คอนฟิกเซอร์วิส nscd

ในกรณีที่คอนฟิกให้ลีนุกซ์ตรวจสอบ user, group (authenticate) จาก LDAP Server ทุกครั้งที่มีการอ้างอิง เช่นการสร้างไฟล์ หรือแสดงรายชื่อไฟล์ด้วยคำสั่ง ls ของ user หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ user, group เครื่องจะต้องมีการสอบถามจาก LDAP ทุกครั้ง ทำให้บางครั้งอาจเพิ่มโหลดมากเกินไปบนตัว LDAP Server

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ user, group จาก LDAP แนะนำให้รันเซอร์วิส nscd (name service cache daemon) บนเครื่อง โดยโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล cache ไว้บนเครื่องตัวเอง ถ้าถามซ้ำกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ใน cache แล้ว ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (time to live) จะไม่มีการส่งไปถาม LDAP Server อีก

ข้อเสียของการรันเซอร์วิส nscd อย่างหนึ่งคือ เรื่องการตั้งค่าเวลา (time to live) ทำให้บางครั้งอาจไม่ได้ข้อมูลที่ล่าสุด เช่นดีฟอลต์เวลาที่ cache ไว้สำหรับการเก็บข้อมูลของ user คือ 600 วินาที สำหรับการค้นหาข้อมูลที่สำเร็จ (positive-time-to-live) ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของ user บน LDAP Server จะต้องรอจนเวลานี้ผ่านไป  ข้อมูล cache ใน nscd ถึงจะปรับปรุงเป็นข้อมูลใหม่

Continue reading “คอนฟิกเซอร์วิส nscd”

การใช้งาน subversion เบื้องต้น

หลังจากที่ สร้าง svn repository ในบทความนี้จะแนะนำการใช้งาน svn เบื้องต้น โดยจะประกอบด้วยคำสั่ง import, checkout, commit

Continue reading “การใช้งาน subversion เบื้องต้น”

ไฟล์คอนฟิก openldap สำหรับ smbldap-tools

ไฟล์คอนฟิก /etc/openldap/slapd.conf สำหรับ คอนฟิก Samba เป็น Domain Controller โดยปรับปรุงเพิ่มเติมคุณสมบัติดังนี้

  • กำหนดคีย์ (index) ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล
  • อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยน password โดยใช้คำสั่ง smbldap-passwd ด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องใช้ rootdn
  • ซ่อนรหัสผ่าน (password) ไม่ให้สามารถอ่านได้โดยตรง แต่ใช้ในการตรวจสอบสิทธิ (authenticate) ได้

Continue reading “ไฟล์คอนฟิก openldap สำหรับ smbldap-tools”

คอนฟิก OpenVPN แบบ Multiple Client – ตอนที่ 2

ต่อจากบทความ คอนฟิก OpenVPN แบบ Multiple Client – ตอนที่ 1 ในตอนที่ 2 นี้จะอธิบายการแก้ไขไฟล์คอนฟิก เพื่อทำหน้าที่เป็น VPN Client และ Server

Continue reading “คอนฟิก OpenVPN แบบ Multiple Client – ตอนที่ 2”

คอนฟิก OpenVPN แบบ Multiple Client – ตอนที่ 1

จากบทความเรื่อง คอนฟิก OpenVPN แบบ Static Key บน Fedora Linux ที่กล่าวถึงการสร้าง VPN เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครื่องสองเครื่องแบบหนึ่งต่อหนี่งนั้น ในทางปฎิบัติจะไม่สะดวกในการนำไปใช้กับเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมโยง VPN ระหว่างหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน

ในบทความนี้จะอธิบายการคอนฟิก OpenVPN แบบ Multiple Clients เพื่อเชื่อมโยง VPN หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน ในลักษณะที่ เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็น VPN Server รองรับการสร้าง VPN มาจาก VPN Client หลายๆ เครื่อง ซึ่งสามารถนำไปดัดแปลงใช้กับเครือข่ายที่มีลักษณะเป็นสำนักงานใหญ่ และสาขากระจายไปตามจุดต่างๆ ได้

การคอนฟิกแบบ Multiple Client นี้ จะใช้หลักการของ Public/Private key และ Certificate Authority (CA) เพื่อตรวจสอบคีย์ของเครื่องที่ต้องการเชื่อมต่อว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนที่จะอนุญาตให้สร้าง VPN ระหว่าง Server และ Client แต่ละเครื่องได้

Continue reading “คอนฟิก OpenVPN แบบ Multiple Client – ตอนที่ 1”