รันคำสั่งแปลงไฟล์ doc เป็น txt ด้วย LibreOffice

เคยได้ยินมาว่าปัญหาที่เราเจอในการทำงานส่วนมากหรือเกือบทั้งหมด เคยมีคนเจอมาแล้วทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เราต้องการให้โปรแกรมทำ ปัญหาที่พบ หรือช่วยทำให้ง่ายขึ้น เคยมีคนคิดทำมาแล้วเป็นส่วนใหญ่

ช่วงนี้กำลังทำงานด้านเอกสาร คือต้องแปลงไฟล์จากประเภทหนึ่งไปเป็นอีกประเภทหนึ่ง หากใช้วิธีปกติ ก็ต้องเปิดโปรแกรม Office ขึ้นมา แล้วเลือกเมนู Save as ระบุชนิดไฟล์ที่เราต้องการจะแปลง หากมีไม่กี่ไฟล์ก็ไม่เท่าไร แต่ถ้ามีเป็น 100 ไฟล์ คงใช้เวลานาน และค่อนข้างน่าเบื่อกันเลยทีเดียว

เลยหาวิธีการแปลงไฟล์โดยการรันคำสั่งแบบ command line หรือรันเป็นแบตช์ไฟล์ ค้นหาจาก google สักพัก นำมาทดลอง ก็ได้วิธีที่อยู่ใกล้ตัวมาก คือใช้คำสั่ง soffice ของโปรแกรม LibreOffice ตามด้วยออปชั่น ก็สามารถใช้แปลงไฟล์ได้เลย ไม่จำเป็นต้องเปิดโปรแกรมแต่อย่างใด เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์เลยนำมาแชร์ แนะนำกัน

Continue reading “รันคำสั่งแปลงไฟล์ doc เป็น txt ด้วย LibreOffice”

ติดตั้ง Drupal บน CentOS 6

Drupal ไม่ได้เป็นแค่โปรแกรม CMS (Content Management system) แต่จัดว่าเป็นประเภท CMF (Content Management Framework) ได้เลย คือเราสามารถนำ Drupal ที่เรียกว่า Core มาพัฒนาต่อยอดให้เป็นเว็บโปรแกรมทำงานด้านอื่นๆ  ได้

เพื่อความง่ายในการติดตั้ง ผู้พัฒนาต่อยอดจะรวบรวมการแก้ไขและ module ต่างๆ ที่ต้องใช้ เป็น Drupal Distribution ในชื่อต่างๆ

ถ้าต้องการศึกษาทดลองใช้ Drupal ในเบื้องต้น ซึ่งในบทความนี้จะแสดงวิธีการติดตั้ง Core ให้ดาวน์โหลด Drupal Core

แต่ถ้าต้องการใช้ชุดโปรแกรมที่พัฒนาต่อยอดมาแล้ว ให้เลือกดาวน์โหลดที่ Distributions ที่ต้องการใช้ได้เลย

ในที่นี้จะทดลองติดตั้ง Drupal บน CentOS 6.3 ที่มี Apache, PHP และ MySQL ติดตั้งอยู่แล้ว

Continue reading “ติดตั้ง Drupal บน CentOS 6”

ดูว่า IP ไหน ใช้เซิร์ฟเวอร์เยอะ ด้วย IPTraf

หลายครั้งที่เรียกใช้งานเซิร์ฟเวอร์ แล้วช้าโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากรู้ว่าเป็นเพราะมีการใช้งานมากเกินไปหรือไม่ แล้วถ้าใช้มาก มาจากเครื่องไหน IP อะไร เรียกใช้พอร์ตอะไรอยู่

วันนี้ขอแนะนำ IPTraf เป็นโปรแกรมรันบนคอนโซล เรียกใช้งานง่ายๆ แต่ผลลัพธ์ที่แสดงมีประโยชน์มาก น่าจะช่วยตอบโจทย์ว่ามีใครใช้งานเซิร์ฟเวอร์อยู่บ้าง ใช้เท่าไร

ในที่นี้จะทดสอบบน CentOS 6.3

ล็อกอินด้วย root แล้วรันคำสั่ง iptraf

[root@cent6 ~]# iptraf
-bash: iptraf: command not found

หากขึ้น error แบบนี้ แสดงว่าเครื่องนี้ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรม iptraf ไว้ ต้องติดตั้งเพิ่ม

ไฟล์ rpm ของ iptraf อยู่ในแผ่นดีวีดีติดตั้ง CentOS 6 อยู่แล้ว

ใช้คำสั่ง mount แล้วติดตั้งด้วยคำสั่ง rpm

[root@cent6 ~]# mount /dev/dvd /mnt/
mount: block device /dev/sr0 is write-protected, mounting read-only

[root@cent6 Packages]# rpm -i iptraf-3.0.1-14.el6.x86_64.rpm

[root@cent6 Packages]# cd ~
[root@cent6 ~]#

หลังการติดตั้ง รันคำสั่ง iptraf อีกครั้ง

[root@cent6 ~]# iptraf

หน้าจอโปรแกรม iptraf แสดงผลผ่านหน้าจอคอนโซล

 

กดปุ่มใดก็ได้ ไปหน้าถัดไป

จะเป็นหน้าจอเลือกโหมดในการทำงาน หากต้องการดูว่า IP ไหน พอร์ตไหน เรียกใช้ เซิร์ฟเวอร์อยู่ ให้เลือก “IP traffic monitor”

 

หน้าจอเลือกพอร์ต (Interface) ที่จะดูแพ็กเกจเข้าออก เช่น eth0

 

ตัวอย่างผลลัพธ์ที่แสดงการดู IP, พอร์ต รวมทั้งจำนวน Packets, ขนาดข้อมูล Bytes รวมทั้ง Flags แสดงสถานะของแพ็กเกจที่เข้าออกพอร์ตด้วย

 

ในหน้าจอนี้สามารถกดปุ่ม S เพื่อเรียงลำดับตาม Packets หรือ Bytes ได้

หากต้องการออกจากโปรแกรม iptraf ก็ให้กดปุ่ม X เพื่อกลับสู่หน้าจอเลือกโหมดการทำงาน แล้วกด x อีกครั้งเพื่อออกจากโปรแกรม

ข้อมูลอ้างอิง