รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – ทดลองใช้

หลังจากติดตั้งตามบทความ  รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง เรียบร้อยแล้ว

ในบทนี้จะทดลองบู๊ตเครื่องหลังการติดตั้ง ทดสอบการล็อกอิน ดูข้อมูลเบื้องต้น เช่น kernel ข้อมูลโปรแกรมที่ดิดตั้ง ความแตกต่างคอนฟิกจากลีนุกซ์ตระกูล RedHat, CentOS

Continue reading “รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – ทดลองใช้”

รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง

ทุกๆ สองปี หรือปี คศ. ที่เป็นเลขคู่ ในเดือนเมษายน Ubuntu จะออกเวอร์ชั่นใหม่ ที่เป็น Long-Term Support หรือ LTS ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ Canonical จะสนับสนุน (support) เรื่องการปรับปรุงโปรแกรมเช่น security fixes, critical bugs, minor update เป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติ คือ 3 ปี สำหรับเวอร์ชั่น desktop และ 5 ปี สำหรับเวอร์ชั่น server ในขณะที่เวอร์ชันอื่นจะ support แค่ 18 เดือนเท่านั้น

ล่าสุดปีนี้ ที่เพิ่งออกมาวันที่ 26 เมษายน เวอร์ชั่น 12.04 LTS (Precise Pangolin) ได้ออกมาให้ดาวน์โหลดใช้กันแล้ว พิเศษจะขยายเวลา support ในเวอร์ชั่น desktop ให้เป็น 5 ปี เท่ากับเวอร์ชั่น server

ขอนำเวอร์ชั่นที่เป็น server มารีวิวเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการ upgrade จาก Ubuntu เวอร์ชั่นเก่า หรือถ้าใช้ลีนุกซ์อื่นอยู่ เผื่อเปลี่ยนใจหันมาลองใช้บ้าง

ในตอนแรกจะเป็นการติดตั้ง

Continue reading “รีวิว Ubuntu 12.04 LTS – การติดตั้ง”

คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง

หลังการติดตั้งลีนุกซ์เสร็จทุกครั้่ง ก่อนจะคอนฟิกแล้วนำไปใช้งาน แนะนำให้ใช้คำสั่งลีนุกซ์ ดูฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องว่าเราลงถูกต้อง ครบถ้วนไหม

ในที่นี้จะแนะนำคำสั่งเพื่อตรวจสอบฮาร์ดแวร์หลัก 3 ส่วนคือ CPU, Memory และ Disk

Continue reading “คำสั่งตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของเครื่อง”

หัดใช้ vi แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์

หากคุณต้องการหัดใช้ลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นผู้ดูแลระบบ (System Administrator) โปรแกรมหนึ่งที่ต้องฝึกใช้ให้เป็นคือ vi เพื่อใช้แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์ หรือ UNIX

ถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรมอื่นเช่น nano ที่เป็นโปรแกรม editor ใช้แก้ไขไฟล์ได้เหมือนกัน และมักจะติดตั้งมาด้วย แต่ในบางเครื่องโดยเฉพาะ UNIX ประเภทอื่นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว จะไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมนี้มา จะมีเฉพาะ vi เท่านั้น

ดังนั้น จะขอแนะนำวิธีการใช้ vi อย่างง่ายๆ ใช้คำสั่งพื้นฐานเพื่อแก้ไข และบันทึกไฟล์บนลีนุกซ์

Continue reading “หัดใช้ vi แก้ไขไฟล์บนลีนุกซ์”

ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp

ในหลายๆ ครั้ง เรามีไฟล์อยู่บน Windows ต้องการถ่ายโอนไปยังลีนุกซ์ หรือในทำนองกลับกัน ต้องการดาวน์โหลดไฟล์จากลีนุกซ์กลับมาไว้บน Windows

บทนี้จะแนะนำการใช้โปรแกรม pscp รันบน Windows เพื่อใช้ถ่ายโอนไฟล์ (transfer) กับเครื่องที่รันลีนุกซ์ ผ่านทาง Secure Shell ได้

Continue reading “ถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง Windows กับลีนุกซ์ ด้วย pscp”

เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์

เนื่องจาก root สามารถทำได้ทุกอย่างบนลีนุกซ์ ไม่ว่าจะติดตั้งโปรแกรม แก้ไขคอนฟิก หรือกระทั่งสั่งปิดเครื่อง (shutdown)

