERDNS=yes
IPV6_PEERROUTES=yes
IPV6_PRIVACY=no

 

เปิด/ปิด ค่าคอนฟิกของพอร์ต

รันคำสั่ง nm-tui อีกครั้ง เลือกเมนู Activate a connection

เลือกไปที่พอร์ตที่แก้ไขกดปุ่ม [Enter] เพื่อ Deactivate แล้ว [Enter] อีกครั้งเพื่อ Activate ค่าคอนฟิกใหม่

คำเตือน ระวังการแก้ไขค่าคอนฟิก IP Address ของพอร์ตที่คุณใช้ในการเชื่อมต่อเข้าเครื่องอยู่ เพราะการ Deactivate จะเป็นการปิดค่าคอนฟิก ทำให้ไม่สามารถใช้งานเน็ตเวิร์กผ่านพอร์ตนั้นได้ แนะนำให้ทำจากคอนโซลของเครื่อง

 ┌───────────────────────────────────────┐
 │                                       │
 │ ┌──────────────────────┐              │
 │ │ Ethernet (enp0s3) ↑  │ <Deactivate> │
 │ │ * enp0s3           ▒ │              │
 │ │                    ▒ │              │
 │ │                    ▒ │              │
 │ │                    ↓ │ <Quit>       │
 │ └──────────────────────┘              │
 │                                       │
 └───────────────────────────────────────┘

 

แก้ไขชื่อ hostname ของเครื่อง

หากต้องการแก้ไขชื่อ hostname ของเครื่อง ก็สามารถใช้คำสั่ง nmtui แก้ไขได้ โดยเข้าเมนู Set system hostname

 ┌─────────────────┤ Set Hostname ├──────────────────┐
 │                                                   │
 │ Hostname cent7.example.com_______________________ │
 │                                                   │
 │                                     <Cancel> <OK> │
 │                                                   │
 └───────────────────────────────────────────────────┘

แก้ไขชื่อที่ต้องการ แล้วแท็บไปที่ OK เพื่อยืนยันการแก้ไข

หน้าจอแสดงชื่อที่แก้ไข

 ┌────────────────────────────────┐
 │                                │
 │ Set hostname to                │
 │ 'cent7-updated.example.com'    │
 │                                │
 │            ┌────┐              │
 │            │ OK │              │
 │            └────┘              │
 │                                │
 │                                │
 └────────────────────────────────┘

สามารถใช้คำสั่ง hostname เพื่อดูชื่อ hostname ของเครื่องได้

[root@cent7 ~]# hostname
cent7-updated.example.com

ข้อมูลอ้างอิง

Leave a Reply

Your email address will not be published.