คำแนะนำอย่างหนึ่งสำหรับผู้ใช้ลีนุกซ์ ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่มต้นหัดใช้งาน หรือใช้งานมานานแล้ว คือล็อกอินเป็นผู้ใช้ธรรมดาที่ไม่ใช่ root ให้เป็นนิสัย เพราะผู้ใช้งานธรรมดา ก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว เช่นดูคอนฟิกของเครื่อง แก้ไขไฟล์เท่าที่มีสิทธิ์ และหากทำอะไรผิดพลาดไป ความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็จะกระทบในระดับหนึ่ง เท่าที่ผู้ใช้คนนั้นจะทำได้ ไม่กระทบทั้งเครื่อง

จนกว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขคอนฟิกหรือทำอะไรบางอย่างกับลีนุกซ์ที่จำเป็นต้องทำด้วย root ค่อยใช้คำสั่ง su เปลี่ยนผู้ใช้ root (หรือใช้ sudo) และเมื่อหลังจากแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว ก็เปลี่ยนกลับมาเป็น user ธรรมดาอีกครั้ง

ในบทนี้จะอธิบายคำสั่งที่ใช้ในการ เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งาน โดยต้องใช้ root เป็นคนรันคำสั่ง

Continue reading “เพิ่ม แก้ไข ลบ ผู้ใช้งานบนลีนุกซ์”

ติดตั้งโมดูล PHP เพิ่มเติม บน CentOS 6

จากการ ติดตั้งโปรแกรมภาษาเว็บ PHP บน Apache

เว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache และ PHP เครื่องนี้ สามารถเขียนเว็บเพจโดยใช้ภาษา PHP ได้แล้ว  แต่สามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นแค่พื้นฐานเท่านั้น  ถ้าต้องการใช้ฟังก์ชั่นอื่นๆ ด้วย เช่นเชื่อมต่อเข้ากับ MySQL เราจำเป็นต้องติดตั้งโมดูล PHP เพิ่มเติม

ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการตรวจสอบและติดตั้งโมดูลเพิ่มเติมจากไฟล์ rpm ที่อยู่ในแผ่นดีวีดี CentOS 6.2  โดยจะเป็นการติดตั้งโมดูล MySQL เพื่อให้สามารถเขียน PHP เชื่อมเข้ากับฐานข้อมูล MySQL ได้

Continue reading “ติดตั้งโมดูล PHP เพิ่มเติม บน CentOS 6”

System clock uses UTC กับเวลาของเครื่องลีนุกซ์

ตอนติดตั้ง CentOS 6 จะมีหน้าจอให้  เลือก time zone เพื่อเลือกโซนเวลาที่เครื่องลีนุกซ์ตั้งอยู่ ในประเทศไทย ก็เลือกเป็น Asia/Bangkok

ในหน้าจอเดียวกันนี้ ด้านล่างซ้ายจะมีให้ออปชั่น “System clock uses UTC” ให้เลือก โดยดีฟอลต์จะคลิ้กเลือกไว้

หลายท่านรวมทั้งผู้เขียนเอง ก็ยังสับสนว่าจะเลือกหรือไม่เลือกออปชั่นนี้ดี

เลยทดสอบการติดตั้งสองครั้ง โดยครั้งแรกจะคลิ้กเลือก และครั้งที่สองจะไม่เลือก เพื่อดูผลกระทบกับเวลาของเครื่องเมื่อบู๊ตเครื่องหลังจากติดตั้งเสร็จ

Continue reading “System clock uses UTC กับเวลาของเครื่องลีนุกซ์”

เปลี่ยนวันเวลาบนลีนุกซ์ด้วยคำสั่ง date

วันเวลาบนลีนุกซ์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่สมควรจะตั้งให้ตรงกับเวลามาตรฐาน ไม่เช่นนั้น โปรแกรมต่างๆ จะเก็บเวลาไม่ถูกต้อง ทำให้การตรวจสอบการทำงานย้อนหลังมีปัญหา

วิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้เวลาของเครื่องลีนุกซ์ตรงกับเวลามาตรฐานคือติดตั้งและคอนฟิก NTP

แต่ถ้าไม่สามารถคอนฟิกเช่น ไม่สามารถต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ต เพื่อ sync กับ NTP Server มาตรฐาน

สามารใช้คำสั่ง date  เพื่อเปลี่ยนเวลาของเครื่องลีนุกซ์ให้เป็นเวลาที่ต้องการ ใกล้เคียงกับเวลามาตรฐานได้

Continue reading “เปลี่ยนวันเวลาบนลีนุกซ์ด้วยคำสั่ง date”